Page 38 - kpiebook65033
P. 38
37
(2) ความรับผิดของรัฐจากการถูกละเมิดสิทธิหรือ
เสรีภาพหรือจากการกระท�าผิดทางอาญาของบุคคลอื่น
(3) ความรับผิดอื่นของรัฐ เป็นไปตามมาตรา 9 (3) แห่ง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
ซึ่งบัญญัติว่า
“ศาลปกครองมีอ�านาจพิจารณาพิพากษาหรือมีค�าสั่ง
ในเรื่องดังต่อไปนี้...(3) คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระท�าละเมิดหรือ
ความรับผิดชอบอย่างอื่นของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่
ของรัฐอันเกิดมาจากการใช้อ�านาจตามกฎหมาย หรือจากกฎ
ค�าสั่งทางปกครอง หรือค�าสั่งอื่น หรือจากการละเลยต่อหน้าที่
ตามที่กฎหมายก�าหนดให้ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว
ล่าช้าเกินสมควร”
จากบทบัญญัติดังกล่าวจึงแยกความรับผิดของรัฐออกเป็น
2 กรณีคือ ก. ความรับผิดทางละเมิด ซึ่งได้กล่าวไปแล้วข้างต้น และ
ข. ความรับผิดอย่างอื่น
ส�าหรับความรับผิดอย่างอื่นจากแนวค�าพิพากษาของ
ศาลปกครองส่วนใหญ่แล้วเป็นกรณีของความรับผิดจากการเวนคืน
ซึ่งถือได้ว่าเป็นการกระท�าที่ชอบด้วยกฎหมายแต่รัฐก็ต้องมีความรับผิด
ในการชดใช้ค่าทดแทนให้แก่ผู้ที่ถูกเวนคืน ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติ
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
ข้อพิจารณาประการส�าคัญคือ หลักความรับผิดของรัฐ
จาก 3 กลุ่มดังกล่าวเป็นการเพียงพอกับหลักความรับผิดของรัฐที่เกิดขึ้น
ในการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐหรือไม่ ซึ่งอาจพิจารณาได้จากค�าพิพากษา
ของศาลปกครองสูงสุดต่อไปนี้