Page 230 - kpiebook65043
P. 230
230 สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
ระหว่างการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและความจำเป็นในการรักษาความมั่นคงของรัฐ
หลายกรณี โดย ศยามล ไกรยูรวงศ์ ได้แสดงให้เห็นว่า หลายครั้งของการปะทะกันระหว่าง
ประเด็นทั้งสองประเด็นนี้ มีทั้งส่วนที่เป็นเพราะกฎหมายได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่รัฐสามารถ
ดำเนินการได้โดยใช้ดุลพินิจ และได้เกิดการใช้ดุลพินิจไปในทางที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของ
ประชาชน โดยกรณีศึกษาที่สำคัญ ได้แก่ กรณีสิทธิของชนพื้นเมือง ซึ่งการไม่ยอมรับสถานะ
ของชนพื้นเมืองที่อยู่มาก่อนในหลายพื้นที่ ก็เกิดจากการอ้างเหตุเรื่องความมั่นคงของรัฐ
หรืออาจเป็นกรณีชาวมลายูมุสลิมซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้มาก่อนแล้ว
แต่เมื่อมีการเคลื่อนไหว รัฐบาลก็กลับประกาศใช้กฎหมายความมั่นคงกับคนในพื้นที่ ไม่ว่าจะ
เป็นการประกาศกฎอัยการศึก หรือการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นต้น หรือแม้แต่กรณี
การปราบปรามยาเสพติดซึ่งมีลักษณะการปราบปรามแบบเหมารวม ทั้งที่ผู้ต้องโทษหลายกรณี
เป็นผู้หญิงหรือเป็นเหยื่อของครอบครัวที่บังคับให้กระทำความผิด ส่งผลให้เกิดการละเมิดสิทธิ
ของประชาชนอย่างรุนแรงโดยอ้างเหตุว่าต้องปราบปรามอาชญากรรมเพื่อรักษาความมั่นคง
และกรณีที่เห็นชัดที่สุดคือกรณีการปราบปรามผู้ชุมนุมในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งผู้ชุมนุม
ก็ถือเป็นผู้ใช้เสรีภาพในการแสดงความเห็น (Freedom of Expression) ซึ่งเป็นเสรีภาพ
ที่รัฐธรรมนูญรับรอง อีกทั้งยังมีการปราบปรามการชุมนุมแม้ว่าผู้ร่วมชุมนุมหลายคนจะเป็น
เยาวชน ทั้งนี้ การปราบปรามการชุมนุมดังกล่าวก็ก่อให้เกิดคำถามมากมายว่าวิธีการหรือ
มาตรการที่รัฐเลือกใช้ในการปราบปรามเพื่ออ้างความมั่นคงนั้น ขัดต่อหลักความได้สัดส่วน
(Proportionality) ซึ่งก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิเสรีภาพเกินความจำเป็นหรือไม่
ที่สำคัญ ประเด็นที่มีการพูดถึงบ่อยที่สุดในช่วงที่ผ่านมา คือ กรณีของการกระทำความผิด
และบทลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่มีการเรียกฐานความผิดดังกล่าวว่า
ความผิดฐาน “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ซึ่งมีการเพิ่มโทษหลังจากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
และปัจจุบันก็มีการบังคับใช้ในลักษณะที่กว้างและมีการดำเนินคดีเกี่ยวกับความผิดดังกล่าว
อย่างมากมายจนเกิดการวิพากษ์วิจารณ์ว่าควรจะมีการยกเลิกบทบัญญัติมาตราดังกล่าว แต่จริง ๆ
แล้วปัญหาอาจจะอยู่ที่การบังคับใช้ของเจ้าหน้าที่รัฐก็ได้ที่ให้น้ำหนักกับการรักษาความมั่นคง
มากเกินไปจนไม่ได้คำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชน
นอกจากนี้ ปริญญายังได้ยกตัวอย่างการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคง
ของราชอาณาจักรในลักษณะที่ชี้ให้เห็นถึงการตั้งคำถามต่อการละเมิดสิทธิเสรีภาพของ
ประชาชน นั่นคือ การบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญาฐานความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ
สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 5 ฐานความผิดในมาตรา 113 หรือที่มีชื่อเรียกว่าความผิดฐาน “กบฏ” ซึ่งบัญญัติว่า
ภายในราชอาณาจักรที่บัญญัติในมาตรา 113 และ มาตรา 116 โดยปริญญาได้เริ่มชี้ชวนให้เห็น
“ผู้ใดใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ
(1) ล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