Page 36 - kpiebook65033
P. 36
35
ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์ ให้ความหมายหลักความรับผิดของรัฐ
ว่า ประชารัฐนั้นจัดตั้งขึ้นเพื่อรักษาคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของเอกชน
โดยเอกชนทุกคนต้องเสียสละทรัพย์สินอันเป็นภาษีให้แก่การด�าเนินการ
ของรัฐ และในกรณีที่จ�าเป็นอาจถูกเกณฑ์แรงงานหรือทรัพย์สินอื่นเพิ่มเติม
ตามความจ�าเป็นของรัฐ แต่ก็ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน
ในความสามารถที่จะเสียสละส่วนนี้ได้ มิใช่ผู้ใดจะต้องสูญเสียประโยชน์
เฉพาะตนมากกว่าผู้อื่น ดังนั้น ในกรณีที่รัฐ (โดยเจ้าหน้าที่) ก่อให้เอกชน
คนใดเสียหายในการปฏิบัติหน้าที่ หรือในการรักษาประโยชน์มหาชนอันใด
ที่จ�าเป็นท�าให้เอกชนคนใดเสียหาย รัฐจะต้องชดใช้เยียวยาความเสียหาย
นั้นให้ตามที่เป็นธรรมในภาระที่อยู่ร่วมกันเป็นประชารัฐ (ชัยวัฒน์
วงศ์วัฒนศานต์, 2540, น. 27)
หลักความรับผิดของรัฐมีพื้นฐานมาจากรัฐธรรมนูญซึ่งได้
รัฐธรรมนูญได้บัญญัติหลักดังกล่าวมาโดยตลอด ส�าหรับรัฐธรรมนูญ
2560 ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 41 ซึ่งบัญญัติว่า
“บุคคลและชุมชนย่อมมีสิทธิ...(3) ฟ้องหน่วยงานของรัฐ
ให้รับผิด เนื่องจากการกระท�าหรือการละเว้นการกระท�าของ
ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ”
นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญ 2560 ยังได้บัญญัติหลักความรับผิด
ของรัฐจากการถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพ หรือจากการกระท�าผิดทาง
อาญาของบุคคลอื่น ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 25 วรรค 4 ว่า
“บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิ หรือ
เสรีภาพหรือจากการกระท�าความผิดอาญาของบุคคลอื่น ย่อมมีสิทธิ
ที่จะได้รับการเยียวยาหรือช่วยเหลือจากรัฐตามที่กฎหมายบัญญัติ”