Page 100 - kpiebook65022
P. 100
ได้รับการคุ้มครอง เช่น กรณีหินกรูดบ่อนอก มีคนไม่เห็นด้วยกับการพัฒนาแล้วก็มีบางคนเสียชีวิตจากการ
คัดค้าน (ภาคกลาง [สนทนากลุ่ม], 2 สิงหาคม 2564)
วิกฤตที่ส าคัญเรื่องหนึ่งของประเด็นยุติธรรมสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของกระบวนการมีส่วนร่วม
ในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและการท าประชาพิจารณ์ในโครงการพัฒนาต่าง ๆ ดังผู้ให้สัมภาษณ์
กล่าวว่า กระบวนการท า EIA และ EHIA ยังเป็นปัญหาอยู่และเป็นเรื่องใหญ่ที่มีความท้าทายมากในปัจจุบัน
(ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 [สัมภาษณ์], 10 กุมภาพันธ์ 2564; ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 [สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564) ซึ่งการ
มีส่วนร่วมไม่มีความเป็นสากลและกระบวนการไม่มีความยุติธรรม เห็นได้จากคราวนโยบายแผนแม่บทในการ
จัดการน้ า 3.5 แสนล้าน ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ที่มีการประท้วงขัดแย้งรุนแรงทุกครั้งที่มีการจัดเวทีรับฟัง
บางครั้งกีดกันกันไม่ให้ผู้ได้รับผลกระทบได้เข้าไปมีส่วนร่วม บางครั้งรุนแรงถึงขั้นปาระเบิดปิงปองใส่กัน ล่าสุด
ที่ทุ่งกุลาที่มีการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นโรงงานน้ าตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลก็มีการไปเกณฑ์คนมาและแจก
เงิน หรือการจัดรับฟังโครงการโรงไฟฟ้ากระบี่มีการแจกแว่นตาให้คนแก่ โครงการขุดเจาะก๊าซในหลายพื้นที่มี
การแจกเสื้อ บางที่มีการแจกไก่ย่าง บางทีปีใหม่ก่อนท าประชาพิจารณ์มีการจับฉลากใครได้รางวัลที่ 1 ได้หม้อ
หุงข้าวหรือจักรยาน หรือมีการให้ทุนนักเรียน ซึ่งสิ่งเหล่านี้แม้หน่วยงานรัฐมองว่าเป็นเพียงแค่ค่าตอบแทนการ
เสียเวลาแต่กลับเป็นการท าลายประชาธิปไตยแบบรากหญ้าซึ่งไม่ต่างอะไรกับการซื้อเสียง ขณะที่คนที่ไม่ได้มี
ส่วนร่วมจะเป็นกลุ่มคนที่คัดค้าน เป็นผู้ที่เดือดร้อนอยู่ใกล้โรงงานจะไม่ถูกเชิญเข้ามา เมื่อมีการท าประชา
พิจารณ์ก็ท าให้ชุมชนแตกเป็น 2 ฝ่าย ระหว่างฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ฝ่ายที่เห็นด้วยต้องสนับสนุน
โครงการเหล่านี้เพราะได้ของรางวัลไปแล้ว จึงเป็นเชื้อร้ายในการท าลายประชาธิปไตยในการตัดสินใจเกี่ยวกับ
โครงการที่ท าให้เกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม (ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 [สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564)
ส าหรับประเด็นความยุติธรรมสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ พบว่า สถาบันพรรคการเมืองที่จะสามารถเป็น
ตัวแทนผลประโยชน์ได้ในกระบวนการการเมืองสิ่งแวดล้อมปกติก็ไม่อาจแสดงบทบาทได้ดีมากนัก ดังผู้ให้
สัมภาษณ์กล่าวว่า ประเทศไทยมีกระบวนการทางรัฐสภา ซึ่งในภาวะการเมืองปกติกระบวนการทางรัฐสภาจะ
เป็นพื้นที่น าเรื่องต่าง ๆ เข้าไปอธิบายถกเถียงหรือเข้าไปอยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมาธิการชุดต่าง ๆ และ
ในกระบวนการนี้ประกอบด้วยพรรคการเมืองที่หลากหลาย ซึ่งแม้ว่ากรรมธิการจะมีสถานะเป็นกลางไม่เข้าข้าง
พรรคใดพรรคหนึ่ง แต่ในที่สุดก็จะถูกโน้มน้าวด้วยผลประโยชน์ทางการเมืองอยู่ดี (ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 [สัมภาษณ์],
10 กุมภาพันธ์ 2564)
ส าหรับประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เป็นประเด็นหนึ่งที่ผู้ให้สัมภาษณ์เห็นว่ามี
ลักษณะวิกฤตและต้องการความเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหา เพราะภาวะอากาศแปรแปรวนส่งผลกระทบใน
หลายเรื่อง เช่น การกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างประเทศด้วย ดังผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวถึง
ประเด็นที่น่าจะเป็นวิกฤติว่า เป็นภาวะโลกร้อนซึ่งเป็นปัญหาที่คนทั้งโลกร่วมกันก่อขึ้น ท าให้เกิดปัญหาเรื่อง
การกัดเซาะชายฝั่ง ภาวะอากาศแปรปรวนจากฝน 8 แดด 4 กลายเป็นฝน 4 แดด 8 ดังตัวอย่างในจังหวัดทาง
ภาคใต้และภาคตะวันออกของไทย ซึ่งเกิดขึ้นจริงเมื่อปีที่ผ่านมาและก าลังจะเกิดขึ้นอีกในปีนี้ด้วย แต่อาจ
เปลี่ยนไปกระทบทางภาคตะวันตกแทน (ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 [สัมภาษณ์], 29 มกราคม 2564) นอกจากนี้ ประเด็น
ที่เป็นปัญหายาวนานนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น เป็นปัญหาในเชิงการเมืองซึ่งขาดความต่อเนื่อง มองว่า
เป็นเรื่องของความมั่นคงทางด้านการเมือง ถ้าเราไม่มีปัญหาในเรื่องของการมาแก่งแย่งอ านาจกันอย่างทุกวันนี้
มีโอกาสที่ทรัพยากรป่าไม้ของเราสามารถจะอยู่ได้ เพราะเมื่อมีการเปลี่ยนรัฐบาลนโยบายก็จะมีการเปลี่ยนใหม่
หมดเรื่อย ๆ โดยส่วนตัวมองว่าถ้ารัฐบาล คสช. ออกไปแล้วมีรัฐบาลใหม่เข้ามาที่ไม่ใช่พวกเดียวกันก็จะต้องมี
87