Page 101 - kpiebook65022
P. 101

การเปลี่ยนนโยบายเก่าออกไป นโยบายก่อนที่ได้ท ามาก็จะหยุดชะงักทันที (ผู้ทรงคุณวุฒิ 15 [สัมภาษณ์],
               16 เมษายน 2564)



                       4.3.3 ข้อเสนอแนะด้านการเคลื่อนไหวประเด็นการเมืองสิ่งแวดล้อม

                       ผู้ให้สัมภาษณ์และผู้เข้าร่วมการระดมความคิดเห็นกลุ่ม ให้ข้อคิดเห็นต่อการเคลื่อนไหวในด้าน
               การเมืองสิ่งแวดล้อมที่ภาครัฐ ประชาสังคม และวิชาการ ต่างต้องมีการด าเนินงานร่วมกันเพื่อน าไปสู่เป้าหมาย

               การพัฒนาที่ยั่งยืน



                              4.3.3.1 ภาครัฐ
                              ภาครัฐมีจุดที่ต้องด าเนินการมากที่สุด เนื่องจาก เป็นองคาพยพหลักในการขับเคลื่อน เพราะ

               เป็นผู้ก าหนดนนโยบายและออกกฎหมายที่ส่งผลต่อการปฏิบัติทั้งประเทศ ภาครัฐจึงต้องมีการตั้งเป้าหมายที่
               ชัดเจนและสอดคล้องกับสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม มีการปรับโครงสร้างการท างาน และ

               ปรับปรุงระบบส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน ดังต่อไปนี้

                              เป้าหมายชัดเจนและสมดุลความยั่งยืน
                              ท่ามกลางบริบทของการมีส่วนร่วมที่ต้องการก าหนดทิศทางที่มาจากหลายภาคส่วน สุดท้าย

               แล้วการก าหนดทิศทางการพัฒนาของแต่ละประเทศนั้น ย่อมถูกประกาศออกมาโดยรัฐบาล ซึ่งความชัดเจน
               ของนโยบายและทิศทางที่น าไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นข้อเสนอที่ผู้ให้สัมภาษณ์เห็นว่ารัฐบาลไทยควร
               ด าเนินการปรับตัวเพื่อให้ส่งเสริมต่อการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมีทิศทาง โดยผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า
               รัฐบาลต้องมีเป้าหมายชัดเจนที่จะดูแลสิ่งแวดล้อม เช่น หากต้องการอนุรักษ์ป่าเพื่อรักษาป่าห้วยขาแข้งหรือ
               เขาใหญ่ก็ไม่ควรอนุมัติหรืออนุญาตให้มีการสร้างเขื่อนในพื้นที่นั้น หรือกรณีอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ที่มีการ

               เคลื่อนไหวเพื่อคุ้มครอง เพราะ มีศักยภาพในการเป็นมรดกโลกได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไปรัฐบาลก็กลับรื้อโครงการ
               เพื่อพิจารณาก่อสร้างเขื่อนขึ้นอีก ท าให้ขาดเสถียรภาพในการจัดการพื้นที่อนุรักษ์ เป็นต้น (ผู้ทรงคุณวุฒิ 13

               [สัมภาษณ์], 16 เมษายน 2564)
                              ทั้งนี้ เป้าหมายควรสร้างให้เกิดสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมด้วย รัฐบาล

               ควรมีมุมมองสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้นกว่าการเน้นเพียงเศรษฐกิจ ให้ความส าคัญกับประเด็นสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น
               หลักคิดการพัฒนาต้องมากกว่าเรื่องของเศรษฐกิจและรายได้ แต่เน้นคนอยู่ด้วยกันได้กับสิ่งแวดล้อม ต้อง
               ตัดสินใจอย่างเป็นธรรมทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม การเมือง และวัฒนธรรม (ผู้ทรงคุณวุฒิ 4
               [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564; ผู้ทรงคุณวุฒิ 12 [สัมภาษณ์], 5 พฤษภาคม 2564; ผู้ทรงคุณวุฒิ 16

               [สัมภาษณ์], 7 พฤษภาคม 2564) ดังตัวอย่าง อาจมีการวิเคราะห์ศักยภาพการพัฒนาของแต่ละพื้นที่ อย่าง
               กรณีฟาร์มเลี้ยงหมูที่ราชบุรีที่จะมีปัญหาของเสียจากฟาร์มเป็นน้ าเสียไหลไปยังพื้นที่อื่น จึงควรมีการวิเคราะห์
               ศักยภาพการพัฒนาของแต่ละพื้นที่ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564) หรือการขับเคลื่อน
               เศรษฐกิจแบบยั่งยืนที่เรียกว่าเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular economy) ที่ภาคเอกชนก าลังด าเนินการแต่ยัง

               ไม่แพร่หลายนัก จึงควรมีการผลักดันประเด็นนี้ให้มากขึ้น (ภาคเหนือ [สนทนากลุ่ม], 2 สิงหาคม 2564)








                                                            88
   96   97   98   99   100   101   102   103   104   105   106