Page 111 - kpiebook65022
P. 111

องค์ความรู้ในด้านเทคโนโลยีและการฟื้นฟูน้ าเสียที่ใช้งบประมาณไม่มาก (ผู้ทรงคุณวุฒิ 16 [สัมภาษณ์],
               7 พฤษภาคม 2564)

                              ประเด็นทรัพยากรป่าไม้ นอกเหนือจากเชิงวิชาการด้านป่าไม้ที่เป็นองค์ความรู้เฉพาะควรมี

               การศึกษาว่าคนจะอยู่รวมกับป่าได้อย่างไร ดังผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า การวิจัยในเรื่องของการจัดการในลักษณะ
               ของการมีส่วนร่วมหรือการแก้ปัญหาในทางกฎหมายที่จะท าให้ชุมชนสามารถอยู่ในพื้นที่ป่า โดยไม่กระทบกับ
               พื้นที่ป่าจริงยังขาดอยู่ บทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนควรมีงานวิชาการมาตอบโจทย์กับสังคมให้ได้ว่า
               กระบวนการแบบคนอยู่ร่วมกับป่า มีผลบวกหรือลบกับการดูแลทรัพยากรป่าไม้จริงหรือไม่อย่างไร เพราะ

               งานวิจัยเชิงวนศาสตร์จะมองมิตินิเวศสัตว์ป่าและป่าไม้เป็นหลัก การมองในเชิงของมิติที่มีสังคมหรือ
               องค์ประกอบอื่นที่เกี่ยวข้องและมีผลกับพื้นที่ด้วยยังมีน้อยหรือแทบไม่มีเลย เช่น ควรมีบทพิสูจน์เรื่องให้คนอยู่
               กับป่า ตามกฎหมายที่ออกมาใหม่ในปี พ.ศ.2562 อย่างมาตรา 64 ของ พ.ร.บ.อุทยาน ฯ และมาตรา 121 ของ
               พ.ร.บ.สัตว์ป่าฯ ควรมีงานทางวิชาการเข้าไปรองรับด้วยเหมือนกันว่าเข้าไปอยู่ได้หรือไม่และอยู่อย่างไร เพื่อให้

               เป็นแนวทางในการประเมินด้วย (ผู้ทรงคุณวุฒิ 13 [สัมภาษณ์], 16 เมษายน 2564)

                              ผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ความเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับงานวิจัย
               ด้านป่าไม้ กล่าวว่า ควรมีงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องของการปลูกป่าเข้ามาด้วย การปลูกป่าถ้าเทียบงบประมาณที่ใช้
               มาถึงปัจจุบันนี้ป่าไม้เมืองไทยควรจะขึ้นเขียวทั่วประเทศแล้ว ควรมีการศึกษาเรื่องงบประมาณที่ใช้ไปใน
               นโยบายปลูกป่า (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [สนทนากลุ่ม], 19 กรกฎาคม 2564)


                              ประเด็นทรัพยากรน้ า ควรมีงานวิจัยในเชิงวางแผนเพื่อให้รัฐสามารถน าไปก าหนดเป็น
               นโยบายได้ ดังผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า งานวิจัยและงานวิชาการในอนาคตด้านทรัพยากรน้ า ควรเป็นงานวิจัยที่
               สามารถน าไปใช้เป็นแผนปฏิบัติการในเชิงรุก เพื่อให้ภาครัฐใช้เป็นแนวทางในการก าหนดนโยบายในภาพรวม
               ของประเทศ เช่น การวิจัยที่สามารถระบุผลิตภาพของการใช้น้ า (Productivity) ในปัจจุบันของภาคส่วนต่าง ๆ
               ทั้งภาคการอุปโภค/บริโภค การรักษาระบบนิเวศ จารีตประเพณี การบรรเทาสาธารณภัย การคมนาคม

               เกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว โดยเทียบกับระดับสากล เช่น การประเมินค่าผลิต
               ภาพน้ าของธนาคารโลก ซึ่งค่าผลิตภาพน้ ามีหน่วยเป็น ดอลลาร์สหรัฐต่อ ลบ.ม.


                              ส าหรับภาคการเกษตร ควรมีการประเมินผลิตภาพการใช้น้ า (Productivity) ในปัจจุบัน
               ในหน่วยกิโลกรัมต่อ ลบ.ม. ด้วย โดยแสดงผลการประเมินผลิตภาพการใช้น้ าในรูปแบบแผนที่ที่จ าแนกตามแต่ละ
               ชนิดของพืช พร้อมศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลิตภาพภาคการเกษตรของพืชแต่ละชนิด เช่น

               ชนิดของดิน ความลาดเอียงของพื้นที่ ปริมาณความต้องการน้ าของพืช ช่วงเวลาการให้น้ าพืช รูปแบบวิธีการ

               เพาะปลูกที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ เป็นต้น นอกจากนี้ งานวิจัยและงานวิชาการในอนาคตด้านทรัพยากรน้ า
               ที่ส าคัญเร่งด่วนรองลงมาคือ การวิจัยเพื่อพัฒนาบุคลากรที่รองรับต่อการเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรน้ าที่จะ

               ขาดแคลนในอนาคตอีก 20 ปีข้างหน้าที่จะมาถึง (ผู้ทรงคุณวุฒิ 18 [สัมภาษณ์], 31 พฤษภาคม 2564)

                              ประเด็นความยั่งยืนมีตัวอย่างเช่น การวิจัยเพื่อธุรกิจสิ่งแวดล้อมเพื่อรองรับการพัฒนาแนวใหม่
               เห็นได้ว่าคนรุ่นใหม่จ านวนไม่น้อยหันมาท าธุรกิจเกี่ยวข้องสิ่งแวดล้อมโดยตรง หรือแบบอ้อม เช่น การสร้าง
               บ้านที่มีจุดขายด้านสิ่งแวดล้อม เพราะการศึกษาส่วนใหญ่เป็นในลักษณะดูพฤติกรรมผู้บริโภค เช่น จะซื้อของ
               มือสองหรือไม่ แยกขยะหรือไม่ เป็นต้น แต่ไม่มีการศึกษาในฐานะของตัวแสดงที่จะน าไปสู่การเปลี่ยนแปลง

               และจะท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร หรือเป็นพวกต่อต้านการเปลี่ยนแปลง (ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 [สัมภาษณ์],
               3 เมษายน 2564)




                                                            98
   106   107   108   109   110   111   112   113   114   115   116