Page 87 - kpiebook65022
P. 87

หรือกรณีป่าไม้ ผู้ให้สัมภาษณ์ยกตัวอย่างกรณีบุกรุกป่าไม้ ว่าการละเลยจนท าให้มีการเข้าไปบุก
               รุกพื้นที่ป่า และท าให้ป่าไม้น้อยลงจนไม่มีความสมบูรณ์ กลายเป็นพื้นที่ ส.ป.ก. ท าให้กลายเป็นความขัดแย้งใน

               เชิงปฏิบัติ เมื่อมีการประกาศเรื่องเขตพื้นที่ปฏิรูปโดยอาจประกาศคลุมไปถึงพื้นที่ ส.ป.ก. แต่ ส.ป.ก.ยังไม่มี
               แผนงานงบประมาณออกมาและยังไม่ได้ด าเนินการอะไร ท าให้พื้นที่ตรงนั้นยังมีสภาพที่เป็นป่า และถูกตีความ
               เป็นป่า เมื่อชาวบ้านเข้าไปลงพื้นที่ตัดต้นไม้หน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบก็สามารถเข้าไปด าเนินการจับกุมได้
               พื้นที่เหล่านี้ หากไม่รีบคืนเป็นผืนป่าก็จะถูกรุกล้ าเพราะชาวบ้านถือว่าอยู่ในเขตของ ส.ป.ก. ทั้งที่ความจริงพื้นที่

               มีลักษณะเป็นป่าไม้ แต่หากรัฐเข้าไปจับกุมก็จะกลายเป็นประเด็นปัญหา (ผู้ทรงคุณวุฒิ 15 [สัมภาษณ์],
               16 เมษายน 2564)

                            ตัวอย่างกรณีมลพิษ ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า ปัญหาหมอกควันจากการเผาป่าและ PM 2.5 มีทุกปี
               แต่ยังไม่สามารถแก้ปัญหาตรงนี้ได้ เพราะเป็นปัญหาที่เกิดจากหลายแหล่งก าเนิด ทั้งจากยานพาหนะ การเผา
               ไร่เพื่อท าการเกษตร ฯลฯ ถือเป็นเรื่องที่ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง และมันเป็นภัยร้ายที่คุกคาม (ผู้ทรงคุณวุฒิ 11

               [สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564; ผู้ทรงคุณวุฒิ 12 [สัมภาษณ์], 5 พฤษภาคม 2564) รัฐมีนโยบายห้ามโรงงาน
               รับซื้ออ้อยเผา แต่ทุกปีมีอ้อยเผาอย่างมหาศาลและเกินกว่ามาตรฐานที่รัฐก าหนด ถ้าในต่างประเทศใครท าการ
               เผาอ้อยจะมีเรื่องถึงขั้นขึ้นศาล แต่ของประเทศไทยเมื่อเกิดปัญหาขึ้นก็โยนไปที่กลุ่มคนยากคนจน เช่นในกรณี

               เรื่องการเผาป่าก็โทษคนที่ไปเผาเห็ด แต่ไม่ได้เอาผิดกับสถานประกอบการ กรณีนี้รัฐบาลและหน่วยงานรัฐไม่ได้
               มีความจริงจังในการสร้างองค์ความรู้ในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 และนักการเมืองก็ไม่ได้มีความจริงใจใน
               การแก้ไขทั้งที่เป็นปัญหาวาระแห่งชาติ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 [สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564) เช่นเดียวกันกับ
               ผู้ให้สัมภาษณ์ท่านอื่น ต่อกรณีจัดการสิ่งแวดล้อมด้านมลพิษที่ต้องการความจริงจังอย่างมาก เพราะเมื่อมี
               ปัญหาจะท าให้เกิดผลกระทบยาวนานต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ โดยกล่าวว่า ปัญหาน้ าเสียซึ่งเป็นปัญหาที่

               ใหญ่ไม่น้อยไปกว่า PM 2.5 แต่ประชาชนอาจจะยังไม่ได้ให้ความสนใจ เนื่องจากปัญหาการปล่อยขยะและ
               มลพิษต่าง ๆ ยังไม่ได้มีกระบวนการในการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง (ผู้ทรงคุณวุฒิ 16 [สัมภาษณ์],
               7 พฤษภาคม 2564)

                            นอกจากนี้ ผู้ให้สัมภาษณ์มองว่า ความจริงใจในการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานรัฐ ไม่ใช่เพียง
               การบังคับใช้กฎหมายเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการพยายามแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุด้วย ดังผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า

               เมื่อเกิดอย่างภัยพิบัติมักไม่มีคนสนใจว่าต้นตอปัญหามาจากความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม เช่น การ
               เปลี่ยนแปลงพื้นที่เกษตรที่ส่งผลต่อระบบนิเวศหรือสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนที่ไม่น้ าโขง เป็นต้น ท าให้การแก้ไข
               ปัญหาเป็นการแจกสิ่งของยังชีพมากกว่า หรือปัญหา PM 2.5 แก้ปัญหาด้วยการท า Big cleaning Day เมื่อ

               ปัญหาหนักเข้า ก็การประกาศขอให้ทุกคนอยู่ที่บ้านเพื่อหลีกเลี่ยงอากาศพิษ ใช้รถดับเพลิงฉีดพ่นน้ า และมีผู้
               หลักผู้ใหญ่มาท าพิธีเปิด เป็นต้น เป็นการแก้ไขปลายเหตุแต่เรากลับไม่มีหรือใช้องค์ความรู้เหล่านี้เพื่อหาสาเหตุ
               และแนวทางในการแก้ปัญหา (ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 [สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564)

                            อย่างไรก็ดี ข้อค้นพบจากผู้เข้าร่วมการสนทนากลุ่มสะท้อนให้เห็นว่าความจริงจังและต่อเนื่อง
               ของการแก้ไขปัญหาไม่อาจเกิดได้จริงเพราะข้อจ ากัดด้านนโยบายและการเมือง ที่ต้องการการตอบสนองที่

               รวดเร็วของหน่วยงานด้านการปฏิบัติ ท าให้ข้อมูลทางวิชาการที่น ามาใช้ในการด าเนินกิจกรรมต่าง ๆ ขาดความ
               รอบด้าน โดยกล่าวว่า การท างานในภาวะโลกเดินเร็ว ท าให้ทุกอย่างต้องการเดี๋ยวนี้ จนบางครั้งท าให้ต้อง
               ละเลยงานวิชาการ ภาครัฐมีงานวิชาการอยู่เยอะแต่ไม่สามารถเอางานเหล่านั้นมาใช้ได้อย่างเต็มรูปแบบ
               รวมทั้งกฎหมายระดับรองที่ออกมายังไม่มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนพอ ท าให้เกิดความล าบากใจในการปฏิบัติงาน






                                                            74
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92