Page 73 - kpiebook65024
P. 73

72   ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีในรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย




                ส่วนการตรวจสอบผู้ที่เป็นข้าราชการในพระองค์นั้นก็มีประเด็นแยกย่อยออกไป
        อีกหลายประเด็น ได้แก่ การแต่งตั้ง การถอดถอน การตรวจสอบการทุจริตและการมี

        ผลประโยชน์ทับซ้อน เป็นต้น ในแง่ของการแต่งตั้งและถอดถอนข้าราชการในพระองค์นั้น
        พระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ฯ

        ก็ก�าหนดให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัยเช่นกัน ดังนั้น หากจะมีการตรวจสอบว่าผู้ที่
        จะเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ข้าราชการในพระองค์นั้นมีความเหมาะสมต่อต�าแหน่งหน้าที่หรือไม่

        โดยใช้เหตุผลเดียวกับการตรวจสอบข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นก็ค่อนข้างจะขัด
        กับอ�านาจหน้าที่ของส่วนราชการในพระองค์ที่ต้องท�างานรับใช้ใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาท

        ไม่ใช่งานเพื่อจัดท�าบริการสาธารณะโดยแท้ ดังนั้นจึงควรให้เป็นไปตามพระราชหฤทัย
        ของพระมหากษัตริย์ที่จะทรงแต่งตั้งบุคคลใดก็ได้ตามแต่ทรงจะเห็นสมควร ทั้งนี้หากจะ

        มีข้อควรพิจารณาอยู่บ้างก็อาจเป็นประเด็นการถอดถอนหรือการลงโทษข้าราชการใน
        พระองค์ เพราะผู้ถูกถอดถอนหรือถูกลงโทษไม่สามารถโต้แย้งการใช้พระบรมราชวินิจฉัย

        ในการนี้ได้ แตกต่างจากการถอดถอนหรือลงโทษข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ได้รับ
        ผลร้ายสามารถฟ้องศาลปกครองเพื่อให้ศาลเพิกถอนค�าสั่งนั้นได้ ดังนั้นพระมหากษัตริย์

        จึงต้องใช้พระบรมราชวินิจฉัยอย่างรอบคอบยิ่งก่อนมีพระบรมราชโองการถอดถอนหรือ
        ลงโทษข้าราชการในพระองค์ และมีเพียงพระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น

        ที่จะเยียวยาความเสียหายจากการนั้นได้เช่นกัน

                ในการตรวจสอบการทุจริตและการมีผลประโยชน์ทับซ้อนของข้าราชการ

        ในพระองค์นั้น อยู่นอกขอบเขตการตรวจสอบของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
        ว่าด้วยการป้องกันและปราบปราบการทุจริต พ.ศ. 2561 เพราะพระราชบัญญัติ

        จัดระเบียบบริหารราชการในพระองค์ฯ มาตรา 4 วรรคท้ายก�าหนดว่า บทกฎหมายใด
        ที่บัญญัติถึงค�าว่าข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ มิให้หมายความรวมถึงข้าราชการ

        ในพระองค์ อีกทั้งในพระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบบริหารราชการในพระองค์ฯ ก็ไม่ได้
   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78