Page 84 - kpiebook65022
P. 84
เพื่อผลักดันให้เกิดการฟื้นฟูจริง จึงไม่มีกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการฟื้นฟูที่ชัดเจน ไม่มีกองทุนที่ความชัดเจน หากไม่มี
กรณีคลิตี้ที่มีการฟ้องร้องชนะคดีหน่วยงานรัฐ การฟื้นฟูอาจจะไม่บรรลุผลได้ นอกจากนี้ ยังต้องพิจารณากรณี
บริษัทที่ถูกฟ้องร้องล้มละลายไม่มีตัวตนในทางนิติบุคคล การฟื้นฟูกรณีนี้จะท าอย่างไร ซึ่งการฟ้องร้องเพื่อให้มี
การเยียวยาฟื้นฟูในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมาย ส าหรับมาตรการเป็นไปตามกลไกของศาล ทั้งที่การฟื้นฟู
เยียวยาในปัจจุบันยังขาดการมีส่วนร่วมและขาดการติดตามความโปร่งใสในการด าเนินการ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 11
[สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564) สอดคล้องกับผู้ให้สัมภาษณ์อีกท่านว่า กลไกในการติดตามความโปร่งใส
ในการเยียวยายังเป็นปัญหาอยู่ ประเทศไทยไม่มีกฎหมายหรือมาตรการในเรื่องนี้ ทุกอย่างเป็นไปภายใต้กลไก
ค าบังคับของศาล ซึ่งไม่มีกลไกที่มีความชัดเจนเพียงพอ ขณะที่การแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนมลพิษจะมีลักษณะ
เป็นวงกว้างและใช้งบประมาณสูง ต้องใช้ความรู้ทางเทคนิคในการสนับสนุนการตัดสินใจ และต้องอาศัยการมี
ส่วนร่วมของชุมชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง (ผู้ทรงคุณวุฒิ 1 [สัมภาษณ์], 25 กุมภาพันธ์ 2564)
อย่างไรก็ดี มีข้อค้นพบเพิ่มเติมจากการสนทนากลุ่ม พบว่า กฎหมายหลายมาตราถูกละเลยและ
ไม่น ามาบังคับใช้ ซึ่งส่งผลต่อการขับเคลื่อนและความสมบูรณ์ของทรัพยากร เช่น กฎหมายประมงหลายมาตรา
ที่เขียนเรื่องของการส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมไม่ได้มีการน ามาใช้ หรือมาตรา 57 ของกฎหมายประมง
เรื่องของการจับสัตว์น้ าขึ้นเรือไม่ได้ถูกน าเอามาบังคับใช้ ท าให้กระบวนการจับปลาวัยอ่อนแต่เป็นสัตว์น้ า
เศรษฐกิจยังด าเนินการต่อไม่สิ้นสุด (ภาคใต้ [สนทนากลุ่ม], 29 มิถุนายน 2564)
ในท านองเดียวกัน กฎหมายที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันยังมีความล้าสมัยหรือปฏิบัติจริงได้ยาก
กฎหมายที่เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามไม่ทันกับสถานการณ์ในปัจจุบัน (ภาคเหนือ
[สนทนากลุ่ม], 2 สิงหาคม 2564) ยกตัวอย่างเช่น กฎหมายเกี่ยวกับป่าไม้ที่มีมานานมากหลายเรื่องค่อนข้างเก่า
เช่น ค่าค าขอต่าง ๆ 50 สตางค์หรือ 1 หรือกฎหมายว่าด้วยป่าสงวนที่มีฉบับแก้ไข 7-8 ฉบับ แต่เป็นการ
ปรับปรุงเล็กน้อยทั้งที่ควรยกเลิกแล้วเปลี่ยนใหม่ทั้งฉบับดังเช่น พ.ร.บ.อุทยานฯ พ.ศ. 2504 ที่ถูกยกเลิกไปแล้ว
ออกใหม่เป็น พ.ศ.2562 (ผู้ทรงคุณวุฒิ 15 [สัมภาษณ์], 16 เมษายน 2564) สอดคล้องกับผู้ให้สัมภาษณ์ท่านอื่น
กล่าวว่า กฎหมายเก่า อย่างเช่น พ.ร.บ.โรงงาน พ.ร.บ.สาธารณสุข พ.ร.บ.ภัยพิบัติ ฯลฯ ซึ่งมีบทลงโทษที่ไม่
รุนแรงกับผู้ปลดปล่อยมลพิษ เช่น โรงงานก่อให้เกิดความเสียหายปล่อยมลพิษออกมารับสูงสุดไม่เกินสองแสนบาท
ที่เหลือเป็นการเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่ง ปัจจุบันกฎหมายอาญาเป็นกฎหมายที่มีช่องว่าง และมีความ
อ่อนแอส าหรับผู้ที่กระท าผิดเกี่ยวกับด้านสิ่งแวดล้อม เนื่องจาก แทบจะไปบังคับใช้กับเขาไม่ได้เลย
(ผู้ทรงคุณวุฒิ 16 [สัมภาษณ์], 7 พฤษภาคม 2564; ผู้ทรงคุณวุฒิ 17 [สัมภาษณ์], 8 เมษายน 2564) หากจะมี
การแก้ไขหรือออกกฎหมายใหม่ให้มีความทันสมัย ก็ต้องใช้เวลาตามกระบวนการ และต้องพิจารณาแก้ไข
ในกฎหมายอื่นอีกหลายฉบับที่เกี่ยวข้องด้วย (ผู้ทรงคุณวุฒิ 16 [สัมภาษณ์], 7 พฤษภาคม 2564)
ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า กฎหมายหรือระเบียบที่ออกมากับการปฏิบัติจริงยังเป็นไปได้ยาก
ยกตัวอย่าง มติคณะรัฐมนตรีเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.2541 เรื่องการเข้าไปบริหารจัดการชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ป่า
ให้เจ้าหน้าที่ด าเนินการส ารวจชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ทั้งหมด แล้วน าข้อมูลเหล่านี้มาให้คณะรัฐมนตรี
ตัดสินใจว่าจะด าเนินการอย่างไรต่อไป แต่ในการปฏิบัติจริงขณะนั้น การส ารวจขาดเจ้าหน้าที่และความพร้อม
ด้านเครื่องมือหรืออุปกรณ์ จึงได้เริ่มอย่างจริงจังในปี พ.ศ.2545 ที่เริ่มมีการใช้ GPS การใช้ภาพถ่ายดาวเทียม
(ผู้ทรงคุณวุฒิ 12 [สัมภาษณ์], 5 พฤษภาคม 2564; ผู้ทรงคุณวุฒิ 15 [สัมภาษณ์], 16 เมษายน 2564) และมติ
ดังกล่าวไม่ตอบสนองกับความเป็นจริงในพื้นที่ เพราะชุมชนยังมีรูปแบบการใช้ที่ดินที่ไม่เหมือนกัน เช่น
ชาวกะเหรี่ยงมีการท าไร่หมุนเวียน หากยึดแนวทางตามมติที่ว่าจะต้องเป็นที่ดินที่มีการท ากินอย่างต่อเนื่องแล้ว
ไปส ารวจ หากไร่หมุนเวียนมีการพักแปลง พื้นที่เหล่านั้นจะไม่อยู่ในการส ารวจทันที แต่หากเป็นพื้นที่นาที่มีการ
71