Page 103 - kpiebook65022
P. 103

ยกตัวอย่างเช่น เรื่องโลกร้อน หรือโรคระบาด ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้องถิ่นต้องเตรียมการรับมือให้ได้ (ภาคเหนือ

               [สนทนากลุ่ม], 2 สิงหาคม 2564)

                              การปรับปรุงระบบส่งเสริมการมีส่วนร่วม
                              การส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการเมืองสิ่งแวดล้อมให้เกิดขึ้นจริง ประการแรก จ าเป็นต้องมี

               การปรับปรุงหรือแก้ไขกฎหมายที่มีลักษณะจ ากัดสิทธิเสรีภาพเสียก่อน ดังผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า ควรมีการ
               แก้ไขกฎหมายเพื่อไม่ให้เกิดการจ ากัดสิทธิเสรีภาพประชาชนในเรื่องสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ระดับรัฐธรรมนูญให้มี
               การรับรองสิทธิอย่างชัดเจน ไม่ควรมีเงื่อนไขที่ท าให้การใช้สิทธิเสรีภาพและการตรวจสอบของประชาชนยุ่งยาก
               แต่ควรมีมาตรการที่ให้ความสะดวกในการใช้สิทธิเสรีภาพและตรวจสอบแก่ภาคประชาชน (ผู้ทรงคุณวุฒิ 1

               [สัมภาษณ์], 25 กุมภาพันธ์ 2564; ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564) ส่วนกฎหมายอื่นที่ควร
               พิจารณาปรับปรุงแก้ไข เช่น พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ การป้องกันการฟ้องร้องเพื่อปิดปากหรือ anti-slap law

               พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารฯ ที่ออกมากว่ายี่สิบปี แต่ข้อปฏิบัติของประชาชนที่จะเข้าถึงข้อมูลข่าวสารยังยุ่งยาก
               (ผู้ทรงคุณวุฒิ 1 [สัมภาษณ์], 25 กุมภาพันธ์ 2564) นอกจากนี้ ควรมีกฎหมายที่สร้างหลักประกันในการ

               เยียวยาผู้เสียหายที่ได้รับผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มีแนวทางปฏิบัติกับผู้ได้รับผลกระทบจากการพัฒนา
               (ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564)

                              ส าหรับระบบส่งเสริมการมีส่วนร่วมที่ตามมา ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด
               ตั้งแต่เริ่มต้นการวางแผนนโยบายหรือโครงการพัฒนา จนกระทั่งไปถึงการตรวจสอบการด าเนินงานตาม

               นโยบาย ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า รัฐควรปรับปรุงตั้งแต่เริ่มต้นของกระบวนการมีส่วนร่วม เช่น การประเมินผล
               กระทบสิ่งแวดล้อมตาม พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อมฯ พ.ศ.2535 ภาคประชาชนควรได้มีส่วนร่วมเก็บข้อมูล ร่วมรับรู้
               และตรวจสอบข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้ประชาชนรับรู้และเข้าใจข้อมูลที่ตรงกันก่อนตัดสินใจ เป็นการร่วมคิดร่วม
               ท า (ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564;ผู้ทรงคุณวุฒิ 12 [สัมภาษณ์], 5 พฤษภาคม 2564) ทั้งนี้
               ภาครัฐอาจจ าเป็นต้องมีการออกแบบกระบวนการมีส่วนร่วมหรือปรับปรุงที่มีอยู่เดิม เช่น มีการออกแบบ

               กระบวนการจัดท านโยบายที่ขยายพื้นที่การมีส่วนร่วมทางการเมืองให้กว้างยิ่งขึ้น (ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 [สัมภาษณ์],
               8 กุมภาพันธ์ 2564) หรือออกแบบเครื่องมือที่ช่วยในการตัดสินใจ เช่น การจัดท าประชามติแบบที่ไม่มีผล
               ผูกพัน ที่เรามีอยู่แต่ไม่ได้มีการออกแบบพัฒนามากนัก จึงใช้ระบบตัวแทนซึ่งอาจไม่ได้เป็นตัวแทนของผู้มีส่วน

               ได้ส่วนเสียที่แท้จริง (ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564) ซึ่งวิธีการมีส่วนร่วมแม้ประเทศไทยจะ
               น าหลักการสากลมาแต่ก็ต้องน ามาปรับให้เข้ากับบริบทพื้นที่ที่มีความแตกต่างกัน (ผู้ทรงคุณวุฒิ 13
               [สัมภาษณ์], 16 เมษายน 2564)

                              ในส่วนการมีส่วนร่วมของข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม มีข้อมูลเพิ่มเติมว่า จุดตั้งต้นที่ส าคัญที่
               ส าคัญคือ กระบวนการมีส่วนร่วม แต่กระบวนการมีส่วนร่วมเกิดขึ้นไม่ได้หากข้อมูลไม่เท่ากัน หรือไม่เป็นข้อมูล

               ชุดเดียวกัน เช่น โครงการการสร้างแนวป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ชุมชนมีข้อมูลชุดหนึ่งที่เกิดมาจาก
               ประสบการณ์จริง ในขณะเดียวกันข้อมูลของภาครัฐหรือข้อมูลของผู้ที่มีส่วนได้แต่ไม่มีส่วนเสีย มีข้อมูลวิชาการ
               อีกชุดหนึ่ง ที่อาจเป็นการให้ข้อมูลเพียงด้านเดียว และมีอ านาจการตัดสินใจและมีกลุ่มผู้มีส่วนได้โดยตรงหนุน
               หลังอยู่ ท าให้กระบวนการมีส่วนร่วมบนฐานข้อมูลที่ไม่เท่าเทียมกัน (ภาคใต้ [สนทนากลุ่ม], 29 มิถุนายน

               2564)

                              ภายหลังจากผลของการมีส่วนร่วมออกมาแล้ว ภาครัฐควรแสดงผลการศึกษาและสร้างการ
               รับรู้ของประชาชนในพื้นที่ที่จะด าเนินโครงการพัฒนา รวมทั้งกระบวนการพัฒนา ผลกระทบของแต่ละ




                                                            90
   98   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108