Page 75 - kpiebook65024
P. 75

74   ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีในรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย




        ฉบับอื่น ๆ หลักจากนั้นไม่ได้ก�าหนดตัวผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
        หรือปลดข้าราชการในพระองค์ไว้เป็นการเฉพาะ จึงต้องให้รัฐมนตรีคนหนึ่งเป็น

        ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ แต่เมื่อพระราชบัญญัติจัดระเบียบบริหารราชการ
        ในพระองค์ฯ ก�าหนดให้พระมหากษัตริย์มีอ�านาจบริหารส่วนราชการในพระองค์แล้ว

        การแต่งตั้งข้าราชการในพระองค์จึงไม่ต้องมีผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ
        เนื่องจากพระมหากษัตริย์เป็นผู้ใช้อ�านาจบริหารนั้นโดยพระองค์เอง (iLaw, 2564)


                ผู้เขียนมีความเห็นว่า ความจ�าเป็นที่จะต้องมีผู้ลงนามรับสนองพระบรม
        ราชโองการตามรัฐธรรมนูญฯ หลายฉบับก่อนหน้า พ.ศ. 2560 นั้นสืบเนื่องมาจากการที่

        ส่วนราชการในพระองค์ต่าง ๆ เป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งต้องถือว่าอยู่ในอ�านาจจัดการของ
        ฝ่ายบริหาร ดังนั้นการแต่งตั้งข้าราชการส่วนพระองค์ย่อมชอบแล้วที่จะต้องมีรัฐมนตรีเป็น

        ผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ เพราะเป็นการบรรจุแต่งตั้งบุคลากรใหม่เข้ามาสังกัด
        หน่วยงานของรัฐ หาไม่แล้วก็จะกลายเป็นว่าพระมหากษัตริย์ทรงเข้ามาก้าวล่วง

        การบริหารราชการแผ่นดินในทางบริหาร ขัดต่อหลักการพื้นฐานของการปกครองที่
        พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ แต่เมื่อส่วนราชการในพระองค์ไม่เป็นส่วนราชการ

        ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และพระมหากษัตริย์มีพระราช
        อ�านาจในการบริหารองค์กรนี้ให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย หากกฎหมายจะบัญญัติ

        ให้การแต่งตั้งข้าราชการในพระองค์จะต้องมีรัฐมนตรีลงนามสนองพระบรมราชโองการ
        ต่อไป ก็จะเกิดผลประหลาดเป็นว่ารัฐมนตรีเข้ามาก้าวล่วงในองค์กรที่ตนไม่ได้รับผิดชอบ

        ดูแลอยู่ ซ�้ายังเป็นองค์กรที่บริหารจัดการตามพระราชอัธยาศัยอีกด้วย ดังนั้นความจ�าเป็น
        ที่จะต้องมีผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการในการแต่งตั้งข้าราชการในพระองค์จึง

        ต้องผันแปรไปตามลักษณะการจัดการองค์กรส่วนราชการในพระองค์ จะถือเป็นหลัก
        การตายตัวว่าจะต้องมีผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการเสมอคงไม่ได้
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80