Page 85 - kpiebook65022
P. 85

ท างานอย่างต่อเนื่องหรือไร่ข้าวโพดที่มีการถางจนเตียนเจ้าหน้าที่จะส ารวจให้ การส ารวจตามมตินี้จึงถือว่า
               ล้มเหลว และทุกวันนี้ข้อมูลเหล่านี้ก็ยังไม่ได้ถูกน ามาใช้อย่างเป็นประโยชน์ในด้านการจัดการ ซึ่งจะต้องน าไปสู่

               การแก้กฎหมาย (ผู้ทรงคุณวุฒิ 12 [สัมภาษณ์], 5 พฤษภาคม 2564)

                            อีกกรณีหนึ่งของกฎหมายหมดหรือนโยบายที่น าไปสู่การปฏิบัติจริงได้ยาก กรณีเกษตรกรที่ไม่มี
               ที่ทางท ามาหากินแล้วรัฐบาลมีนโยบายจัดสรรที่ดิน เพื่อใช้ที่ดินร่วมกันในพื้นที่ป่าอย่างเป็นระบบและมีระเบียบ
               และละเว้นการด าเนินคดีกับผู้ที่มีความยากจนและไม่มีที่ท ามาหากิน การน าไปปฏิบัติจริงต้องตีความว่าค าว่า
               ยากจน จึงมีการท าเส้นแบ่งความยากจนมาเป็นเกณฑ์ในการวัด ซึ่งไม่สามารถใช้ได้เป็นมาตรฐานกับทุกพื้นที่

               เพราะความยากจนไม่เหมือนกันในแต่ละพื้นที่ อย่างเช่นในจังหวัดชุมพร หากหาคนยากจนและไม่มีที่ท ามาหา
               กินในจังหวัดชุมพรจะพบว่าในจังหวัดชุมพรไม่มีใครอยู่ต่ ากว่าเส้นความยากจนเลย จึงไม่สามารถน าใครใน
               จังหวัดมาจัดลงพื้นที่ตามนโยบายได้ หากน าชื่อในจังหวัดอื่นที่มีความยากจนมาลงก็จะถูกคัดค้านเข้าไปอีก
               จึงถือเป็นเรื่องยากในทางปฏิบัติ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 15 [สัมภาษณ์], 16 เมษายน 2564)

                            อุปสรรคสุดท้ายในประเด็นของกฎหมายและนโยบายที่พบ คือ กฎหมายระเบียบปฏิบัติที่

               เกี่ยวข้องขัดแย้งกับการมีส่วนร่วมตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ ท าให้การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนนั้น
               ไม่เป็นไปตามหลักการมีส่วนร่วม กีดกันภาคประชาชนออกจากประเด็นการพัฒนา และเป็นอุปสรรคต่อการ
               กระจายอ านาจอีกด้วย ตัวอย่างที่ส าคัญคือการรับฟังความคิดเห็นในการจัดท ารายงานประเมินผลกระทบ
               สิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอ มีปัญหา คือ ระเบียบด้านการรับฟังความคิดเห็นมีความผิดเพี้ยนจากหลักการมีส่วนร่วม

               ท าให้หน่วยงานรัฐและเจ้าของโครงการใช้เป็นพื้นที่แสดงข้อมูลด้านเดียว ดังผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า มักมีการขอ
               ยกเว้นไม่ต้องท าตามระเบียบส านักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั้งที่ระเบียบแย่
               อยู่แล้ว เพราะเจตนารมณ์ของ อีไอเอ ต้องท า 2 อย่าง คือ การประเมินทางวิชาการอย่างรอบด้าน และ

               กระบวนการการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน แต่ที่เป็นปัญหาทุกวันนี้เรื่องสิ่งแวดล้อมคือประกาศและระเบียบ
               ซึ่งออกตามกฎหมาย ที่มีการก าหนดขั้นตอนปฏิบัติขัดต่อกฎหมาย การมีส่วนร่วมถูกจ ากัดแค่การรับฟังความคิดเห็น
               (ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564; ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 [สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564)

                            ปัญหานี้ผู้ให้สัมภาษณ์ กล่าวว่า เป็นเพราะมีคนกลุ่มหนึ่งพยายามที่จะผูกขาดความรู้ ไม่มีช่อง
               ให้ผู้อื่นได้โต้แย้ง ดังเช่นกระบวนการรับฟังความคิดเห็นอย่าง SEA หรือ EIA หรือประชาพิจารณ์ ซึ่งเป็น

               กระบวนการประชาธิปไตยที่ต่างประเทศด าเนินการ แต่ของไทยน าหลักการมาปรับพอด าเนินการไปหลักการ
               ส าคัญหายไป ยกตัวอย่าง การประชาพิจารณ์ เริ่มจากการต่อต้านการก่อสร้างทางด่วนของชุมชนบ้านครัว
                                  26
               ประมาณปี พ.ศ.2537  ท าให้มีการน าเครื่องมืออย่างการประชาพิจารณ์เข้ามาใช้และด าเนินการแบบสากล
               โดยมีการตั้งคณะกรรมการรับฟังความคิดเห็น และมีการใช้ข้อมูลจากทั้งฝ่ายรัฐและชุมชนในการประชา

               พิจารณ์ซึ่งใช้เวลาเป็นวัน และให้คณะกรรมการที่ไม่มีส่วนได้เสียท าการแยกเก็บข้อมูลทั้งข้อดีข้อเสียของแต่ละ
               ฝ่ายออกมา สุดท้ายโครงการนี้ต้องพับไปเพราะท าให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี หลังจากนั้นมาประเทศไทยจึงมี
               ระเบียบส านักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโดยวิธีประชาพิจารณ์ในปี พ.ศ.2539



               26  ในเดือนมีนาคม พ.ศ.2531 ชาวบ้านชุมชนบ้านครัวได้รับหนังสือจากการทางพิเศษฯ เกี่ยวกับการก่อสร้างซึ่งท าให้ชาวบ้าน
               รู้สึกไม่เป็นธรรม เพราะการทางพิเศษฯ จะอนุรักษ์โบราณวัตถุโดยไม่สร้างถนนคร่อมรูปปูนปั้นหัวช้างที่สะพานหัวช้าง แต่ให้รื้อ
               ถอนมัสยิดเก่าแก่และสร้างถนนคร่อมสุสานของชุมชน และการสร้างทางด่วนเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของนายทุน ชาวบ้านจึง
               เคลื่อนไหวต่อต้าน รวมถึงใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2540 มาตรา 46 เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมและต่อต้านการสร้าง
               ทางด่วนซีดีโรด การต่อสู้ใช้เวลา 15 ปีกับ 11 รัฐบาล เพื่อไม่ให้ชุมชนถูกเวนคืนหรือรื้อถอน (ข้อมูลจากศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
               https://www.sac.or.th/databases/ethnicredb/research_detail.php?id=604)


                                                            72
   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90