Page 104 - kpiebook65022
P. 104
ทางเลือกที่เป็นบวกและลบ และผลของการตัดสินใจเลือกทางเลือกให้ประชาชนในพื้นที่ได้มีความเข้าใจ
(ผู้ทรงคุณวุฒิ 18 [สัมภาษณ์], 31 พฤษภาคม 2564) อย่างไรก็ดี ภาคประชาชนควรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
และการติดตามตรวจสอบการด าเนินงานตามนโยบายด้วย (ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564)
ผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มยังมีข้อเสนอเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปรับปรุงระบบการมีส่วนร่วมใน
ประเทศไทยที่เรียกว่าการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่ควรปรับในระดับโครงสร้างการตัดสินใจ โดยกล่าว
ว่ารูปธรรมของ SEA EIA และ EHIA รวมถึงองค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมก าลังพัฒนาดีขึ้น แต่รัฐธรรมนูญฯ
พ.ศ.2560 กลับตัดประเด็นองค์กรอิสระออก ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจในกระบวนการ EIA ที่เป็นส่วน
หนึ่งของกระบวนการ และขั้นตอนในการอนุมัติอนุญาต เรื่องกระบวนการประเมินผลกระทบ เช่น SEA EIA
EHIA ควรอยู่ภายใต้องค์กรอิสระ เพราะอุปสรรคที่ส าคัญอีกอย่างหนึ่งคือ แทบทุกโครงการไม่ว่าจะเป็น
โครงการของรัฐหรือเอกชนมีคณะกรรมการอยู่คณะหนึ่งเป็นผู้พยายามจะชี้ขาด คือ กก.วล. หรือ
คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ โครงสร้างและองค์ประกอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาตินั้น มี
นายกรัฐมนตรีเป็นประธานโดยต าแหน่ง และคณะกรรมการฯ เป็นผู้คัดเลือก คชก. คือ คณะกรรมการ
ผู้ช านาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม คณะต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่นถ้ากรม
ชลประทานต้องการสร้างเขื่อน หรือกรมทรัพยากรน้ าอยากสร้างเขื่อน ก็ชงโครงการไปให้กับ กก.วล. แล้วจะมี
กก.วล.คนใดเห็นแย้งกับส่วนราชการด้วยกัน มันจึงไม่มีความเป็นอิสระโดยตรง ดังนั้น กก.วล.ควรตัดทิ้งได้แล้ว
แล้วยกเรื่อง SEA EIA EHIA ขึ้นมาเป็นความรับผิดชอบขององค์กรอิสระ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ [สนทนา
กลุ่ม], 19 กรกฎาคม 2564)
ผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มเพิ่มเติมแนวทางการให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในพื้นที่การเมือง
สิ่งแวดล้อม โดยใช้สื่อโซเชียล ซึ่งภาครัฐควรให้มีโครงสร้างพื้นฐานไวไฟฟรีหรือราคาถูก เพราะคนที่มีส่วนร่วม
ยังเป็นคนในเมืองเป็นหลักหรือเป็นคนในเมืองใหญ่ จะท าให้คนเข้าถึงข้อมูล เพราะการถกเถียงด้วยข้อมูลเมื่อมี
ข้อมูลรอบด้าน แล้วจะน าไปสู่การที่เราวางแผนกันว่าจะปฏิบัติอะไรร่วมกัน ทั้งนี้ ไม่ควรกังวลว่ามีหลายชุด
ข้อมูลแล้วจะไม่ได้ข้อยุติ เพราะที่น่ากลัวยิ่งกว่าคือข้อมูลที่ผูกขาดชุดเดียว ส่วนการพิจารณาความเชื่อถือได้
ของข้อมูลประชาชนจะเป็นผู้ตรวจสอบได้เอง [สนทนากลุ่ม], 29 มิถุนายน 2564)
นอกจากนี้ ผู้ให้สัมภาษณ์ยังให้ข้อเสนอแนะในรายละเอียดย่อยอื่น ๆ เช่น การให้ภาครัฐมี
การถอดบทเรียนและน าไปปฏิบัติหรือมีการพัฒนาก าลังคนให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง ดังผู้ให้สัมภาษณ์
กล่าวว่า ประเทศไทยมีการศึกษาดูงานเกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อมจากหลายประเทศ ซึ่งควรน ามาถอดบทเรียน
และปรับใช้จริงให้เข้ากับมิติเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ยกตัวอย่างการศึกษาดูงานเรื่องการ
จัดการทรัพยากรน้ าในสาธารณรัฐสิงคโปร์ ที่มีการเก็บกักน้ าและน าน้ ารีไซเคิลมาใช้ ผลิตน้ าจืดจากน้ าทะเลโดย
เทคโนโลยีเมมเบรนขนาดใหญ่ หรือประเทศเกาหลีมีแนวการพัฒนาทรัพยากรน้ าโดยออกแบบทางวิศวกรรม
แหล่งเก็บกักน้ าที่กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมและสอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ของประชาชน และยังใช้เป็น
แหล่งท่องเที่ยวได้ด้วย หรือเนเธอร์แลนด์ที่มีการออกแบบวิศวกรรมเพื่อป้องกันคลื่น น้ าท่วม การรุกล้ าของ
น้ าเค็ม หรือประเทศอิสราเอลที่มีเทคโนโลยีพัฒนาโครงข่ายระบบท่อ เทคโนโลยีกลั่นน้ าทะเลเป็นน้ าจืด
เทคโนโลยีเพื่อให้มีการใช้น้ าน้อย การน าน้ าท่วมไปเติมชั้นน้ าบาดาลที่มีขนาดใหญ่และลึกมาก เป็นต้น
(ผู้ทรงคุณวุฒิ 18 [สัมภาษณ์], 31 พฤษภาคม 2564) และในส่วนการพัฒนาก าลังคนของภาครัฐ บุคลากรของ
รัฐนอกจากมีองค์ความรู้เฉพาะในเรื่องสิ่งแวดล้อม ยังจ าเป็นต้องมีทักษะและความเข้าใจในการท างานร่วมกับ
กลุ่มคนที่หลากหลาย พร้อมมีส่วนร่วม ยกตัวอย่าง บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่อนุรักษ์ไม่ควรมีความรู้หรือ
91