Page 35 - kpiebook65033
P. 35

34   ตัวชี้วัดหลักนิติธรรม



                                     ฉ.2) การกระท�าทางปกครองหรือ

          ค�าสั่งทางปกครองที่ขัดกับหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้นๆ
          เช่น หลักการคุ้มครองความสุจริต, หลักการมีผลย้อนหลัง, หลักความอิสระ
          ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฯลฯ


                         กล่าวโดยสรุป หลักความชอบด้วยกฎหมายในทาง
          วิธีสบัญญัติและในทางสารบัญญัติเป็นหลักที่มีความส�าคัญที่จะน�ามาใช้
          ตรวจสอบการกระท�าของฝ่ายปกครองว่าเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย

          หรือไม่ หลักนี้จึงเป็นหลักที่ด้านหนึ่งคุ้มครองประชาชนจากการกระท�า
          ของฝ่ายปกครอง ในอีกด้านหนึ่งก็เป็นหลักที่คุ้มครองเจ้าหน้าที่ที่ใช้

          อ�านาจเหนือประชาชน



                   3.1.2 หลักความรับผิดของรัฐ หลักความรับผิดของรัฐ
          เป็นหลักที่เพิ่งเกิดขึ้นภายหลังจากการเกิดขึ้นของรัฐสมัยใหม่ แต่เดิม

          รัฐไม่มี “หลักความรับผิดของรัฐ” การกระท�าของรัฐที่ก่อให้เกิดความเสียหาย
          ต่อประชาชนย่อมตกเป็นผลร้ายต่อประชาชน ประชาชนไม่อาจใช้สิทธิ
          เรียกร้องจากรัฐได้ แต่เมื่อเกิดพัฒนาการของรัฐสมัยใหม่และการปรากฏตัว

          ของหลักนิติธรรม/นิติรัฐหลักความรับผิดของรัฐเป็นการแสดงออกประการหนึ่ง
          ของหลักนิติธรรม/นิติรัฐที่แสดงออกถึงความรับผิดชอบของรัฐที่มี

          ต่อประชาชนอันเกิดความเสียหายจากการกระท�าของรัฐ หลังจากมี
          “หลักความรับผิดของรัฐ” แล้วได้พัฒนาไปสู่หลักความรับผิดของรัฐ
          ในลักษณะต่างๆ หลายลักษณะ เช่น หลักความรับผิดของรัฐอันเกิดจาก

          การกระท�าที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย หลักความรับผิดของรัฐอันเกิดจาก
          การกระท�าที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือหลักความรับผิดโดยปราศจาก

          ความผิด เป็นต้น
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40