Page 233 - kpiebook65043
P. 233

สรุปการประชุมวิชาการ
                                                                               สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 23  233
                                                                                   ประชาธิปไตยในภูมิทัศน์ใหม่


                   บทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันถือว่าเป็นบทบัญญัติที่สร้าง
             คำถามและถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องการใช้อำนาจตามอำเภอใจมากที่สุด เนื่องจากเป็นการบัญญัติ
             รับรองประกาศของคณะรักษาความสงบแห่งชาติทั้งหมดที่ผ่านมาว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
             อีกทั้งยังรับรองไปถึงการกระทำที่เกิดขึ้นในอนาคตด้วย นั่นเท่ากับว่าถ้าหากมีการบังคับใช้

             บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวไปในทางที่ละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนจนเกิน
             สมควรกว่าเหตุโดยอ้างเรื่องความมั่นคงของรัฐอย่างไม่ได้สัดส่วนแล้ว การดำเนินการดังกล่าว
             ย่อมถูกรับรองว่าชอบด้วยรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันโดยผลของบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นนั่นเอง

                   อย่างไรก็ตาม ปริญญาก็ได้ชี้ชวนให้พิจารณาบทบัญญัติมาตรา 116 ซึ่งอยู่ในหมวด

             ฐานความผิดเดียวกัน โดยมาตรา 116 บัญญัติว่า

                   “ผู้ใดกระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือหรือวิธีอื่นใดอันมิใช่เป็นการกระทำ
             ภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต

                   (1) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำลังข่มขืนใจ
             หรือใช้กำลังประทุษร้าย
                   (2) เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อ
             ความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือ

                   (3) เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินเจ็ดปี”

                   ทั้งนี้ ปริญญาได้ให้ข้อสังเกตต่อการบังคับใช้บทบัญญัติมาตราดังกล่าวว่า บทบัญญัตินี้
             ถูกบังคับใช้ในหลายกรณีที่ประชาชนใช้สิทธิหรือเสรีภาพในการแสดงความเห็นไปในทางที่อาจ
             ขัดแย้งกับผู้ใช้อำนาจรัฐในขณะนั้น ด้วยเหตุนี้ ปริญญาจึงเน้นย้ำว่า ถ้าหากมองว่า

             รัฐคือประชาชนตามแนวคิดของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแล้ว ความมั่นคงของรัฐ
             ก็ควรหมายถึงความมั่นคงของประชาชน ดังนั้น ฝ่ายตุลาการก็ควรเปลี่ยนบรรทัดฐาน
             ในการรับรองอำนาจของคณะรัฐประหาร และควรจะบังคับใช้กฎหมายฐานความผิดเกี่ยวกับ
             ความมั่นคงของประชาชนตามมาตรา 116 ในลักษณะที่มีการชั่งน้ำหนักถึงสิทธิเสรีภาพของ

             ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสรีภาพในการแสดงความเห็นที่รัฐธรรมนูญได้รับรองไว้ด้วย

                   นอกจากนี้ สืบเนื่องจากสถานการณ์วิกฤตโรคระบาดที่กินเวลายาวนานกว่า 2 ปี
             ปริญญาได้เชิญชวนให้พิจารณาถึงการบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์
             ฉุกเฉินซึ่งที่ผ่านมาก็ได้มีการออกข้อบังคับให้อำนาจรัฐเกินเลยไปกว่าที่พระราชกำหนดให้

             อำนาจไว้ แต่ก็ถูกศาลแพ่งออกคำสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวที่มีผลให้ข้อบังคับดังกล่าว
                                2
             ไม่สามารถบังคับใช้ได้

                 2   โปรดดูคำสั่งศาลแพ่งในคดีหมายเลขดำที่ พ.3618/2564 ซึ่งเป็นคำสั่งห้ามบังคับใช้ข้อกำหนด ฯ ฉบับที่ 29
             เป็นการชั่วคราว โดยหนึ่งในเหตุผลที่ศาลให้ คือ ข้อกำหนดข้อ 2 ที่ระบุให้อำนาจระงับการให้บริการ    สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ 5
             อินเทอร์เน็ตแก่เลขที่อยู่ไอพี (IP Address) ที่เผยแพร่ข้อมูลที่ฝ่าฝืนข้อกำหนดไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากไม่อยู่
             ในขอบเขตอำนาจของมาตรา 9 ของพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548
   228   229   230   231   232   233   234   235   236   237   238