Page 102 - kpiebook65022
P. 102

การปรับโครงสร้างการท างานและกระจายอ านาจ
                              โครงสร้างการท างานภายหลังการประกาศนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมแล้ว ส่วนงานต่าง ๆ ยังคง
               แยกกันด าเนินตามนโยบาย ดังผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับ

               สิ่งแวดล้อม เรื่องการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ควรมอบหมายให้กับหลายส่วนงานรับผิดชอบในกรอบ
               การท างานทั้งประเทศ เพราะส่งมอบให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็จะรับผิดชอบ
               ยุทธศาสตร์ได้เฉพาะเรื่องสิ่งแวดล้อม (ผู้ทรงคุณวุฒิ 12 [สัมภาษณ์], 5 พฤษภาคม 2564) ขณะเดียวกันภาค
               ราชการน่าจะเป็นองค์กรที่แข็งตัวมากที่สุดและต้องมีการปรับกฎบางอย่าง เพื่อระบบของราชการมันมีความ

               คลายตัวมากยิ่งขึ้น และท าให้คนที่มีหัวก้าวหน้าที่ท างานได้ดี ๆ จะมีช่องทางมากขึ้นในระบบราชการ (ภาคใต้
               [สนทนากลุ่ม], 29 มิถุนายน 2564)

                              เช่นเดียวกันกับผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เห็นว่าควรมีกฎหมายที่
               เบ็ดเสร็จหรือการปรับโครงสร้างที่ส่วนราชการรับรู้การท างานร่วมกัน โดยกล่าวว่า จะท าอย่างไรเพื่อให้กลไก
               ของภาครัฐที่เป็นหน่วยงานผู้อนุมัติอนุญาตได้ท างานของตนเอง แล้วไม่ตีกรอบของกฎหมายตนเองไว้เพียงแค่

               เรื่องโรงงาน แต่มลพิษเกิดขึ้นในตัวโรงงานออกไปข้างนอกแล้วปฏิเสธว่าไม่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน จะท า
               อย่างไรที่จะท าให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบนั้นไม่ตีกรอบความรับผิดชอบที่แคบเกินไป หรือจะบูรณาการกฎหมาย
               กันอย่างไร เพราะ มลพิษที่เกิดขึ้นกลายเป็นภาระของท้องถิ่นและหน่วยงานอื่น หน่วยงานผู้ที่ดูแลและรู้เรื่อง
               มากที่สุดควรดูแลและเข้าไปแก้ไขปัญหา ไม่ใช่ให้ท้องถิ่นซึ่งไม่รู้เรื่องสารเคมี ไม่รู้ว่าโรงงานนั้นท าอะไร แต่ให้

               เข้าไปแก้ปัญหาซึ่งไม่ถูกต้อง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [สนทนากลุ่ม], 19 กรกฎาคม 2564)

                              ในประเด็นการท างานของหน่วยงานภาครัฐ ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มจากภาคเหนือเห็นว่า
               ภาครัฐเป็นหน่วยงานที่รู้สภาพปัญหาในพื้นที่ดีที่สุด และบางครั้งมีองค์ความรู้มากกว่านักวิจัยหรือนักวิชาการ
               จึงอาจมีการสนับสนุนหรือส่งเสริมให้หน่วยงานรัฐที่มีหน้าที่เชิงปฏิบัติได้ท างานวิจัยในงานที่ตัวเองรับผิดชอบ
               โดยกล่าวว่า อยากให้แต่ละหน่วยงานสนับสนุนและพัฒนาบุคลากรของตนเองให้มีศักยภาพในการวิจัย โดยไม่

               ต้องจ้างสถาบันการศึกษามาวิจัยให้ในเรื่องที่ตนรับผิดชอบ เช่น กรมทรัพยากรน้ ามีการวิจัยปัญหาพื้นที่ราบ
               และพื้นที่สูง พบปัญหาการขาดแคลนน้ าดื่มที่สะอาด จึงท าวิจัยระบบทรายกรองช้าทั้งแบบใช้ไฟฟ้าและไม่ใช้
               ไฟฟ้า ซึ่งประสบความส าเร็จด้วยดี ท าให้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 ใน 8 จังหวัดภาคเหนือมีการท าระบบนี้ไปแล้ว

               430 กว่าแห่ง แต่ปัญหาของการท างานแบบนี้อาจมีอยู่บ้างในเรื่องของศักยภาพของบุคลากรที่อาจยังขาด
               มุมมองเชิงระบบอันเป็นลักษณะเฉพาะของการท างานวิจัย (ภาคเหนือ [สนทนากลุ่ม], 2 สิงหาคม 2564)

                              นอกจากเชิงนโยบายระดับประเทศ การแปลงนโยบายสิ่งแวดล้อมสู่การปฏิบัติจริงต้องการ
               การกระจายอ านาจอย่างแท้จริง เพราะการจัดการสิ่งแวดล้อมที่กระจายให้ประชาชน ชุมชน ท้องถิ่นจัดการ จะ
               ท าให้เกิดความเท่าเทียมมากกว่ารัฐส่วนกลาง ซึ่งรัฐส่วนกลางควรมีบทบาทในการเป็นที่ปรึกษามากกว่า

               ยกตัวอย่าง การบริหารจัดการพื้นที่อนุรักษ์ กรมป่าไม้ อาจปรับบทบาทเป็นผู้ส่งเสริมป่าชุมชนและป่าเศรษฐกิจ
               ให้ชุมชนท้องถิ่นจัดการกันเอง เพราะการจัดการสิ่งแวดล้อมต้องค านึงถึงความหลากหลายเชิงพื้นที่ เช่น
               นโยบายให้สิทธิที่ดินท ากินแก่ชาวบ้านที่ก าหนดให้ต้องเป็นพื้นที่สิบไร่ แต่การท าไร่หมุนเวียนอาจมีการถางที่
               เตรียมแปลงไว้เพียงสี่ไร่ ส่วนที่เหลือจะเก็บไว้หมุนเวียนในคราวต่อไป (ผู้ทรงคุณวุฒิ 13 [สัมภาษณ์],

               16 เมษายน 2564)

                              ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มได้เพิ่มเติมในประเด็นการกระจายอ านาจว่าแต่ละท้องถิ่นควรมี
               ฐานข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมของแต่ละบริบทของพื้นที่ ที่สามารถเชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้




                                                            89
   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107