Page 109 - kpiebook65022
P. 109

ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน ท้องถิ่น และภาครัฐมากขึ้น เช่น เชียงใหม่มีกลุ่มต่าง ๆ มากมาย อย่าง
               สภาลมหายใจ กลุ่มรักษ์เชียงใหม่ กลุ่มพัฒนาคลองแม่ข่า ฯลฯ นักวิชาการอาจท างานกับภาคส่วนเหล่านี้มากขึ้น

               โดยพิจารณาปรากฏการณ์เป็นตัวตั้ง เพื่อท าให้กลุ่มคนที่หลากหลายนี้มีโอกาสรับรู้งานวิชาการมากขึ้นและท า
               ให้เกิดความน่าเชื่อถือ หรือว่ามีการจัดตั้งกลุ่มนักวิชาการเพื่อท างานกับภาคส่วนอื่น ดังเช่นการตั้งศูนย์วิชาการ
               ขึ้นมาในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ภาคใต้ก็มีกลไกนี้อยู่ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ศูนย์นี้เหมือนเป็น
               คณะท างานเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า บูรณาการหน่วยงานต่าง ๆ คล้ายกับองค์กร Think tank ที่มีกลไกฝ่าย

               ปฏิบัติการด้วย โดยออกแบบการท างานร่วมกันกับภาครัฐ ท้องถิ่น ประชาสังคม เพื่อจัดการสภาพปัญหาใน
               พื้นที่ (ภาคเหนือ [สนทนากลุ่ม], 2 สิงหาคม 2564)

                              ส าหรับงานวิชาการที่ควรมองภาพรวม ผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มกล่าวว่าประเทศไทยใช้
               กรอบความคิดหลายตัวเข้ามาแยกส่วนระบบของธรรมชาติ ระบบนิเวศ ระบบสิ่งแวดล้อม ท าให้เรามีหน่วยงาน
               ที่เกี่ยวข้องเยอะมาก แต่ขาดการท างานร่วมกัน ยิ่งนานไปมันเลยเท่ากับว่าแต่ละฝ่ายก็จะเลือกท าที่ตรงกับ

               หน่วยงานตัวเอง เมื่อไปสู่ภาคประชาชนผู้รับข้อมูลที่ถูกท าให้แยกส่วนของหน่วยงานภาครัฐ ก็เกิดการเลือกใช้
               ข้อมูล หากฝ่ายไหนไม่ได้รับผลกระทบตรงก็จะไม่รู้สึกว่าตัวเองสูญเสียผลประโยชน์ ยกตัวอย่างอย่างฝุ่น PM 2.5
               เป็นมลพิษข้ามพื้นที่ คนกรุงเทพฯ ก็ได้รับปัญหาฝุ่นทางจากสระบุรี จากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จาก

               สมุทรสาคร หรือสมุทรปราการด้วย แต่คนกรุงเทพฯ ก็ถูกท าให้เชื่อว่า PM 2.5 มีปัญหาเฉพาะเรื่องของฝุ่นจาก
               รถยนต์ เพราะฉะนั้นงานวิชาการด้านการเมืองสิ่งแวดล้อมเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศสู่ความยั่งยืน ต้อง
               ท าให้เห็นภาพของการเชื่อมโยงของปัญหาทั้งหมดด้วย เนื่องจาก เราไม่สามารถทอนธรรมชาติออกมาเป็นส่วน ๆ
               ว่า อันนี้เป็นปัญหาควัน อันนี้เป็นปัญหาเรื่องน้ า เพราะทุกอย่างมันจะต้องเชื่อมโยงกัน หรือตัวอย่างปัญหา
               อย่างโครงการขนาดใหญ่ ยกตัวอย่างอย่างโครงการคลองไทย ซึ่งจะกระทบในเรื่องสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ 5

