Page 95 - kpiebook65022
P. 95
จัดการแบบคนมีส่วนร่วมในพื้นที่ป่า การบริหารจัดการผลประโยชน์จากเขื่อนและประตูระบายน้ าเพื่อจัดสรร
ทรัพยากรอย่างเป็นธรรมและรักษาระบบนิเวศ การรักษาคุณภาพน้ าและป้องกันขยะลงสู่ทะเล การให้
สัมปทานแร่บางชนิดยังควรด าเนินการต่อไปหรือไม่ เป็นต้น
กรณีป่าไม้และที่ดินท ากิน
ประเด็นที่เป็นปัญหายาวนานและต้องแก้ไขเร่งด่วนกรณีของป่าไม้และที่ดินท ากิน ได้แก่ การ
บุกรุกพื้นที่ป่า การบริหารพื้นที่อนุรักษ์ ป่าชุมชน ไร่หมุนเวียน และการทวงคืนผืนป่า โดยการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้
ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า การรุกครอบครองพื้นที่ป่า ณ ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ป่าอนุรักษ์ประมาณร้อยละ 22
แต่เป้าหมายคือร้อยละ 25 ซึ่งในปัจจุบันอาจท าได้ยาก เพราะในร้อยละ 22 ที่กล่าวไปถูกบุกรุกอยู่ 4.2 ล้านไร่
จากพื้นที่ 73 ล้านไร่ที่เป็นป่าอนุรักษ์ ถือว่าเป็นภาวะที่ค่อนข้างวิกฤติ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 17 [สัมภาษณ์],
8 เมษายน 2564)
พื้นที่ป่าอนุรักษ์พบวิกฤตเช่นเดียวกันกับป่าสงวน แต่ป่าสงวนมีวิกฤตในเชิงการบริหารจัดการ
เข้ามาด้วย ดังผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่ามีความห่วงกังวลเรื่องพื้นที่ป่าสงวนที่อยู่ในการดูแลของกรมป่าไม้ พื้นที่
ทั้งหมดของป่าสงวนแห่งชาติร้อยละ 100 เหลือพื้นที่ป่าเต็มที่ไม่เกินร้อยละ 30 และใน 30 นี้ มีอยู่เพียงร้อยละ
20 ที่อยู่ระหว่างพิจารณาให้ผนวกเป็นพื้นที่อนุรักษ์เพิ่มเติม เช่น ประกาศเป็นเขตห้วยขาแข้งเพิ่มเติมหรือว่า
ประกาศเป็นพื้นที่อนุรักษ์ใหม่ให้ไปอยู่ในการดูแลของกรมอุทยาน ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 10 เป็นพื้นที่ที่
หน่วยงานรัฐพยายามพยายามส่งเสริมให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ป่าชุมชน ดังนั้น พื้นที่ส่วนใหญ่อีกร้อยละ 70 ที่เหลือ
รัฐยังไม่มีรูปแบบการดูแลจัดการชัดเจนแต่พื้นที่ตรงนี้ประชาชนได้เข้าไปใช้ประโยชน์แล้ว ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าส่วนใหญ่
ของประเทศและมีปัญหาค่อนข้างหนัก ในส่วนกรมป่าไม้เองยังไม่มีความชัดเจนว่าจะจัดการพื้นที่ส่วนนี้อย่างไร
อาจต้องท าตาม พ.ร.บ.สงวนฯ และ พ.ร.บ.อุทยานฯ ก่อน คือ ต้องมีการส ารวจให้แน่ว่าปัจจุบันชาวบ้านใช้
พื้นที่ไปแค่ไหนอย่างไร และจะการบริหารจัดการพื้นที่เหล่านี้อย่างไร หน่วยงานอย่างกรมป่าไม้อาจต้องปรับ
บทบาทใหม่ให้มากกว่าการป้องกันอย่างเดียว อาจเป็นผู้ส่งเสริมและสนับสนุนกลไกป่าชุมชน หรือกลไกป่า
เศรษฐกิจ จะท าให้กรมป่าไม้มีทิศทางที่มีอนาคตต่อไปได้กับการท างานร่วมกับประชาชนที่อยู่ในพื้นที่
ป่า (ผู้ทรงคุณวุฒิ 13 [สัมภาษณ์], 16 เมษายน 2564)
สอดคล้องกับความไม่ชัดเจนกรณีป่าชุมชนตาม พ.ร.บ.ป่าชุมชน พ.ศ.2562 ผู้ให้สัมภาษณ์มองว่า
แม้มีกฎหมายแต่การขับเคลื่อนจริงอาจท าได้ยาก โดยกล่าวว่า การผลักดันให้มี พ.ร.บ.ป่าชุมชน ใช้ระยะเวลา
ยาวนานถึง 30 ปี เป็นการรับรองสิทธิ์ในเรื่องของชุมชนมีสิทธิ์ที่จะดูแลทรัพยากรในพื้นที่ของตนเองได้
โดยเฉพาะพื้นที่ป่า แต่เป็นฉบับที่ถูกปรับเปลี่ยนไปเยอะจากตอนเริ่มต้น (ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 [สัมภาษณ์],
10 กุมภาพันธ์ 2564) ผู้ให้สัมภาษณ์ท่านอื่นเพิ่มเติมว่า กฎหมายยังเน้นไปที่เรื่องชุมชนอย่างเดียว ไม่มี
โครงสร้างทั้งด้านบุคลากร งบประมาณ และการท างานเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายนี้ ดังนั้น การเคลื่อนงาน
ตามกฎหมายนี้จะเป็นไปแบบช้า ๆ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 13 [สัมภาษณ์], 16 เมษายน 2564)
กรณีการท าไร่หมุนเวียน เป็นอีกกรณีหนึ่งของประเด็นป่าไม้ที่ผ่านการถกเถียงมาอย่าง
ยาวนานไม่จบสิ้น เพราะไม่ได้เป็นปัญหาเพียงที่ท ากินที่อยู่อาศัยแต่ยังยึดโยงกับวิถีชีวิตด้วย ดังผู้ให้สัมภาษณ์
หลายท่านกล่าวว่า ไร่หมุนเวียนยังเป็นปัญหาไม่ใช่แค่เพียงกรณีที่บางกลอย หลายคนยังมีความเข้าใจที่
คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับไร่หมุนเวียนจนท าให้เป็นการซ้ าเติมคนเล็กคนน้อย (ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 [สัมภาษณ์],
29 มกราคม 2564; ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 [สัมภาษณ์], 3 เมษายน 2564) วิถีชีวิตของชุมชนที่ท าไร่หมุนเวียนมีความ
ขัดแย้งกับการปฏิบัติจริง ดังผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า ปัญหาของกลุ่มชาติพันธุ์ที่เรียกร้องว่าอยู่ในป่ามาก่อนเป็น
82