Page 40 - kpiebook65033
P. 40

39



                                    ข. การกระท�าดังกล่าวเป็นการกระท�าที่

              ชอบด้วยกฎหมาย กรณีหากเป็นการกระท�าที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
              ย่อมเข้ากรณีความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

                                    ค. การกระท�าของรัฐดังกล่าวก่อให้เกิด

              ผลกระทบต่อสิทธิของผู้ฟ้องคดี หรือกระทบการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน
              ของผู้ฟ้องคดีตามปกติ


                                    ง. ผู้ฟ้องคดีจะต้องรับภาระเป็นพิเศษเพื่อ
              ประโยชน์ของรัฐเมื่อเทียบกับประชาชนอื่นๆ แล้ว

                                    ค�าพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดดังกล่าว

              จึงเป็นแนวค�าพิพากษาที่พยายามจะพัฒนาหลักความรับผิดของรัฐที่มีอยู่
              ให้ขยายขึ้น ซึ่งศาลปกครองสูงสุดจะต้องวางองค์ประกอบของหลัก

              ความรับผิดของรัฐในแต่ละกรณี เพื่อท�าให้เกิดความชัดเจนในการพัฒนา
              หลักความรับผิดของรัฐในระบบกฎหมายไทยต่อไป




              3.2 การพัฒนาตัวชี้วัดของหลักนิติธรรมในฐานะ “หลัก

              ธรรมาภิบาล” (good governance) ที่น�ามาใช้กับองค์กร
              ฝ่ายปกครองหรือองค์กรที่จัดท�าบริการสาธารณะ


                       จากหลักเกณฑ์ของหลักนิติธรรมที่ใช้ในการตรวจสอบ

              การด�าเนินการของฝ่ายบริหารหรือฝ่ายปกครองดังที่กล่าวแล้วในหัวข้อ
              3.1 ซึ่งเกี่ยวโยงกับการตรวจสอบการกระท�าตามหลักนิติธรรม คือ
              “หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระท�าของฝ่ายปกครอง”

              จากหลักเกณฑ์ดังกล่าวสามารถตั้งเป็นประเด็นค�าถามเพื่อพัฒนาไปสู่
              เกณฑ์ชี้วัดของหลักนิติธรรมภายใต้หลักธรรมาภิบาล ได้ดังนี้
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45