Page 78 - kpiebook65024
P. 78

77




           วางหลักการในมาตรา 16 ให้เป็นดุลพินิจของพระมหากษัตริย์ที่จะทรงแต่งตั้งบุคคลหนึ่ง

           หรือหลายคนเป็นคณะให้เป็นผู้ส�าเร็จราชการแทนพระองค์หรือไม่ก็ได้ ทั้งนี้มีข้อสังเกต
           อีกด้วยว่าการเปลี่ยนแปลงบทบัญญัติของมาตรา 16 เกิดขึ้นหลังจากที่ร่างรัฐธรรมนูญ
           ผ่านการท�าประชามติแล้ว


                  เราอาจสังเกตได้ว่าข้อแตกต่างของการใช้พระราชอ�านาจแต่งตั้งผู้ส�าเร็จราชการ

           แทนพระองค์นั้นมี 2 ประเด็นใหญ่ กล่าวคือ ประเด็นแรกเป็นเรื่องของการแต่งตั้ง
           ผู้ส�าเร็จราชการคนหนึ่งหรือคณะหนึ่ง จากที่รัฐธรรมนูญทั้งสองฉบับก่อนหน้านั้น

           ก�าหนดให้ผู้ส�าเร็จราชการต้องมีเพียงคนเดียวเท่านั้น ประเด็นที่สองเป็นเรื่องการใช้
           พระบรมราชวินิจฉัยในการแต่งตั้งผู้ส�าเร็จราชการแทนพระองค์หรือไม่ก็ได้


                  ในประเด็นของการแต่งตั้งผู้ส�าเร็จราชการแทนพระองค์ในลักษณะของ
           คณะบุคคลนั้นไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ เนื่องจากเคยปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2475

           และ พ.ศ. 2489 มาแล้ว (ไชยันต์ ไชยพร, 2565) แต่เนื่องจากรัฐธรรมนูญไม่ได้ก�าหนด
           รายละเอียดในกรณีการแต่งตั้งผู้ส�าเร็จราชการแทนพระองค์เป็นองค์คณะเอาไว้ ท�าให้

           มีข้อน่าห่วงใยว่าหากพระมหากษัตริย์แต่งตั้งคณะผู้ส�าเร็จราชการแทนพระองค์ไว้เป็น
           จ�านวนคู่ แล้วคณะผู้ส�าเร็จราชการแทนพระองค์มีความเห็นแตกต่างกันจนไม่อาจหา

           ข้อสรุปได้เช่นนี้แล้วจะด�าเนินการอย่างไร เพราะในอดีตเคยเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้
           มาแล้ว คือกรณีการลงนามร่างรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวในปี พ.ศ. 2490 ซึ่งในเวลานั้น

           พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร และพระยามานวราชเสวี (ปลอด วิเชียร
           ณ สงขลา) เป็นคณะผู้ส�าเร็จราชการแทนพระองค์ แต่ผู้ที่ลงนามในร่างรัฐธรรมนูญ

           ฉบับชั่วคราวมีเพียงพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทรเพียงพระองค์เดียว
           เท่านั้น (อนุชา อชิรเสนา, 2561) ท�าให้เกิดประเด็นโต้แย้งกันมากในคราวนั้นว่า

           การลงนามดังกล่าวมีผลทางกฎหมายอย่างไร หรือไม่ ดังนั้นแม้ว่าบทญญัติของรัฐธรรมนูญ
   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83