Page 90 - kpiebook65022
P. 90

ที่มีสถาบันน้ า เป็นต้น แต่ไม่สามารถท าได้ เพราะจะท าให้กระทรวงต้นสังกัดเล็กลง ซึ่งเป็นเรื่องของการเมือง
               แม้รัฐบาล คสช.ที่เป็นรัฐบาลก็ท าไม่ได้เช่นเดิม ผู้บริหารระดับบนควรเข้าใจและพิจารณาบทเรียนจากประเทศ

               มาเลเซียหรือประเทศที่เขาสามารถท าได้ แม้เป็นประเทศขนาดเล็กกว่าแต่เราสามารถยกรูปแบบการบริหาร
               จัดการเข้ามาประยุกต์ได้ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 12 [สัมภาษณ์], 5 พฤษภาคม 2564) สอดคล้องกับผู้ให้สัมภาษณ์ท่านอื่น
               ที่เพิ่มเติมให้เห็นปัญหาการบูรณาการอีกว่า ประเทศไทยเองได้มีความพยายามแก้ปัญหาการขาดการบูรณาการ
               ในรูปแบบของคณะกรรมการ แต่ก็ไม่อาจแก้ปัญหาเรื่องการบูรณาการระหว่างหน่วยงานเพื่อพัฒนาไปสู่ความ

               ยั่งยืนได้ เพราะกรรมการมีบทบาทในเชิงนโยบายไม่ได้เป็นผู้ปฏิบัติ โดยกล่าวว่า กรรมการระดับชาติใน
               ประเทศไทยมีอยู่ประมาณ 150 คณะ ทั้งกรรมการด้านป่าไม้แห่งชาติ ที่ดินแห่งชาติ น้ าแห่งชาติ
               ทะเลแห่งชาติ Climate Change แห่งชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ เหมืองแร่แห่งชาติ
               สิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฯลฯ ปัญหาคือกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีอ านาจตามกฎหมายคือการ

               ท านโยบายและแบบแผน แต่อ านาจบังคับใช้จริงอยู่ที่หน่วยงานอื่น (ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์
               2564)

                            ในเชิงของการบูรณาการเพื่อรับมือและแก้ไขปัญหา พบอุปสรรคที่คล้ายกันกับการบูรณาการ
               เพื่อการพัฒนา คือ มีความกระจัดกระจายในการท างาน แต่การบูรณาการเพื่อรับมือและแก้ไขปัญหาท าให้เกิด

               ปัญหาในเชิงการเข้าถึงของภาคประชาชนด้วย ยกตัวอย่างการจัดการปัญหามลพิษ ที่ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า
               กระทรวงสิ่งแวดล้อมไม่สามารถที่จะเข้าไปยังแหล่งก าเนิดมลพิษที่มีกฎหมายเฉพาะได้ อย่างเช่น กรณีของ
               โรงงาน ซึ่งเป็นปัญหาเชิงหลักการ เพราะ หน่วยงานที่อนุมัติและอนุญาต ยังมีบทบาทก ากับสิ่งแวดล้อมของผู้ที่
               ได้รับอนุญาตไปด้วย ทั้งที่ควรเป็นคนละหน่วยงานกันระหว่างหน่วยงานอนุมัติและอนุญาต กับหน่วยงานที่
               ก ากับดูแล ดังเช่น ประเทศมาเลเซีย หน่วยงานที่เป็นผู้อนุมัติอนุญาต กับหน่วยงานที่ดูแลเป็นคนละหน่วยงาน

               โดยหน่วยงานที่ดูแลสิ่งแวดล้อมเป็นหน่วยงานเฉพาะที่จ้างเข้ามาดูแลและออกมาตรฐานควบคุม เพราะ
               แหล่งก าเนิดมลพิษมีมาก เฉพาะหน่วยงานรัฐอาจรับผิดชอบได้ไม่ครอบคลุม (ผู้ทรงคุณวุฒิ 12 [สัมภาษณ์],
               5 พฤษภาคม 2564) การขาดการบูรณาการยังส่งผลต่อมาตรฐาน เช่น กรณีในการวัดน้ าเสียเขาวัดจากโรงงาน

               ที่ปล่อยมาปรากฏว่ามาตรฐานผ่าน แต่บริเวณนั้นมี 100 โรงงาน แต่เมื่อรวมกันแล้วก็น่าจะเกินมาตรฐาน
               จะเห็นว่านอกจากการท างานแยกส่วนแล้ว ยังไม่สอดคล้องกับการดูแลควบคุมมลพิษ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 4
               [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564)

                            ในขณะเดียวกันปัญหามลพิษต่าง ๆ ก็ไม่ได้เบ็ดเสร็จในกฎหมายฉบับเดียว ดังผู้ให้สัมภาษณ์
               กล่าวว่า พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อมฯ พ.ศ.2535 หากหน่วยงานทางสิ่งแวดล้อมไปตรวจโรงงานอุตสาหกรรม แล้วพบว่า

               โรงงานไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานก็ไม่สามารถสั่งปิดโรงงานได้ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 12 [สัมภาษณ์], 5 พฤษภาคม 2564)
               หรือกรณีของชาวบ้านคลิตี้ เมื่อมีการร้องเรียนจะเห็นได้ว่า ต้องไปเกี่ยวข้องกับหน่วยงานด้านสาธารณสุขเพื่อ
               ตรวจสอบเรื่องการอุปโภค ทั้งยังเกี่ยวข้องกับกรมทรัพยากรน้ า กรมทรัพยากรบาดาลที่ต้องมาด าเนินการ
               เกี่ยวกับเรื่องน้ าใช้และน้ ากินของชุมชนในระหว่างที่มีการฟื้นฟู รวมไปถึงกรมป่าไม้และกรมอุทยานที่เป็น

               เจ้าของพื้นที่ก็ต้องมาเกี่ยวข้องในลักษณะของการอนุมัติอนุญาตในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความซับซ้อนยุ่งยาก
               มาก (ผู้ทรงคุณวุฒิ 1 [สัมภาษณ์], 25 กุมภาพันธ์ 2564) นอกจากนี้ เมื่อเกิดปัญหาและการร้องเรียนเกิดขึ้น
               หน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทหน้าที่ต่างกันก็ไม่อาจบูรณาการกันได้เช่นกัน รวมถึงการร้องเรียนยังเป็นล าดับชั้น
               สร้างความยุ่งยากแก่ประชาชนด้วย ดังผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า ต้องไปร้องวุฒิสภาก่อน ไปร้องคณะกรรมการ

               สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร ฯลฯ จนถึงวันที่มีค าสั่งมาถึงจะมีการท างานร่วมกัน
               ระหว่างหน่วยงาน เพราะรัฐบาลยังติดบทบาทเป็นผู้สั่งการ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 [สัมภาษณ์], 29 มกราคม 2564)




                                                            77
   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95