Page 113 - kpiebook65022
P. 113
(ผู้ทรงคุณวุฒิ 1 [สัมภาษณ์], 25 กุมภาพันธ์ 2564) การศึกษาในประเด็นนี้ ผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มยังมี
ข้อเสนอว่าควรมีการวิจัยการเมืองสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เสมือน ที่เรียกว่า Social Mediatology in Green
Politics หรือ Virtual Green Politics เพราะการเมืองสิ่งแวดล้อมมักกล่าวถึงตัวแสดงที่เกี่ยวข้อง ซึ่งบางคน
อาจมีการจ ากัดว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะต้องเป็นคนในพื้นที่ ทั้งที่ความจริงแล้วในปัจจุบันผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
อาจไม่ได้พ านักอยู่ในพื้นที่ที่มีปัญหานั้น จึงเป็นประเด็นว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียค่อนข้างระบุได้ยากว่าต้องเป็นใครบ้าง
จ าเป็นต้องอยู่ในพื้นที่นั้นหรือไม่ (ภาคกลาง [สนทนากลุ่ม], 4 สิงหาคม 2564)
ในเชิงกลไกด้านการเมืองสิ่งแวดล้อม เช่น กลไกภายใต้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
หรือกลไกองค์กรอิสระต่าง ที่บทบาทยังไม่เป็นไปตามที่ควรจะเป็น อันเป็นผลมาจากการเมือง ควรมีงานวิจัยที่
ช่วยระบุช่องว่างของปัญหากลไกเหล่านี้ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 [สัมภาษณ์], 10 กุมภาพันธ์ 2564) ในส่วน
กระบวนการเคลื่อนไหว ควรมีการส ารวจเพื่อทบทวนกระบวนการเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อม อาจทบทวน
ในช่วงตั้งแต่ที่ประเด็นสิ่งแวดล้อมถูกท าให้เป็นกระแสหลัก แล้วประเด็นส่งแวดล้อมนั้นถูกน าไปใช้อย่างไร
ยกตัวอย่าง CSR ของภาคเอกชนที่ท าการปลูกป่าเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการท าให้พื้นที่มีสีเขียวมากขึ้น อาจเป็น
การตีวงให้การเคลื่อนไหวในประเด็นสิ่งแวดล้อมแคบลง จนกลายเป็นที่ถกเถียงกันซึ่งไม่ท าให้เกิดพลัง จึงน่าจะ
มีพื้นที่เพื่อสร้างความสมานฉันท์ในประเด็นนี้ หรือกรณีบางกลอยมีข้อถกเถียงว่าคนจะไปอยู่กับป่าได้อย่างไร
ต่างคนต่างอ้างเหตุผลของตนท าให้เกิดการขัดแย้งทางสังคมในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น หากมีงานวิจัยที่แก้ไข
ประเด็นสิ่งแวดล้อมที่เป็นข้อถกเถียงได้ก็จะท าให้เห็นว่าประเทศไทยอยู่ในช่วงที่มีจุดเปลี่ยนอย่างไร จะหา
ทิศทางและความสัมพันธ์ที่จะไปต่อได้อย่างไรบ้าง (ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 [สัมภาษณ์], 10 กุมภาพันธ์ 2564)
ประเด็นวิชาการในเชิงกลไกการเมืองสิ่งแวดล้อม พบว่า มีช่องว่างส าคัญที่งานวิชาการควรหา
ค าตอบควบคู่ไปกับการสื่อสารเพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหว คือ การวิเคราะห์นโยบายพรรคการเมือง โดย
ผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มกล่าวว่า ควรมีการศึกษาวิเคราะห์นโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของพรรคการเมืองทุก
พรรค เพราะหากไม่ชัดเจนนักการเมืองที่มาเป็นรัฐบาลก็จะก าหนดการท างานของภาครัฐและกฎหมายไปใน
แบบที่ไม่ค านึงถึงสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น งบประมาณสิ่งแวดล้อมของปี พ.ศ.2565 งบประมาณเรื่อง
สิ่งแวดล้อมลงไปยังทุกกระทรวงแต่ลดลงไปเกือบร้อยละ 50 จากปีก่อนหน้า ขณะที่กิจกรรมหรือโครงการอื่น
อาจไม่ลดลงมากเหมือนโครงการด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งการเพิ่มหรือลดงบประมาณนี้พรรคการเมืองมีส่วนส าคัญ
เพราะมีบทบาทส าคัญในเรื่องกฎหมายและงบประมาณทุกอย่างของภาครัฐ จึงควรมีการวิจัยนโยบายของ
พรรคต่าง ๆ ว่าพรรคไหนมีการขับเคลื่อนนโยบายสิ่งแวดล้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างไรบ้าง (ภาคใต้
[สนทนากลุ่ม], 29 มิถุนายน 2564) อาจมีการทบทวนนโยบายสิ่งแวดล้อมของพรรคการเมืองต่าง ๆ ช่วงการ
เลือกตั้งที่ผ่านมา เพื่อรู้ว่าพรรคการเมืองต่าง ๆ ได้เสนอนโยบายสิ่งแวดล้อมอะไรไปบ้าง แล้วเชื่อมโยงไปถึง
แนวโน้มของโลกอย่าง SDGs เพียงใดอย่างไร และเมื่อได้มาเป็นรัฐบาลหรือฝ่ายค้านแล้วเขายังมีจุดยืนที่แน่วแน่
ในการผลักดันนโยบายนั้น ๆ อยู่หรือไม่ หรือเมื่อเป็นรัฐบาลแล้วไม่ได้ผลักดันนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมใดเลย
ตามที่ได้หาเสียงไว้ หรือเมื่อเป็น ส.ส.พรรคฝ่ายค้านแล้วยังแสดงจุดยืนและความมุ่งมั่นตั้งใจในการที่จะผลักดัน
นโยบายสิ่งแวดล้อมไปในช่องทางไหนบ้างด้วยวิธีใด ถือเป็นองค์ประกอบปัจจุบันของสังคมไทยที่ขับเคลื่อนด้วย
การเมืองและเป็นองคาพยพที่เกี่ยวข้องกับอ านาจบริหารและอ านาจนิติบัญญัติว่าท าหน้าที่ได้เพียงใดในเรื่อง
การเมืองสิ่งแวดล้อม (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [สนทนากลุ่ม], 19 กรกฎาคม 2564) เช่นกันกับผู้ร่วมสนทนา
กลุ่มในภาคเหนือเห็นว่า ควรมีการน าข้อมูลจากการถกเถียงและนโยบายจากพรรคการเมืองมาวิเคราะห์
ยกตัวอย่าง เวทีหาเสียงของเชียงใหม่เรื่อง PM 2.5 มีการสร้างความเกี่ยวโยงกับประชาชนได้มากน้อยเพียงใด
100