Page 98 - kpiebook65022
P. 98
นอกจากนี้ ยังมีกรณีทรัพยากรทะเล เช่น พื้นที่อ าเภอบางละมุง ซึ่งเป็นท่าเรือน้ าลึกที่รัฐบาล
ก าลังจะสร้างท่าเรือ ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพน้ าและขยะที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเท่ากับว่าสัตว์น้ าที่ชาวประมงพื้นบ้าน
เคยท าการเพาะเลี้ยงจะไม่สามารถด าเนินการต่อได้ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564) หรือ
กรณีทรัพยากรแร่ เช่น การใช้แร่โปรแตชแล้วที่ยังไม่รู้ว่าวิธีการที่จะใช้หรือไม่ใช้ ควรจะใช้อย่างไร ยังควรท า
เหมืองแร่โปรแตชอยู่หรือไม่ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 [สัมภาษณ์], 3 เมษายน 2564)
นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมการสนทนาการมีความเห็นว่าประเด็นที่เป็นปัญหาอย่างยาวนานและยัง
ไม่ได้มีการแก้ไขให้ถูกต้องและจริงจัง คือ มาตรการการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังและเข้มข้นในเรื่องของ
ประเด็นสิ่งแวดล้อม เช่น กฎหมายชายฝั่งเรื่องการท าประมงที่ผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นอวนรุน เรือปั่นไฟ หรือ
ประเภทอื่น ๆ กฎหมายเหล่านี้มันมีการตราอย่างจริงจังในเอกสาร แต่ในทางปฏิบัติจริงยังมีความเหลื่อมล้ า
และเลือกปฏิบัติ (ภาคใต้ [สนทนากลุ่ม], 29 มิถุนายน 2564)
4.3.2.3 ความยั่งยืน
ปัญหาที่มีมาอย่างยาวนานและควรด าเนินการแก้ไขที่ส าคัญอย่างหนึ่ง คือ การพัฒนาที่ยั่งยืน
ซึ่งผู้ให้สัมภาษณ์เห็นว่า นโยบายของรัฐด้านความยั่งยืนยังคงเป็นเพียงวาทกรรม ขาดการก าหนดทิศทางที่ทุก
ภาคส่วนให้การยอมรับร่วมกันและเปลี่ยนแปลงบ่อย เนื่องจาก การเมืองที่ขาดเสถียรภาพ ดังผู้ให้สัมภาษณ์
กล่าวว่า กรณีผังเมืองอีอีซีที่มีการค านวณพื้นที่การใช้งานสู่สื่อสาธารณะว่าเพิ่ม 1 หรือ 2 เปอร์เซ็นต์ เป็นการ
คิดเชิงคณิตศาสตร์ที่ผิด เพราะที่ถูกต้องต้องใช้ปี พ.ศ.2560 ตั้งต้นว่ามีพื้นที่สีม่วงอุตสาหกรรมเท่าไหร่ แล้วปี
พ.ศ.2580 คือในอีก 20 ปีข้างหน้า เพิ่มเป็นเท่าไหร่ น ามาลบกันแล้วหารด้วยปีแรก จึงจะเห็นอัตราการ
เปลี่ยนแปลง จะท าให้เห็นได้ว่าการคิดแบบหลังนี้จะมีอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 60 พื้นที่สีชมพู และ
สีแดง ที่เป็นเมืองใหม่เพิ่มขึ้นร้อยละ 33 ส่วนที่หายไปคือ พื้นที่เกษตรกรรม แต่เวลาน าเสนอกลับคิดจากฐาน
รวมไม่ได้ลบกันแล้วหารด้วยฐานของปีแรก ซึ่งมองได้ว่ามีความจงใจ หรือนโยบายรัฐก าลังพูดถึงเรื่องของ
Green Recovery ส่วนในยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พูดเรื่องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนหรือ SDGs แต่วิธีการ
27
ไม่ถูกต้องเพราะรัฐบาลไม่เข้าใจระบบ เช่น ความเข้าใจเรื่อง CSR ซึ่งต้องเริ่มท าตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการ
ตั้งแต่ออกแบบร่วมกัน ร่วมวิเคราะห์ สังเคราะห์ และมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพียงพอจึงจะออกแบบได้และช่วย
ป้องกันได้อย่างครบวงจร แต่เนื่องจากเป้าหมาย SDGs รับมาในช่วงรัฐบาล คสช. ซึ่ง คสช.ก็ใช้อ านาจที่มี แก้ไข
ปัญหาทุกเรื่อง เช่น แก้ปัญหาขยะก็ให้ใช้เป็นแหล่งระบบไฟฟ้าได้ คือ เปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน ในรูปแบบของ
28
โรงไฟฟ้าพลังงานขยะหรือ RDF ส่วนการท า Green recovery ในความหมายของรัฐ คือ พัฒนาให้ได้ GDP
แต่การได้มาซึ่ง GDP จะท าให้ต้องกลับไปแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมเดิม ๆ เช่น ไปท าเรื่องบ าบัดน้ าเสียให้น้ าดีขึ้นก็
จะได้ GDP ในเรื่องน้ า ดังนั้น Green recovery ยังไม่ได้เกิดขึ้นจริง และถ้าประเทศไทยยังเดินแบบนี้ต่อไปก็
เป็นการหลอกตัวเองเพื่อให้มีที่ยืนในประชาคมโลก แต่สุดท้ายสิ่งแวดล้อมไม่ได้รับการฟื้นฟูจริง ๆ และ Green
Recovery ก็จะกลายเป็นวาทกรรมอีกครั้งหนึ่ง เหมือนกับวาทกรรมทวงคืนผืนป่า และวาทกรรมขยะเป็นวาระ
แห่งชาติ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 [สัมภาษณ์], 29 มกราคม 2564)
27 การฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยค านึงถึงสิ่งแวดล้อม
28 Refuse Derived Fuel (RDF) หรือเชื้อเพลิงขยะ หมายถึง ขยะที่เผาไหม้ได้โดยการน าขยะมูลฝอยชุมชนมาผ่านกระบวนการคัดแยก ลดขนาด
ลดความชื้น ฯลฯ เพื่อให้ได้วัตถุดิบที่มีค่าความร้อน ขนาด และลักษณะตามความต้องการใช้งาน สะดวกต่อการขนส่งและน าไปใช้เป็น
เชื้อเพลิงได้ (ที่มาเชิงอรรถ: https://www.dede.go.th/ewt_dl_link.php?nid=48935)
85