Page 83 - kpiebook65024
P. 83
82 ประเด็นส�ำคัญที่พึงมีในรัฐธรรมนูญแห่งรำชอำณำจักรไทย
สิทธิเสรีภาพหรือไม่มีการแบ่งแยกการใช้อ�านาจอธิปไตย จะถือว่ามีรัฐธรรมนูญไม่ได้”
และหลักการดังกล่าวนี้ได้กลายเป็นหลักการพื้นฐานของกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ยอมรับ
กันทั่วไป1F (บรรเจิด สิงคะเนติ, 2547)
“สิทธิและเสรีภาพ” ประกอบด้วยค�า 2 ค�า คือ “สิทธิ” (Right) และ “เสรีภาพ”
(Liberty) ซึ่งแต่ละค�าต่างมีความหมายของตัวเอง
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 “สิทธิ” หรือ “สิทธิ์”
หมายถึง (1) อ�านาจอันชอบธรรม เช่น บุคคลมีสิทธิและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ
เขามีสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้ หรือ (2) (กฎ) อ�านาจที่กฎหมายรับรองให้กระท�าการใด ๆ
โดยสุจริตได้อย่างอิสระ แต่ต้องไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของคนอื่น ส่วน “เสรีภาพ”
หมายถึง ความสามารถที่จะกระท�าการใด ๆ ได้ตามที่ตนปรารถนาโดยไม่มีอุปสรรค
ขัดขวาง เช่น เสรีภาพในการพูด เสรีภาพในการนับถือศาสนา ความมีสิทธิที่จะท�า
จะพูดได้โดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น ดังนั้น จากความหมายดังกล่าวจึงเห็นได้ว่า
สิทธิ และเสรีภาพ เป็นถ้อยค�าสองค�าที่มีความแตกต่างกันหลายประการ ได้แก่
(1) “สิทธิ” เป็นประโยชน์ที่ต้องมีกฎหมายรับรองและคุ้มครองไว้บุคคล
จึงจะเกิดมีสิทธิเช่นนั้นได้ แต่ถ้ากฎหมายไม่ได้ให้การรับรองหรือ
คุ้มครองประชาชนก็จะไม่มีสิทธิเช่นนั้น ในขณะที่ “เสรีภาพ” เป็น
ภาวะโดยอิสระของมนุษย์ แม้จะไม่มีกฎหมายรับรองหรือคุ้มครอง
ไว้ บุคคลก็ยังคงมีเสรีภาพนั้น
(2) “สิทธิ” ที่รัฐให้การรับรองและคุ้มครองแล้วนั้น รัฐมีหน้าที่โดยเฉพาะ
เจาะจงที่จะต้องท�าให้ประชาชนได้รับสิทธินั้น ในขณะที่ “เสรีภาพ” นั้น
รัฐไม่มีหน้าที่ที่จะต้องจัดหาให้แต่อย่างใด (ส�านักงานศาลรัฐธรรมนูญ,
2558)