Page 37 - kpiebook65033
P. 37

36   ตัวชี้วัดหลักนิติธรรม



                   หากพิจารณาตามระบบกฎหมายไทยอาจแยกความรับผิด

          ของรัฐออกเป็น 3 กรณี คือ (1) ความรับผิดอันเกิดจากการกระท�าละเมิด
          ของเจ้าหน้าที่ (2) ความรับผิดของรัฐจากการถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพ
          หรือจากการกระท�าผิดทางอาญาของบุคคลอื่น และ (3) ความรับผิดอื่น

          ของรัฐ

                         (1) ความรับผิดอันเกิดจากการกระท�าละเมิดของ

          เจ้าหน้าที่ ความรับผิดอันเกิดจากการละเมิดของเจ้าหน้าที่เป็นไปตาม
          พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

          ซึ่งมีหลักการส�าคัญ 5 ประการ คือ  (1) แบ่งแยกระหว่าง “ความรับผิด
          ทางละเมิดอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่”กับ “การละเมิดที่ไม่ใช่จาก
          การปฏิบัติหน้าที่” (2) ก�าหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดชดใช้

          ค่าสินไหมทดแทนส�าหรับการละเมิดที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (3) หน่วยงาน
          ของรัฐอาจไล่เบี้ยจากเจ้าหน้าที่ผู้กระท�าละเมิดได้ในกรณี ก. การกระท�า

          โดยจงใจ หรือ ข. กระท�าโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง (4) สิทธิ
          ในการเรียกให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนของหน่วยงานของรัฐให้ค�านึงถึงระดับ
          ความร้ายแรงแห่งการกระท�าและค�านึงถึงความผิดหรือความบกพร่อง

          ของหน่วยงานของรัฐด้วย และ (5) มิให้น�าหลักเรื่องลูกหนี้ร่วมมาใช้บังคับ

                         พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
          พ.ศ. 2539 เป็นกฎหมายที่มีความมุ่งหมาย 2 ประการ คือ ประการแรก

          มุ่งคุ้มครองประชาชนจากการกระท�าของเจ้าหน้าที่ ในกรณีที่เป็น
          การปฏิบัติหน้าที่ความรับผิดทั้งหลายย่อมตกกับหน่วยงาน และ

          ประการที่สอง เพื่อคุ้มครองเจ้าหน้าที่ทั้งหลายที่ปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้เกิด
          ความเป็นธรรมต่อเจ้าหน้าที่
   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42