Page 105 - kpiebook65022
P. 105

มีความสามารถด้านวนศาสตร์เท่านั้น แต่จ าเป็นต้องมีทักษะการท างานแบบมีส่วนร่วมหรือมิติอื่นที่เกี่ยวข้อง
               (ผู้ทรงคุณวุฒิ 13 [สัมภาษณ์], 16 เมษายน 2564)


                              4.3.3.2 ภาคประชาสังคม


                              การเคลื่อนไหวของภาคประชาสังคมเองต่อประเด็นการเมืองสิ่งแวดล้อมหากจะไปสู่การ
               พัฒนาที่ยั่งยืนได้นั้น พบว่า ภาคประชาสังคมควรมีบทบาทด้านพลเมือง ได้รับการส่งเสริมด้านฐานความรู้ และ

               ปรับเปลี่ยนท่าทีในการเคลื่อนไหวใหม่ ดังนี้

                              ความเป็นพลเมือง
                              ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ที่เป็นภาครัฐเห็นว่าภาคประชาชนและเอกชนมีบทบาทส าคัญที่จะท า
               ให้เกิดความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม โดยกล่าวว่า การปลูกฝังจิตส านึกสาธารณะด้านสิ่งแวดล้อมเป็นหน้าที่อย่าง

               หนึ่งของประชาชน รวมถึงภาคเอกชนที่เป็นผู้ประกอบการที่ต้องช่วยกันจัดการสิ่งแวดล้อมให้เกิดความยั่งยืน
               เช่น มีระเบียบวินัยในการแยกขยะ สอดส่องดูแลผู้กระท าผิด ไม่ปลดปล่อยสารพิษสู่สิ่งแวดล้อม ปฏิบัติตาม
               มาตรฐานการควบคุมมลพิษ เป็นต้น (ผู้ทรงคุณวุฒิ 16 [สัมภาษณ์], 7 พฤษภาคม 2564; ผู้ทรงคุณวุฒิ 17

               [สัมภาษณ์], 8 เมษายน 2564)
                              สอดคล้องกับข้อมูลจากการสนทนากลุ่มว่าการเมืองและการจัดการทรัพยากร ประชาชนต้อง

               ตระหนักว่าการเมืองคือการเคลื่อนไหวเพื่อท าให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น การเคลื่อนไหวของประชาชนเพื่อที่จะ
               เปลี่ยนแปลงกฎหมายทรัพยากรอาจจะต้องท าอย่างจริงจังมากขึ้น ถ้าเกิดการเคลื่อนไหวของประชาชนมีพลัง
               จริงมันอาจจะมีผลต่อการกดดันรัฐสภาได้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย (ภาคใต้ [สนทนากลุ่ม],
               29 มิถุนายน 2564) เช่นเดียวกับผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มในภาคใต้กล่าวว่า สิทธิชุมชนต้องมาพร้อมกับหน้าที่

               รัฐธรรมนูญมีการพูดถึงสิทธิแต่ไม่ได้พูดถึงหน้าที่ในการรักษาทรัพยากรและบ ารุงรักษา หากเราจะให้สิทธิชุมชน
               ก็ต้องควบคู่กับการให้ความรู้หน้าที่ของชุมชนด้วยว่าชุมชนมีหน้าที่อะไร เพื่อป้องกันการอ้างสิทธิของตนแต่ไป

               ละเมิดผู้อื่น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [สนทนากลุ่ม], 19 กรกฎาคม 2564)
                              กลไกหนึ่งที่ผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มเสนอให้เป็นกลุ่มที่มีบทบาทส าคัญด้านสิ่งแวดล้อมคือ
               ยกระดับและให้ความส าคัญกับเครือข่ายอาสาสมัครทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ ทสม. รวมถึง

               ประชาชนอื่น ๆ ด้วย ซึ่งจ าเป็นต้องมีความร่วมมือในการให้ความส าคัญกับกลไกนี้ตั้งแต่ระดับนโยบายของ
               หลายกระทรวงร่วมกัน เพราะในระดับพื้นที่นโยบาย ทสม. จะถูกกระจายไปยังกระทรวงอื่น ซึ่งจะมีผลต่อการ

               ให้ความส าคัญ รวมถึงเรื่องงบประมาณด้วย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [สนทนากลุ่ม], 19 กรกฎาคม 2564)

                              องค์ความรู้
                              องค์ความรู้ของภาคประชาสังคม ส่วนใหญ่เป็นองค์ความรู้ในเชิงลึกและหลากหลาย เพราะ

               ภาคประชาสังคมเป็นที่รวมของกลุ่มคนจากหลายหลายอาชีพและหลากหลายความสนใจ แต่มีจุดร่วมกันใน
               การที่จะเคลื่อนไหวในประเด็นการเมืองสิ่งแวดล้อม แต่องค์ความรู้ของประชาสังคมทั้งที่เกี่ยวกับพื้นที่ของตน
               และเชิงการเคลื่อนไหว ยังขาดการเก็บรวมรวมอย่างเป็นระบบ จึงท าให้องค์ความรู้เหล่านี้ไม่ได้ถูกน าเข้าสู่วาระ
               ทางนโยบายเพื่อการพัฒนา ท าให้องค์ความรู้ชุดอื่นที่มีความเป็นวิทยาศาสตร์ได้รับความสนใจมากกว่า และถูก

               น ามาใช้ในการตัดสินใจทางนโยบาย ยกตัวอย่าง ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า ความรู้พื้นบ้านมีความส าคัญอย่างมาก
               ดังเช่นการส ารวจพื้นที่ลุ่มน้ าสงครามตอนใต้จังหวัดนครพนม เมื่อท าเสร็จแล้วจะเป็นฐานข้อมูลส าคัญในการ
               ผลักดันให้ประกาศเป็นพื้นที่ชุ่มน้ า ซึ่งความรู้พื้นบ้านที่เป็นความรู้เฉพาะถิ่นมีความละเอียดว่าความรู้แบบ



                                                            92
   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110