Page 240 - kpiebook65043
P. 240

240   สรุปการประชุมวิชาการ
           สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23
         ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


           Abstract


                 Most of Thai political party studies are explained from the perspective of
           political science while the use of viewpoint from other disciplines is relatively scarce
           although the contents in political sciences can be elucidated from a transdisciplinary
           angle. This article aims to study political parties from the sociological point of view

           in terms of sign consumptions for the additional understanding of Thai political
           parties. The results reveal that the analysis of political parties from different points
           of view and disciplines can results in richer explanations of political parties in

           comparison with those traditionally offered by political science alone. This study
           results thus provide an example of using transdisciplinarity paradigms r to explicate
           political parties or other relevant phenomena.

           Keywords: party politics, consumption of signs, sociology




           บทนำ


                 คาร์ล มาร์กซ์ (Karl Marx) เคยกล่าวไว้ว่า สินค้าถือกำเนิดขึ้นในฐานะเป็นวัตถุ
           แห่งการแลกเปลี่ยนเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ในขณะที่เงินตราก็ถือกำเนิดขึ้น
           ตามมาในฐานะเป็นสื่อกลางของการแลกเปลี่ยน แต่เมื่อเวลาผ่านไป มนุษย์เรากลับพ่ายแพ้ให้

           กับสินค้าและเงินตรา แม้ทั้งสองสิ่งจะเป็นเพียงสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์หรือผลิตขึ้นก็ตาม
           มนุษย์ส่วนหนึ่งกลับหลงใหลไปกับการแสวงหาเงินตราเพื่อต้องการที่จะได้ครอบครองสินค้า
           โดยหลงลืมว่าแท้จริงแล้ว สินค้านั้นเกิดมาก็เพื่อตอบสนองต่อความจำเป็นและความต้องการ
           (need and want) เพื่อใช้ประโยชน์ในทางกายภาพเป็นหลัก (คาร์ล มาร์กซ์, 2542)

           เช่น การใช้สินค้าเพื่อสร้างความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต หรือการใช้สินค้าเป็นเครื่องมือ
           เพื่อลดความยุ่งยากในการทำงาน

                 อย่างไรก็ตาม เมื่อมนุษย์บริโภคสินค้าเพื่อสร้างความหมายให้กับตนเอง เช่น การขับรถ
           หรูหราเพื่อแสดงว่าตนมีฐานะร่ำรวย หรือการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าแฟชั่นสมัยใหม่เพื่อสื่อสารว่า

           ตนเองมีความนำสมัย การบริโภคจึงไม่ได้เกิดขึ้นเนื่องจากความต้องการประโยชน์ทางกายภาพ
    บทความที่ผ่านการพิจารณา   เพียงเพราะต้องการนำไปซื้อสินค้าเพื่อสร้างความหมายบางประการให้กับชีวิต โดยมีความเชื่อว่า
           ตามหน้าที่ที่แท้จริงของสินค้า มนุษย์ส่วนหนึ่งจึงใช้เวลาตลอดทั้งชีวิตเพื่อแสวงหาเงินตรา


           เมื่อได้ครอบครองสินค้าแล้วก็จะนำมาซึ่งความสุข (Baudrillard, 1968)


                 อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า หากสินค้าดังกล่าวสามารถสร้างความสุขให้แก่มนุษย์
           ได้จริงแล้ว เหตุใดการบริโภคจึงไม่ได้สิ้นสุดลงที่วัตถุชิ้นใดชิ้นหนึ่ง แต่ในทางกลับกัน
   235   236   237   238   239   240   241   242   243   244   245