Page 77 - kpiebook65024
P. 77
76 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีในรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย
ราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ฯ มาตรา 15 ก็ดูจะเปิดช่อง
ให้พระมหากษัตริย์สามารถใช้พระราชปรีชาญาณก�าหนดกลไกการก�ากับวินัยเช่นว่านี้ได้
แต่ในกรณีที่องคมนตรีหรือข้าราชการในพระองค์ฝ่ายพลเรือนไปเป็นกรรมการ ผู้จัดการ
หรือที่ปรึกษาในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ของพระมหากษัตริย์นั้นต้อง
ถือเป็นข้อยกเว้น ทั้งนี้เพราะโดยระบบปกครองแล้วพระมหากษัตริย์ไม่มีพระราชอ�านาจ
ก�าหนดนโยบายทางการเมือง จึงไม่อาจใช้พระราชอ�านาจเพื่อให้เกิดการเอื้อประโยชน์ต่อ
ธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งได้ แตกต่างจากผู้ด�ารงต�าแหน่งทางการเมืองและข้าราชการระดับสูง
ที่สามารถใช้ประโยชน์จากอ�านาจหน้าที่ตามระบบเพื่อสร้างนโยบายเอื้อประโยชน์
เช่นว่านั้นได้ ดังนั้นในแง่นี้พระมหากษัตริย์ก็ย่อมแตกต่างจากบุคคลทั่วไปที่จะสามารถ
น�าพระราชทรัพย์ในพระองค์ไปลงทุนให้เกิดผลก�าไรงอกเงยขึ้นได้ อีกทั้งไม่มีกฎหมาย
ห้ามมิให้ทรงท�าเช่นนั้น เมื่อพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทใดแล้วก็ย่อมมี
ความชอบธรรมที่จะแต่งตั้งผู้แทนพระองค์ไปลงมติออกเสียงในการประชุมผู้ถือหุ้น
ของบริษัทนั้น ๆ ได้เพื่อรักษาส่วนได้เสียของพระองค์ในฐานะผู้ถือหุ้น
3.2 ความแตกต่างของบทบัญญัติเกี่ยวกับ
พระราชอ�านาจในการแต่งตั้งผู้ส�าเร็จราชการแทนพระองค์
บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540 และ 2550 วางหลักการในมาตรา 18
ก�าหนดให้พระมหากษัตริย์มีหน้าที่ต้องแต่งตั้งผู้ส�าเร็จราชการแทนพระองค์ ในกรณีที่
พระมหากษัตริย์ไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือจะทรงบริหารพระราชภาระไม่ได้
ด้วยเหตุใดก็ตาม ทั้งนี้เพื่อให้การปฏิบัติพระราชกรณียกิจที่ส�าคัญโดยเฉพาะการลง
พระปรมาภิไธยในกฎหมายต่าง ๆ มีความต่อเนื่อง ขณะที่รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560