Page 99 - kpiebook65022
P. 99

ในส่วนของทิศทางการพัฒนาเพื่อไปสู่ความยั่งยืน แม้จะปรากฏชัดในเอกสารนโยบายของ
               รัฐบาล แต่ในทางปฏิบัติจริงกลับไม่ได้น าไปสู่เป้าหมายนั้นเช่นกัน เพราะคนในพื้นที่ของการพัฒนาเพื่อไปสู่

               ความยั่งยืนนั้นยังไม่ยอมรับ ดังผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า ไม่เคยเห็นทิศทางของการพัฒนาเชิงพื้นที่หรือระบบ
               นิเวศ เช่น ในพื้นที่อ าเภอจะนะ เคยมีปัญหาที่ปล่อยให้มีการไปกว้านซื้อที่ดินเพื่อไปท าการลงทุนโดยเอกชนซึ่ง
               ส่งผลต่ออาชีพหลักของคนในพื้นที่ หรือทิศทางของการพัฒนาภาคใต้ที่จะต้องการท าโลจิสติกส์ทางบก จาก
               ทางท่าเรือน้ าลึกในซีกของอันดามันมายังอ่าวไทยโดยเชื่อมกับอ าเภอจะนะและอุตสาหกรรมจะนะ ท่ามกลาง

               ความขัดแย้งแต่รัฐบาลยังคงด าเนินการต่อโดยให้ข่าวสารและข้อมูลถึงผลประโยชน์ของโครงการ ซึ่งความ
               คลุมเครือเหล่านี้ควรต้องมีการยุติและตกลงกันว่าจะมีการด าเนินการอย่างไร (ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 [สัมภาษณ์],
               8 กุมภาพันธ์ 2564)


                             4.3.2.4  ความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม

                             ประเด็นที่เป็นปัญหายาวนานอย่างยุติธรรมสิ่งแวดล้อม เป็นเรื่องของการเคลื่อนไหวของภาค

               ประชาชนเพื่อความเป็นธรรมที่ยังคงอยู่ เพราะช่องทางรัฐสภาหรือพรรคการเมืองยังไม่เป็นตัวแทนมากพอ
               สิทธิเสรีภาพการมีส่วนร่วมยังถูกจ ากัดในกฎหมายระดับรอง แม้จะมีการรับรองตามรัฐธรรมนูญแล้วก็ตาม
               รวมถึงกระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมถูกบิดเบือนไปมาก

                             ยกตัวอย่างวิกฤตกฎหมายที่จ ากัดสิทธิและการมีส่วนร่วม ที่ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า กฎหมาย

               อย่าง พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ เป็นอุปสรรคของชุมชนในการออกมาเรียกร้องสิทธิด้านสิ่งแวดล้อมของตน เริ่ม
               จากค านิยามในการชุมนุมที่ระบุว่าแค่ 2 คนขึ้นไป การนิยามแบบนี้ท าให้ถูกตีความไปจนกระทั่งว่าการยื่นข้อ
               เรียกร้องต่อหน่วยงานรัฐโดยถือป้ายไปด้วยก็อาจจะถูกตีความว่าเป็นการชุมนุม เป็นต้น ซึ่งท าให้พื้นที่ในการ
               แสดงออกถูกจ ากัดเพราะเป็นกลไกที่มีเงื่อนไขการใช้สิทธิกลายเป็นความเสี่ยงเพราะเมื่อถูกตีความเป็นการ
               ชุมนุมก็อาจจะโดนโทษทางอาญา กลายเป็นการตีความที่ท าให้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเพื่อที่จะ

               สื่อสารต่อสังคมผ่านการแสดงออกในหลากหลายรูปแบบมีข้อจ ากัด (ผู้ทรงคุณวุฒิ 1 [สัมภาษณ์],
               25 กุมภาพันธ์ 2564)

                             หรือการใช้สิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากร ที่ผู้ให้สัมภาษณ์ยกตัวอย่างกรณีนี้ก็มีการต่อสู้
               มาอย่างยาวนาน คือกระบวนการเคลื่อนไหวเรื่องเหมืองแร่ที่ขยายมาจนถึงในปัจจุบัน จะเห็นว่าในปัจจุบันมี
               เรื่องการคัดค้านเหมืองทอง การคัดค้านเหมืองแร่โปแตสในภาคกลางบางส่วน รวมถึงเหมืองถ่านหินในหลาย

               พื้นที่ ยกตัวอย่างการขับเคลื่อนของภาคประชาชนในการต่อสู้โรงไฟฟ้าถ่านหินในประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมีทั้งหมด
               อยู่ 3 จุด ที่บ่อนอก กุยบุรี บ้านกรูด และที่ถ้ าสะแก ตามแนวชายฝั่งประจวบคีรีขันธ์ ชาวบ้านรวมตัว
               เคลื่อนไหวคัดค้านโครงการทั้ง 3 เป็นเวลาเกือบ 20 ปี หรือที่ภาคอีสานการเคลื่อนไหวการเมืองสิ่งแวดล้อม

               ทางภาคอีสานก็ตีคู่ไปกับเรื่องของกระบวนการเรื่องสิทธิชุมชนเหมือนกับกรณีของภาคเหนือและใน
               ประจวบคีรีขันธ์ด้วย ที่ไม่ใช่เฉพาะเรื่องสิ่งแวดล้อมแต่เป็นการที่ชุมชนขึ้นมาปกป้องสิทธิในการด ารงชีวิตและ
               จัดการดูแลทรัพยากรในพื้นที่ของตนเอง (ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 [สัมภาษณ์], 10 กุมภาพันธ์ 2564)

                             วิกฤตด้านสิทธิมีความสอดคล้องกับผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มในภาคกลาง กล่าวว่า สังคมไทย
               ไม่ค่อยให้ความส าคัญกับสิทธิ 3 ประการ ได้แก่ สิทธิในการรับรู้ของทุกฝ่ายว่าเข้าถึงข้อมูลได้เหมือนกันหรือไม่

               เมื่อเข้าถึงข้อมูลได้ไม่เท่ากันจึงท าให้ชาวบ้าน เจ้าหน้าที่รัฐ NGOs พูดคุยกันเมื่อไหร่ก็ไม่รู้เรื่อง ต่อมาคือสิทธิใน
               การเข้าถึงพื้นที่ในการพูดคุย ซึ่งภาครัฐมักเป็นตัวตั้งและเข้าด าเนินการให้แทน และสิทธิในการปฏิเสธและ




                                                            86
   94   95   96   97   98   99   100   101   102   103   104