Page 79 - kpiebook65024
P. 79
78 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีในรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย
จะไม่ได้ก�าหนดรายละเอียดเอาไว้อย่างชัดแจ้ง พระมหากษัตริย์ก็ต้องใช้พระปรีชาญาณ
เมื่อมีพระราชประสงค์จะแต่งตั้งคณะผู้ส�าเร็จราชการแทนพระองค์ที่พึงจะแต่งตั้งขึ้น
เป็นจ�านวนคี่เพื่อให้สามารถชี้ขาดความเห้นที่ขัดแย้งกันได้
ส่วนประเด็นที่ว่าจะมีการแต่งตั้งผู้ส�าเร็จราชแทนพระองค์หรือไม่ก็ได้นั้น
ซึ่งแม้ในความเป็นจริงแล้วเริ่มปรากฏตั้งแต่ในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557
ซึ่งมีการแก้ไขในปี พ.ศ. 2560 ก่อนที่รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560 จะมีผลบังคับใช้
แต่ก็ต้องถือว่าเป็นเรื่องใหม่ในกฎหมายรัฐธรรมนูญไทย ด้วยเหตุว่าไม่เคยปรากฏ
บทบัญญัติท�านองนี้มาก่อน (ไชยันต์ ไชยพร, 2565) กรณีดังกล่าวจึงมีประเด็นที่ควร
พิจารณาว่า หากพระมหากษัตริย์จะไม่ประทับอยู่ในราชอาณาจักร หรือจะทรงบริหาร
พระราชภาระไม่ได้ด้วยเหตุใดก็ตาม แล้วมิได้ทรงแต่งตั้งผู้ส�าเร็จราชการแทนพระองค์ไว้
จะต้องด�าเนินการอย่างไร ทั้งนี้การปล่อยให้ประเทศไม่มีผู้ส�าเร็จราชการแทนพระองค์นั้น
ย่อมไม่อาจเป็นไปได้ เพราะอาจท�าให้เกิดการชะงักงันในกระบวนการตามรัฐธรรมนูญ
ที่ต้องอาศัยพระราชอ�านาจของพระมหากษัตริย์ ซึ่งบทบัญญัติมาตรา 17 ก็ได้
สร้างทางออกในกรณีเช่นนี้เอาไว้โดยในกรณีที่คณะองคมนตรีพิจารณาแล้วเห็นว่า
มีความจ�าเป็นที่จะแต่งตั้งผู้ส�าเร็จราชการแทนพระองค์ และไม่อาจกราบบังคมทูลให้
พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งผู้ส�าเร็จราชการแทนพระองค์ได้ทันการ คณะองค์มนตรี
จะต้องเสนอเชื่อบุคคลตามล�าดับที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ก�าหนดไว้ก่อนล่วงหน้า
ขึ้นเป็นผู้ส�าเร็จราชการแทนพระองค์ แล้วแจ้งประธานรัฐสภาเพื่อประกาศใน
พระปรมาภิไธยต่อไป และหากพระมหากษัตริย์ไม่ได้ทรงก�าหนดบุคคลที่จะเป็น
ผู้ส�าเร็จราชการแทนพระองค์เอาไว้อีก ให้ประธานองคมนตรีเป็นผู้ส�าเร็จราชการ
แทนพระองค์เป็นการชั่วคราวไปพลางก่อน ดังนั้นจะเห็นว่าไม่ว่ากรณีจะเป็นอย่างไร
ประเทศไทยก็จะมีผู้ส�าเร็จราชการแทนพระองค์เสมอจากหนึ่งในสามกรณีต่อไปนี้ คือ