Page 74 - kpiebook65024
P. 74
73
ก�าหนดให้ข้าราชการในพระองค์มีสถานะเป็นข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่รัฐตามกฎหมาย
ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตอีกด้วย ดังนั้นข้าราชการในพระองค์จึงไม่มี
หน้าที่ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินก่อนเข้ารับต�าแหน่ง และคณะกรรมการป.ป.ช.
ก็ไม่มีอ�านาจในการไต่สวนและวินิจฉัยว่าข้าราชการในพระองค์มีพฤติการณ์ร�่ารวย
ผิดปกติ (iLaw, 2564) แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงสภาพความเป็นจริงในการท�างาน
ของข้าราชการในพระองค์แล้วจะพบว่า ข้าราชการในพระองค์แทบไม่มีโอกาสได้บริหาร
งบประมาณประเภทงบลงทุนซึ่งได้รับการจัดสรรมาจากงบประมาณของรัฐเลย เพราะ
ไม่ปรากฏการตั้งงบประมาณลักษณะนี้เอาไว้ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ดังนั้นหากข้าราชการ
ในพระองค์จะทุจริตคอร์รัปชันก็จะต้องกระท�ากับเงินทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ เช่น
เงินที่พระมหากษัตริย์พระราชทานมาเพื่อท�ากิจกรรมตามพระราชกรณียกิจต่าง ๆ หรือ
เงินรายได้จากกิจการในโครงการตามพระราชด�าริ ซึ่งการกระท�าทุจริตต่อทรัพย์สิน
พระมหากษัตริย์เช่นนี้ย่อมอยู่นอกอ�านาจตรวจสอบของคณะกรรมการป.ป.ช. อุปมา
เหมือนกรณีที่พนักงานบริษัทเอกชนกระท�าทุจริตต่อเงินของบริษัทซึ่งก็อยู่นอกอ�านาจ
ตรวจสอบของคณะกรรมการป.ป.ช.เช่นกัน ดังนั้น หากเกิดเหตุที่ข้าราชการในพระองค์
กระท�าการทุจริตต่อทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ก็คงต้องให้เป็นพระบรมราชวินิจฉัย
ของพระมหากษัตริย์ในการตรวจสอบและลงโทษต่อไป
2) การแต่งตั้งข้าราชการในพระองค์ไม่มีผู้ลงนามสนอง
พระบรมราชโองการ
ข้อวิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นนี้สืบเนื่องจากรัฐธรรมนูญฯ ฉบับก่อนปี พ.ศ. 2560
วางหลักการให้การใช้พระราชอ�านาจในการแต่งตั้งข้าราชการในพระองค์จะต้องมี
ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยเริ่มมาจากรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2492
ที่ก�าหนดให้องคมนตรีเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ส่วนรัฐธรรมนูญ