Page 236 - kpiebook65043
P. 236
236 สรุปการประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่
สรุปการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23 ประจำปี 2564
rd
23 Annual King Prajadhipok’s Institute (KPI) Congress 2021
เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย หรือก็คือ รัฐคือประชาชน ดังนั้น คำว่าความมั่นคงของรัฐ จึงควร
หมายถึงความมั่นคงและความปลอดภัยของประชาชน ซึ่งไปสัมพันธ์กับการใช้อำนาจของรัฐ
ดังนั้น การใช้อำนาจของรัฐเพื่อรักษาความมั่นคง จึงต้องเป็นไปเพื่อความมั่นคงของประชาชน
จึงจำเป็นจะต้องคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วย
ส่วนประเด็นที่สองนั้น คือ ต้องเข้าใจว่าภายใต้ภูมิทัศน์ทางการเมืองใหม่นี้ ได้ทำให้
การมองเรื่องความมั่นคงเปลี่ยนแปลงไป นั่นคือ เกิดภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ที่แตกต่างจาก
สมัยก่อน เช่น เกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์แทนภัยคุกคามด้านดินแดนที่เคยเกิดขึ้นมาแต่ก่อน
หรือภัยคุกคามด้านสภาวะอากาศ เป็นต้น ซึ่งทำให้รัฐต้องปรับตัวและมองภัยคุกคาม
ความมั่นคงในรูปแบบใหม่ และต้องทำความเข้าใจกับภัยคุกคามเหล่านี้ เพื่อให้หาทางบริหาร
จัดการต่อภัยความมั่นคงได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม นอกจากนี้ การให้ความสำคัญแก่
สิทธิเสรีภาพของประชาชนก็ส่งผลให้การรักษาความมั่นคงจำเป็นต้องคำนึงถึงความปลอดภัย
ในการใช้สิทธิของพลเมืองด้วย
สาม สืบเนื่องจากความมั่นคงในภูมิทัศน์ทางการเมืองใหม่ได้เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น
จึงจำเป็นต้องใช้อำนาจเพื่อรักษาความมั่นคงโดยคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วย หรือก็คือ
ทั้งสิทธิเสรีภาพของประชาชนและการใช้อำนาจรัฐเพื่อรักษาความมั่นคงจะต้องได้ดุลยภาพกัน
โดยเครื่องมือสำคัญในการสร้างดุลยภาพ ก็คือ ต้องยึดถือหลักนิติธรรม (Rule of Law)
โดยการใช้อำนาจจะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด และจะต้องถือหลักว่า รับรองสิทธิ
เสรีภาพเป็นหลักและจำกัดสิทธิเสรีภาพเป็นข้อยกเว้น อีกทั้งยังจะต้องสร้างกลไกการตรวจสอบ
การใช้อำนาจรัฐ โดยจะต้องมีการตรวจสอบถ่วงดุลโดยองค์กรต่าง ๆ ทั้งภายในฝ่ายการเมือง
และการตรวจสอบโดยองค์กรอื่นที่ไม่ใช่ฝ่ายการเมือง รวมถึงการตรวจสอบโดยภาคประชาชน
เพื่อให้เกิดการควบคุมการใช้อำนาจรัฐไม่ให้เกิดการใช้อำนาจไปละเมิดสิทธิเสรีภาพของ
ประชาชนจนเกินสมควรแก่เหตุ
สี่ สำหรับข้อเสนอเพื่อให้เกิดการสร้างดุลยภาพในการรักษาความมั่นคงแห่งรัฐและ
การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนนั้น มีข้อเสนอที่สำคัญ คือ หนึ่ง เจ้าหน้าที่รัฐจะต้องใช้
อำนาจโดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสิทธิเสรีภาพของประชาชนเป็นสำคัญ แม้ว่าจะ
เป็นการใช้อำนาจเนื่องจากอ้างเรื่องความมั่นคงก็ตาม สอง รัฐบาล และองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐ
ทั้งหลายจะต้องยึดหลักนิติธรรม หรือทำตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ตลอดจนองค์กรที่มีอำนาจ
ในการตีความรัฐธรรมนูญและกฎหมายอย่างองค์กรตุลาการ ก็จะต้องเปลี่ยนบรรทัดฐาน
ในการตีความให้เป็นไปในทางคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนให้มากขึ้น อย่าปล่อยให้มี
สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 5 ตามอำเภอใจ และสาม จะต้องมีการเปิดพื้นที่ให้พูดคุยกันทั้งภาครัฐและภาคประชาชน โดยจะ
การใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ หรือปล่อยให้มีการตรากฎหมายในลักษณะที่นำไปสู่การใช้ดุลพินิจ
ต้องเป็นการเปิดพื้นที่อย่างแท้จริงเพื่อแสวงหาทางออกร่วมกันต่อกรณีที่มีการอ้างความมั่นคง
ของรัฐในทางที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนเพื่อแสวงหาดุลยภาพที่เกิดจากฉันทามติของ
ทุกฝ่ายอย่างแท้จริง