Page 108 - kpiebook65022
P. 108

นอกจากนี้ ข้อค้นพบในการเคลื่อนไหวของประชาชนจากการสนทนากลุ่มในภาคใต้มีข้อ
               สนใจว่า ภาคประชาชนหรือภาคประชาสังคม มีความได้เปรียบในทางการเมืองในฐานะเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

               โดยกล่าวว่า ตอนนี้การเมืองฟังประชาชนอยู่แล้ว แต่ประเด็นคือประชาชนมีอ านาจเพียงใด เช่น มีความรู้
               ชัดเจนหรือไม่ คนเห็นด้วยกับข้อเสนอของภาคประชาชนมากน้อยเพียงใด ข้อเสนอของภาคประชาชนดีจริง
               หรือไม่ อย่างน้อย 2-3 ตัวชี้วัดนี้ฝ่ายการเมืองจะเริ่มฟัง เพราะฝ่ายการเมืองมีความหวั่นไหวต่อการเลือกตั้ง
               และเมื่อการเมืองเปลี่ยนจะมีผลให้ข้าราชการเปลี่ยนไปด้วย (ภาคใต้ [สนทนากลุ่ม], 29 มิถุนายน 2564)

                              ในส่วนของการสร้างตัวแทนที่มีพลัง ภาคประชาสังคมยังขาดตัวแทนที่เข้มแข็งที่จะสามารถมี

               อิทธิพลทางนโยบายสิ่งแวดล้อมทั้งแนวราบและแนวดิ่ง ดังผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า มิติผู้ประกอบการยังขาดอยู่
               ในประเทศไทย ผู้ประกอบการบางส่วนที่อาจได้เข้าไปร่วมในเชิงนโยบายที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอาจมีบางกลุ่ม
               เช่น สภาอุตสาหกรรมอาจมีมุมมองอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน แต่ยังขาดสมาคมเกษตรอินทรีย์ที่เป็น
               ตัวแทนผู้ประกอบการเกษตรอินทรีย์ในระดับประเทศ ซึ่งจะสามารถผลักดันประเด็นนี้ในระยะยาวได้มากกว่า

               หรือการหาตัวแทนคนรุ่นใหม่ที่สนใจเคลื่อนไหวประเด็นสิ่งแวดล้อม ก็อาจท าให้มีรูปแบบที่แตกต่างและ
               สร้างสรรค์มากขึ้นได้ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 [สัมภาษณ์], 3 เมษายน 2564)  นอกจากนี้ ผู้ให้สัมภาษณ์ยังกล่าวว่า
               การเคลื่อนไหวของตัวแทนที่มีพลังทางนโยบายอีกกลุ่มหนึ่งที่ส าคัญ คือ พรรคการเมือง ที่อาจเป็นจุดเชื่อม

               สัมพันธ์ระหว่างราชการและประชาชน เพราะตัวแทนพรรคการเมืองบางคนมีบทบาทเป็นผู้บริหารของราชการ
               และขณะเดียวกันเป็นตัวแทนของประชาชนด้วย แต่ปัจจุบันยังไม่มีพรรคการเมืองไทยที่มีลักษณะแบบนี้
               จึงควรมีการสนับสนุนพรรคการเมืองที่จะมาผลักดันประเด็นสิ่งแวดล้อมโดยตรง (ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 [สัมภาษณ์],
               3 เมษายน 2564)

                              สอดคล้องกับข้อค้นพบจากการสนทนากลุ่มในภาคใต้ว่า ต้องมีการกดดันพรรคการเมืองให้

               พูดเรื่องนโยบายสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น อาจไม่ใช่ทุกพรรคการเมืองแต่จะเป็นจุดเริ่มที่ดีที่จะท าให้คนรู้สึกว่า
               เรื่องสิ่งแวดล้อมมีความส าคัญ เพราะเอ็นจีโอพูดไปคนส่วนหนึ่งก็จะไม่ค่อยสนใจ แต่หากเป็นนักการเมืองพูด
               จะท าให้ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมอยู่บนพื้นที่สาธารณะ และท างานได้ง่ายขึ้น พรรคที่ตนมีโอกาสจะเข้าไป
               ผลักดันอาจเป็นพรรคก้าวไกลหรือพรรคกรีนที่ยังไม่ล่มสลาย ให้เขาช่วยพูดเรื่องสิ่งแวดล้อมให้ชัดขึ้นกว่านี้
               พรรคการเมืองควรพูดถึงสิ่งแวดล้อมในเชิงระบบหรือเชิงมหภาคให้ชัดเจนกว่านี้ ไม่ใช่พูดถึงแต่เรื่องเล็กอย่าง

               ธนาคารต้นไม้ หากพรรคการเมืองพูดสิ่งแวดล้อมในเชิงมหภาค จะท าให้เรื่องสิ่งแวดล้อมอยู่บนพื้นที่สาธารณะ
               มากยิ่งขึ้น (ภาคใต้ [สนทนากลุ่ม], 29 มิถุนายน 2564)


                              4.3.3.3 ภาควิชาการ

                              จากการสัมภาษณ์ พบว่า ภาควิชาการจ าเป็นต้องมีความเข้าใจพื้นที่และมีการท างานร่วมกับ

               ชุมชนมากขึ้น มีการผลิตงานวิจัยที่มองเห็นภาพรวม เพราะปัญหาและผลกระทบสิ่งแวดล้อมไม่ได้มีลักษณะ
               แยกส่วน รวมทั้งควรมีงานวิชาการในเชิงปฏิบัติด้วย ดังผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า การท างานวิจัยร่วมกับชุมชน
               และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีปัญหาในแต่ละภาคส่วน ต้องเริ่มจากรู้จักชุมชนว่าวิถีชีวิตวัฒนธรรมเขาเป็นอย่างไร
               เช่น ชุมชนชนเผ่าปกาเกอะญอที่ท าไร่หมุนเวียน เป็นภูมิปัญญาที่มีมาหลายร้อยปีแต่ไม่ได้มีการศึกษาเรื่องนี้กัน

               อย่างจริงจัง ต้องรู้มรดกทางธรรมชาติในพื้นที่ชุมชน เช่น มูลค่าทางเศรษฐกิจ หรือมูลค่าทางนิเวศวิทยา
               จากนั้นต้องรู้ถึงปัญหาและผลกระทบ ซึ่งน าไปสู่การรู้อนาคตคือการแก้ไขปัญหา การจะรู้สิ่งเหล่านี้ได้ต้องใช้
               การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อน าคนที่จะได้รับผลกระทบเข้ามาพูดคุยหาทางออกร่วมกัน (ผู้ทรงคุณวุฒิ 5
               [สัมภาษณ์], 29 มกราคม 2564) สอดคล้องกับผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่มว่า อยากให้ภาควิชาการท างานร่วมกับ



                                                            95
   103   104   105   106   107   108   109   110   111   112   113