Page 110 - kpiebook65022
P. 110

ครอบคลุมเพื่อให้ภาคประชาชนได้มีส่วนในการตัดสินใจได้เพราะข้อมูลที่ออกมามีน้อย ไม่ต่อเนื่อง และ
               คลุมเครือ จะท าให้เราต้องตามแก้ปัญหาไม่รู้จบ (ภาคใต้ [สนทนากลุ่ม], 29 มิถุนายน 2564)

                              ส าหรับข้อเสนองานวิชาการเชิงปฏิบัติ ผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มกล่าวว่าภาควิชาการต้องมี

               การปรับบทบาทพอสมควร เป้าหมายของงานวิจัยทั้งหมดส่วนใหญ่ควรอิงกับปฏิบัติการเลย เพราะว่าตอนนี้สังคม
               วิกฤตมากและการเคลื่อนไหวจะไร้พลัง ถ้าไม่มีงานวิชาการมา ยกตัวอย่าง กลุ่มเคลื่อนไหวของภาคใต้เราไปจ้าง
               ทีมอาจารย์คณะวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร ให้สร้างโมเดลการกระจายมลพิษ กลุ่มระดมเงิน
               เพื่อจ้าง 150,000 บาท เพราะ เราเห็นว่าถ้าไม่มีงานวิทยาศาสตร์ของนักวิชาการออกมาก็จะท าให้ปัญหาที่

               ประชาชนก าลังเผชิญมีน้ าหนักน้อยลงไป จะเห็นว่าเมื่อวิชาการร่วมมือกับประชาชนก็จะมีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้
               (ภาคใต้ [สนทนากลุ่ม], 29 มิถุนายน 2564)

                              ผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มยังเสนอเกี่ยวกับกรอบการท างานด้านการวิจัยที่ต้องใช้ระยะ
               เวลานานมากกว่าจ ากัดด้วยปีงบประมาณ โดยกล่าวว่าควรพิจารณาเรื่องระยะเวลาในการวิจัยที่ไม่จ าเป็นต้อง
               ด าเนินงานตามปีงบประมาณ เพราะงานวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมมีเรื่องของช่วงเวลาเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งไม่เป็นไป

               ตามปีงบประมาณของระบบราชการ เช่น ช่วงวาระเก็บเกี่ยวอาจเป็นช่วงที่ปัญหาสิ่งแวดล้อมก าลังเข้มข้น
               แต่กลับอยู่ช่วงปลายปีงบประมาณซึ่งเป็นช่วงที่งานวิจัยต้องแล้วเสร็จ จึงท าให้ข้อมูลที่เก็บก่อนหน้านั้นอาจมี
               อคติได้ (ภาคกลาง [สนทนากลุ่ม], 4 สิงหาคม 2564)

                              นอกจากการปรับบทบาทของแต่ละภาคส่วนข้างต้นแล้ว ในภาพรวมสังคมไทยจ าเป็นต้อง

               ทบทวนหลักการต่าง ๆ ที่น ามาใช้ในประเทศไทย เช่น หลักผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายหรือ PPP ในสังคมไทย
               ค่อนข้างผิดรูปร่าง ทุกวันนี้จากหลักการ PPP กลายเป็นเพียงเรื่องของ CSR เรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมที่
               ภาคธุรกิจและภาครัฐพยายามส่งเสริม การท า CSR ในสังคมไทยในหลาย ๆ โครงการกลายเป็นว่าไปหามวลชน
               ผู้สนับสนุนในพื้นที่ หากใครไม่สนับสนุนก็จะไม่ไปท า CSR แต่ถ้าใครต้องการได้รับการสนับสนุนทางด้าน
               การเงินและความช่วยเหลือ จะต้องเปลี่ยนจากความคิดเห็นจากคัดค้านมาเป็นสนับสนุน แล้วจะได้รับความ

               ช่วยเหลือ CSR ในแบบช่วยเหลืองานบวช งานแต่ง ไปถ่ายรูป แล้วก็ท าเอกสารออกมาว่าบริษัทก าลังพัฒนา
               โครงการอะไรบ้าง (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [สนทนากลุ่ม], 19 กรกฎาคม 2564)


                              4.3.3.4 ข้อเสนอแนะทางวิชาการ

                              ข้อเสนอแนะทางวิชาการที่พบ แบ่งได้ตามประเด็นสิ่งแวดล้อมตามกรอบการศึกษาครั้งนี้

               และแบบที่เป็นแนวทางการศึกษาในแบบกว้าง ในส่วนของการแบ่งตามประเด็นสิ่งแวดล้อมตามกรอบ
               การศึกษา ได้แก่ ประเด็นมลพิษ ทรัพยากรป่าไม้และน้ า ระบบนิเวศ การเกษตร และยุติธรรมสิ่งแวดล้อม
               ดังข้อค้นพบต่อไปนี้

                              ประเด็นมลพิษ เน้นการศึกษาในเชิงวิทยาศาสตร์เพื่อให้มีการจัดการกับมลพิษทางอากาศ
               ขยะ หรือน้ าเสีย ดังผู้ให้สัมภาษณ์บางท่านเสนอว่า ประเด็นฝุ่นจิ๋วหรือ PM 2.5 ควรมีการวิจัยองค์ความรู้ให้

               มากขึ้น เช่น การศึกษาแบบจ าลองและการพยากรณ์แหล่งก าเนิดฝุ่นที่ละเอียดในระดับต าบลและอ าเภอ
               (ผู้ทรงคุณวุฒิ 16 [สัมภาษณ์], 7 พฤษภาคม 2564) หรือปัญหาของเรื่องโรงงานในพื้นที่ต่าง ๆ ที่มีงาน
               ปลดปล่อยสารเคมีที่ส่งผลต่อแม่น้ า ทะเล น้ าใต้ดินและน้ าบาดาล หรือขยะชุมชนและการใช้สารเคมีทาง
               การเกษตรที่ท าให้ปนเปื้อนสารเคมีลงสู่ดินและแม่น้ า ซึ่งการแก้ไขปัญหาน้ าเสียของประเทศไทยทุกวันนี้ คือ

               การเอาน้ าดีไปไล่น้ าเสีย เพราะน้ าเสียมีเยอะมากและองค์ความรู้หรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ ยังไม่เพียงพอ ควรมี



                                                            97
   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115