Page 106 - kpiebook65022
P. 106

วิทยาศาสตร์ ซึ่งการใช้ชุดความรู้ของพื้นบ้านให้ทัดเทียมกับชุดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ต้องอาศัยการลงแรง

               และลงทุนอย่างมาก ภาคประชาสังคมยังขาดการสนับสนุนส่วนนี้
                              อย่างไรก็ดี ภาคประชาสังคมบางส่วนมีศักยภาพเชิงการเคลื่อนไหวและมีองค์ความรู้ เช่น

               ภาคประชาชนในภาคใต้คิดเรื่องแม่น้ าสีเขียวหรือ Green River ขึ้นมา มีการคิดร่วมกันว่าองค์ประกอบของน้ า
               สีเขียวมีอะไร ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมอย่างไร และวิธีการที่จะท าให้น้ าไปสู่ใส่น้ าสีเขียวต้อง
               ท าอย่างไร เป็นความรู้ที่ผลิตกันขึ้นมาและท าเป็นหนังสือ 1 เล่ม ส่วนเรื่องที่ 2 เป็นเรื่องของการวางตัวแบบ
               การจัดการน้ าของประเทศไทยว่าควรจะเป็นอย่างไร ซึ่งเป็นชุดประสบการณ์จากหลาย ๆ พื้นที่ว่า ถ้าจัดการ

               แบบนี้แล้วมันจะเป็นประโยชน์ ถ้าจัดการแบบนี้แล้วมันจะแย่ แล้วถอดรหัสเรื่องความรู้จากปฏิบัติการออกมา
               เขียนเป็นหนังสือข้อเสนอในการจัดสัมมนาเชิงวิชาการและการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่าง ๆ  เพราะหากมีข้อมูล
               ชุดหนึ่งที่เป็นรูปธรรมก็จะมีพลัง เป็นสิ่งที่ภาคประชาชนจะท ารายงานวิชาการแบบง่าย แต่จะเป็นจุดตั้งต้นให้
               ฝ่ายวิชาการเข้ามาเติมเต็มท าให้ชุดความรู้พวกนี้มันได้รับความสมบูรณ์และน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น (ภาคใต้

               [สนทนากลุ่ม], 29 มิถุนายน 2564)

                              ดังนั้น ความรู้ภาคพลเมืองหรือความรู้เฉพาะถิ่นควรมีระบบทางวิชาการส่งเสริม เช่น กองทุน
               สิ่งแวดล้อมที่ภาคชุมชนสามารถของบประมาณเพื่อจ้างบริษัทที่ปรึกษาในการท ารายงานแบบวิจัยเช่น EHIA
               ฉบับประชาชน เพื่อมีการรวมความรู้ทั้งของวิทยาศาสตร์และความรู้ภาคประชาชนเข้าด้วยกัน แล้วจึงน าข้อมูล
               เหล่านั้นมาท าประชาพิจารณ์ตามหลักสากลเพื่อให้มีการโต้เถียงกันในทุกแง่มุม ซึ่งจะน าไปสู่การประเมินผล

               กระทบอย่างรอบด้าน (ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 [สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564) หรือมีระบบส่งเสริมการวิจัยฐาน
               ชาวบ้านที่ให้ชุมชนได้มาเข้าร่วมในงานวิจัยตั้งแต่เริ่มต้น เช่นงานวิจัยที่ส านักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
               (สกว.เดิม) เคยส่งเสริมงานวิจัยแบบ community based research เช่น การท าเครื่องกรองน้ าทรายหยาบ

               ที่ท าให้ชาวบ้านติดตามต่อได้ มีการออกแบบให้ชุมชนเข้ามาเป็นหุ้นส่วนตั้งแต่ตอนต้น (ภาคเหนือ [สนทนา
               กลุ่ม], 2 สิงหาคม 2564)

                              การปรับกระบวนทัศน์ใหม่ในการเคลื่อนไหว

                              ภาคประชาสังคมควรมีการปรับท่าทีในการเคลื่อนไหวใหม่ เพราะที่ผ่านมาการเคลื่อนไหว
               ของประชาสังคมถูกมองเป็นคู่ตรงข้ามกับรัฐ ซึ่งภาคประชาสังคมควรเริ่มจากการหาเครือข่ายหรือแนวร่วมใน
               การเคลื่อนไหวเพื่อสร้างกติกาสังคมร่วมกัน มีการสร้างชุมชนทางนโยบายคู่ขนานไปกับภาครัฐ มีการขับเคลื่อน
               อย่างต่อเนื่องและสร้างสรรค์ ปรับกระบวนทัศน์การเคลื่อนไหวใหม่ และสร้างตัวแทนที่มีพลัง


                              ในส่วนของการหาเครือข่ายหรือแนวร่วมในการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างกติกาสังคมร่วมกัน ผู้ให้
               สัมภาษณ์กล่าวว่า ภาคประชาสังคมควรหาแนวร่วมเพื่อสร้างกติกาในการอยู่ร่วมกันของภาคส่วนต่าง ๆ อย่าง
               จริงจัง เพื่อการสร้างจิตส านึก เพราะกฎหมายควบคุมต่าง ๆ ในประเทศไทยเองได้มีการด าเนินการมาหมดแล้ว
               แต่ก็ยังไม่อาจจัดการสิ่งแวดล้อมได้ดี (ผู้ทรงคุณวุฒิ 17 [สัมภาษณ์], 8 เมษายน 2564)

                              จากการสนทนากลุ่มภาคใต้ พบว่า มีการเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อมในรูปแบบของเครือข่าย

               โดยผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มกล่าวว่า ยกตัวอย่าง เครือข่ายอันดามันโกกรีนที่จังหวัดกระบี่ มีการผสมระหว่าง
               ภาคประชาชนและเอกชน เป็นกลุ่มด้านการท่องเที่ยวค่อนข้างมาก เป็นการรวมกลุ่มเป้าหมายคือท าอย่างไรให้
               ทุกภาคส่วนได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาเมืองร่วมกัน เกิดผลกระทบกับทุกฝ่ายน้อยที่สุดและมันจะก้าว
               ไปสู่เมืองที่น่าอยู่และยั่งยืนได้อย่างไร เพราะฉะนั้น มิติของกระบี่จึงมีหลายภาคส่วน เช่น กลุ่มเครือข่าย

               อุตสาหกรรมปาล์มพยายามผลักดันในเรื่องของการเปลี่ยนของเสียให้กลายเป็นพลังงานสะอาด โดยการน า



                                                            93
   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110   111