Page 116 - kpiebook65022
P. 116
บทที่ 5
ผลการศึกษาจากการค้นคว้าเอกสาร
การศึกษาการเมืองสิ่งแวดล้อมเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์
สถานภาพองค์ความรู้ด้านการเมืองสิ่งแวดล้อมที่ยึดโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ส าหรับบทนี้ เป็น
น าเสนอผลการศึกษาจากการเก็บรวบรวมข้อมูลในส่วนของข้อมูลทุติยภูมิ ประกอบด้วย 1) ผลการศึกษาจาก
การค้นคว้าเอกสารด้านการเมืองสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย และ 2) ผลการศึกษาจากการค้นคว้าเอกสารด้าน
การเมืองสิ่งแวดล้อมของต่างประเทศ
5.1 ผลการศึกษาจากการค้นคว้าเอกสารด้านการเมืองสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย
5.1.1 ฐานข้อมูลส าหรับการค้นคว้าเอกสารด้านการเมืองสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย
จากการค้นคว้าเอกสารงานวิจัยด้านการเมืองสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยจาก 3 ฐานข้อมูล ได้แก่
ฐานข้อมูล ThaiLIS ฐานข้อมูล ThaiJO และฐานข้อมูล Google Scholar โดยค้นหาค าว่า “การเมือง
สิ่งแวดล้อม” และไม่จ ากัดจ านวนปีในการค้นหา ทั้งนี้ แต่ละฐานข้อมูลเป็นฐานข้อมูลทางวิชาการที่ได้รับการ
ยอมรับและมีการค้นคว้าเอกสารงานวิจัยจาก 3 ฐานข้อมูลดังกล่าวในวงกว้าง
1) ฐานข้อมูล Thai Library Integrated System (ThaiLIS) หรือ Thai Digital Collection (TDC)
เป็นฐานข้อมูลโครงการเครือข่ายห้องสมุดในประเทศไทย มีเป้าหมายเพื่อให้บริการสืบค้นฐานข้อมูลเอกสาร
ฉบับเต็ม ซึ่งเป็นเอกสารฉบับเต็มของวิทยานิพนธ์และรายงานการวิจัยของอาจารย์ โดยรวบรวมจาก
มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ
2) ฐานข้อมูล Thai Journals Online (ThaiJO) เป็นฐานข้อมูลวารสารอิเล็กทรอนิกส์กลางของ
ประเทศไทย ซึ่งเป็นแหล่งรวมวารสารวิชาการที่ผลิตในประเทศไทยทุกสาขาวิชา ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยี และมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยฐานข้อมูล ThaiJO ได้รับการสนับสนุนจากส านักงาน
กองทุนสนับสนุนการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National Electronics and Computer
Technology Center: NECTEC) และศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index
Centre: TCI) ทั้งนี้ วารสารวิชาการไทยที่ปรากฏในฐานข้อมูล ThaiJO จะพัฒนาอยู่บนระบบ Online
Journal System (OJS) เดียวกัน ซึ่งพัฒนาโดย Public Knowledge Project (PKP)
3) ฐานข้อมูล Google Scholar เป็นฐานข้อมูลในการค้นหางานเขียนทางวิชาการอีกฐานข้อมูลหนึ่ง
ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง โดยสามารถค้นหาในสาขาวิชาและแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ได้จากจุดเดียว
ไม่ว่าจะเป็นบทความ วิทยานิพนธ์ หนังสือ บทความจากส านักพิมพ์ทางวิชาการ ตลอดจนแวดวงวิชาชีพ
ที่เก็บร่างบทความ มหาวิทยาลัย และองค์กรด้านการศึกษาอื่น ๆ โดยฐานข้อมูล Google Scholar สามารถ
ระบุการค้นคว้าที่เกี่ยวข้องมากที่สุดอีกฐานข้อมูลหนึ่งในโลกแห่งการค้นคว้าวิจัยทางวิชาการ
103