Page 84 - kpiebook65024
P. 84

83




                  ประเด็นเรื่อง “สิทธิและเสรีภาพ” เป็นประเด็นส�าคัญพื้นฐานที่ถูกบัญญัติ
           รับรองและคุ้มครองไว้ในรัฐธรรมนูญของประเทศต่าง ๆ โดยอาจมีรายละเอียดในส่วน

           สาระแห่งสิทธิที่อาจแตกต่างกันออกไปในแต่ละบริบท แต่ในส่วนหลักการส�าคัญของ
           สิทธิและเสรีภาพล้วนแต่ได้รับการรับรองไว้โดยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งรัฐเสมอ


                  ส�าหรับประเทศไทย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทั้ง 20 ฉบับ มีอยู่
           6 ฉบับ ที่ไม่ปรากฏบทบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน

           ไว้ ได้แก่ พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวพุทธศักราช
           2475 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2519 และรัฐธรรมนูญแห่ง

           ราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2502, 2515, 2520 และ 2534 นอกจากนั้นรัฐธรรมนูญ
           ที่เหลืออีก 14 ฉบับของประเทศไทยล้วนแต่มีบทบัญญัติที่คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ

           ของประชาชนด้วยกันทั้งสิ้น โดยในส่วนของเนื้อหาบทบัญญัติของรัฐธรรมแต่ละฉบับ
           รวมไปถึงสารัตถะเหล่านั้นก็มีความแต่กต่างกันออกไป สะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการ

           ทางการเมือง และปรากฏการณ์ทางสังคมผ่านบทบัญญัติรัฐธรรมนูญในส่วนของ
           การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนของรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ


                  การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนได้มีการน�ามาบัญญัติไว้เป็นครั้งแรก
           ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 โดยบัญญัติไว้ในหมวด 2

           สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม ได้วางหลักไว้อย่างกว้างว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพ

           บริบูรณ์ในการถือศาสนาหรือลัทธิใด ๆ และมีเสรีภาพในการปฏิบัติพิธีกรรมตาม
           ความเชื่อถือของตน เมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองและไม่เป็นการขัดต่อ
           ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมของประชาชน” และ “ภายในบังคับแห่งกฎหมาย

           บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในร่างกาย เคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน

           การโฆษณาการศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ”
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89