Page 243 - kpiebook65043
P. 243

สรุปการประชุมวิชาการ
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23  243
                                                                                   ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


             ยังต้องการแสดงให้เห็นถึงการวิเคราะห์พรรคการเมือง เพื่อให้สามารถทำความเข้าใจ
             พรรคการเมืองในมุมมองที่หลากหลายได้ดียิ่งขึ้น

             แนวคิดของคาร์ล มาร์กซ์


                   การพัฒนาสินค้าที่ประสบความสำเร็จมักเริ่มจากการวิเคราะห์ความต้องการของมนุษย์

             จนนำไปสู่การสร้างความพึงพอใจให้เกิดขึ้น (Hunt & Mello, 2021) คาร์ล มาร์กซ์
             ได้วิเคราะห์สินค้า ด้วยการแยกประโยชน์ที่ได้รับจากสินค้าออกเป็น 2 ส่วน คือ ประโยชน์
             ใช้สอยและมูลค่าแลกเปลี่ยน (คาร์ล มาร์กซ์, 2542) การวิเคราะห์ดังกล่าวเป็นการพิจารณา
             จากมิติของการผลิตที่ให้ความสำคัญกับแรงงานที่ใช้ในการผลิต โดยเน้นว่ามูลค่าของสินค้า
             ไม่ควรถูกคำนวณจากสิ่งอื่นใดนอกจากแรงงานที่ใช้ในการผลิต (คาร์ล มาร์กซ์, 2523)


                   แนวคิดของคาร์ล มาร์กซ์แพร่กระจายเป็นวงกว้างในกลุ่มของนักเศรษฐศาสตร์การเมือง
             และเป็นรากฐานให้กับสำนักคิดอื่นอีกเป็นจำนวนมาก เช่น สำนักคิดแฟรงค์เฟิร์ต
             สำนักคิดทฤษฎีวิพากษ์ สำนักคิดสตรีนิยม สำนักคิดเบอร์มิงแฮม และสำนักคิดหลังสมัยใหม่
             (กาญจนา แก้วเทพ & สมสุข หินวิมาน, 2553) แต่เมื่อเวลาผ่านไป บริบทของสังคม

             ได้เปลี่ยนแปลงไปจากยุคของคาร์ล มาร์กซ์ ที่มีชีวิตอยู่ในช่วงที่สังคมกำลังเปลี่ยนผ่านเข้าสู่
             การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก การซื้อสินค้าไม่ได้เกิดจากความต้องการที่จะใช้ประโยชน์
             ตามหน้าที่หลักของสินค้า หรือการซื้อสินค้าที่พิจารณาจากการเปรียบเทียบราคาหรือมูลค่า

             ของสินค้า แต่เกิดจากความต้องการบริโภคความหมายของสินค้านั้นด้วย

             แนวคิดพื้นฐานทางสังคมวิทยา


                   ฌอง โบดริยาร์ด (Jean Baudrillard) ตั้งข้อสังเกตต่อทัศนะของคาร์ล มาร์กซ์
             ที่วิเคราะห์สินค้าจากมิติด้านการผลิตว่า ทัศนะของคาร์ล มาร์กซ์ไม่เพียงพอต่อการอธิบาย
             อีกต่อไป แต่การวิเคราะห์สินค้าควรมีการนำมิติด้านการบริโภคมาพิจารณาร่วมด้วย

             (Baudrillard, 1968) ส่วนอองรี เลอแฟบเวอระ (Henri Lefebvre) ก็ได้ตั้งข้อสังเกตไว้เช่นกันว่า
             การที่มนุษย์ต้องทำงานซ้ำซากในการผลิตสินค้าย่อมก่อให้เกิดความเบื่อหน่าย และทำให้เกิด
             สภาวะแปลกแยก (alienation) ซึ่งจะทำให้มนุษย์ไม่มีความผูกพันกับวัตถุ และไม่มี
             ความผูกพันแม้แต่กับมนุษย์ด้วยกันเอง (Lefebvre, 1984)


                   การเยียวยาสภาวะดังกล่าวนี้ได้ทำให้เกิดการบริโภคในอีกลักษณะหนึ่งขึ้น ซึ่งเกิดจาก
             หลังจากช่วงเวลาทำงาน มนุษย์จะมีเวลาว่างเพื่อทำในสิ่งที่ตนเองต้องการได้ กิจกรรมต่าง ๆ
             ที่เกิดขึ้นในเวลาว่างจึงเป็นไปเพื่อเยียวยาสภาวะดังกล่าวนี้ (Lefebvre, 1984) การบริโภค
             สินค้าจึงกลายเป็นกิจกรรมที่ทำให้มนุษย์รู้สึกได้ถึงความมีอิสรภาพ และชดเชยความรู้สึกที่ต้อง

             เบื่อหน่ายกับทำงาน ซึ่งในยุคของคาร์ล มาร์กซ์นั้น เทคโนโลยีการผลิตเริ่มมีความเจริญ         บทความที่ผ่านการพิจารณา
             ก้าวหน้า ธุรกิจจึงต้องการแรงงานเป็นจำนวนมากเพื่อทำการผลิตในโรงงาน เหตุการณ์นี้ส่งผล
   238   239   240   241   242   243   244   245   246   247   248