                             29
               จังหวัดในภาคใต้  ตามโจทย์ว่าการเมืองสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาที่ยั่งยืนเราอาจต้องหาจุดสมดุลมากกว่าการ
               พึ่งพาแค่เรื่องประมงเพียงอย่างเดียว ซึ่งมีนักวิชาการอยู่ไม่เยอะมากที่จะน าองค์ความรู้ที่ตนเองมีอยู่เข้ามา
               น าเสนอความเห็นในเชิงวิชาการแบบนี้ ภาควิชาการควรได้มีส่วนน าเสนอข้อค้นพบเชิงวิชาการในโครงการ

               ขนาดใหญ่ เช่นว่าถ้ามีโครงการคลองไทยเกิดขึ้น ทรัพยากรประมงจะเป็นอย่างไร ป่าไม้จะเป็นอย่างไร ระบบ
               นิเวศที่เชื่อมโยงเกี่ยวกับระบบของน้ าจืดที่เชื่อมโยงกับน้ าเค็มจะเป็นอย่างไร ฯลฯ ถ้ามีฐานข้อมูลจากภาค
               นักวิชาการที่ชัดเจนครอบคลุมมาให้ประชาชนได้ตัดสินใจ จะท าให้โครงการใหญ่ ๆ ที่เกิดผลกระทบต่อ
               สิ่งแวดล้อมเกิดขึ้นได้ยากมาก แต่หลายครั้งเรามักเห็นการปล่อยให้โครงการเกิดขึ้นและมาแก้ปัญหาที่ปลาย

               เหตุ อย่างเช่น ธรรมนูญที่อ่าวอุดม ถามว่าในข้อเท็จจริงแล้วชุมชนคุ้มค่าไหมกับการได้ธรรมนูญตรงนั้นกับสิ่งที่
               เขาสูญเสีย เช่นเดียวกับเรื่องของการกัดเซาะชายฝั่ง ที่ผ่านมาเครือข่ายนักวิชาการยังไม่เคยท าให้เห็นว่าการที่
               เราน าเขื่อน การกัดเซาะชายฝั่งมาขวางพื้นที่อยู่ในทะเลไทย โดยเฉพาะในฝั่งอ่าวไทยท าให้เกิดความเสียหายใน
               เชิงเศรษฐกิจ เกิดความเสียหายที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตคิดเป็นมูลค่าเท่าไหร่ แต่กลายเป็นการคุยในระดับ

               โครงการว่า ถ้าเกิดผลกระทบจะแก้ปัญหาตรงนี้อย่างไร ปัญหาเหล่านี้จึงกลายเป็นงูกินหางไป ทั้งที่ถ้ามองใน
               ภาพใหญ่แล้วส่งผลกระทบกับทรัพยากรทางทะเลเยอะมาก ภาควิชาการจึงน่าจะมีฐานข้อมูลที่ชัดเจน





               29  คลองไทยมีก าหนดระยะทาง 135 กิโลเมตร เริ่มจากทิศตะวันตกฝั่งอันดามัน พื้นที่ปากคลองไทยอยู่บริเวณเกาะลันตา จ.กระบี่ และ ปาก
               เมง อ.สิเกา จ.ตรัง โดยแนวคลองไทยจะผ่าน อ.วังวิเศษ อ.ห้วยยอด อ.รัษฎา และเข้าเขต จ.นครศรีธรรมราช อ.ทุ่งสง อ.ชะอวด ผ่านเข้าเขต
               จังหวัดพัทลุง อ.ป่าพะยอม อ.ควนขนุน บริเวณทะเลน้อยซึ่งเป็นพื้นที่ชุ่มน้ า และตัดออกทะเลอ่าวไทยทิศตะวันออก ที่คลองแดน อ.ระโนด
               จ.สงขลา รวม 5 จังหวัด 8 อ าเภอ 24 ต าบล 94 หมู่บ้าน และคาดว่าจะมีจ านวนประชากรที่ต้องอพยพ 63,441 คน (ที่มาเชิงอรรถ
               https://news.thaipbs.or.th/content/262482)


                                                            96
   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113   114