Page 234 - kpiebook65043
P. 234

234   สรุปการประชุมวิชาการ
           สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
         ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


           การสร้างดุลยภาพระหว่างสิทธิเสรีภาพของประชาชนกับความมั่นคง
           ของรัฐภายใต้บริบทใหม่ : รัฐต้องปรับตัวอย่างไร ?


                 จากที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น วิทยากรประจำกลุ่มย่อยได้ชี้ชวนให้เห็นถึงภาพรวมของ
           ความสำคัญในการรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ความหมายที่แท้จริงของความมั่นคง

           ของรัฐ สถานการณ์เรื่องการบังคับใช้กฎหมายความมั่นคงของรัฐที่กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของ
           ประชาชน ตลอดจนการหาจุดดุลยภาพระหว่างสิทธิเสรีภาพและการรักษาความมั่นคงของรัฐ
           ภายใต้ภูมิทัศน์ทางการเมืองแบบประชาธิปไตย ประเด็นต่อไปที่จะต้องพิจารณาก็คือ แล้วภาครัฐ

           จะต้องปรับตัวอย่างไรเพื่อนำไปสู่จุดดุลยภาพดังกล่าว โดย ศยามล ไกรยูรวงศ์ ได้ชี้ให้เห็น
           ตั้งแต่เริ่มแรกแล้วว่า หลายกรณีการอ้างความมั่นคงไปกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน
           อาจเกิดขึ้นจากการตีความและการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐเอง ดังนั้น ในกรณีที่
           กฎหมายเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่รัฐมีดุลพินิจในการตีความ ก็ควรตีความไปในทางที่คำนึงถึง
           สิทธิเสรีภาพของประชาชน และเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ นอกจากนี้ ทั้งศยามล และ

           ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ ยังได้เน้นย้ำว่าควรมีการเปิดพื้นที่ให้ภาคประชาชนได้แสดงความเห็น
           เกี่ยวกับประเด็นนี้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผู้ที่เคยถูกละเมิดสิทธิเนื่องจากเจ้าหน้าที่
           รัฐอ้างเรื่องความมั่นคง เพื่อให้ได้เกิดโอกาสการแสวงหาข้อเท็จจริงถึงสาเหตุที่สำคัญที่จะนำไปสู่

           การแก้ปัญหา ตลอดจนการหาดุลยภาพที่เกิดจากฉันทามติของทุกฝ่าย

                 นอกจากนี้ อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ได้เสนอว่า ในเบื้องต้นจะต้องทำการทบทวนเสียก่อนว่า
           ภัยความมั่นคงในปัจจุบันได้เปลี่ยนรูปแบบไปจากอดีตแล้วหรือไม่ ภัยคุกคามบางประการ
           อาจเป็นภัยคุกคามในสมัยก่อน แต่ปัจจุบันอาจไม่เป็นภัยคุกคามแล้วก็ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

           ในบริบทของรัฐประชาธิปไตยที่มองว่าความมั่นคงของรัฐหมายถึงความมั่นคงของประชาชน
           และการรักษาความมั่นคงของรัฐ ก็ควรหมายถึงการรักษาความปลอดภัยให้กับประชาชน
           ดังนั้น จึงควรเริ่มต้นจากการทบทวนว่ากรอบความมั่นคงสมัยใหม่ที่คำนึงถึงความปลอดภัยของ
           ประชาชน และสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นหลักควรเป็นอย่างไร และปรับปรุงกฎหมาย

           ตลอดจนการบังคับใช้ให้เป็นไปตามกรอบใหม่นั้น

                 สุดท้ายนี้ ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ได้เน้นย้ำถึงการมองความมั่นคงของประชาชน
           ในระยะยาว ว่าควรคำนึงถึงหลัก “สันติ ยุติธรรม และสถาบันที่เข้มแข็ง” (Peace Justice
           and Strong Institution)  เป็นสำคัญ ดังนั้น การพัฒนาเรื่องดุลยภาพดังกล่าวจะต้องคำนึงถึง
                                 3
    สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 5     ความอดยากต้องหมดไป สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี การศึกษาที่มีคุณภาพ ความเท่าเทียมทางเพศ
                 องค์การสหประชาชาติได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ประการ ได้แก่ ความยากจนต้องหมดไป
               3

           น้ำสะอาดและสุขอนามัย พลังงานสะอาดราคาถูก งานที่ดีและเศรษฐกิจที่เติบโต อุตสาหกรรม นวัตกรรมและ
           โครงสร้างพื้นฐาน ลดความเหลื่อมล้ำ เมืองและชุมชนที่ยั่งยืน บริโภคและผลิตอย่างมีความรับผิดชอบ
           แก้ปัญหาโลกร้อน ชีวิตในน้ำ ชีวิตบนบก สันติภาพ ยุติธรรมและสถาบันที่เข้มแข็ง และร่วมมือเพื่อพิชิต
           เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
   229   230   231   232   233   234   235   236   237   238   239