Page 80 - kpiebook65022
P. 80

กรณีการท าไร่เลื่อนลอย ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า ยังมีองค์ความรู้หรือเสนอชุดข้อมูลที่ขัดแย้งกัน
               ข้อมูลชุดหนึ่งบอกถึงข้อเสียว่าการท าไร่เลื่อนลอยจะใช้เครื่องมือเพียงมีดกับขวานในการถางและตัดต้นไม้แล้วก็

               ใช้ไฟเผา โดยไม่สามารถน าปุ๋ยไปใส่หรือใช้เครื่องจักรอื่นเข้าไปได้ เพราะไร่เลื่อนลอยท าในพื้นที่สูงชัน ท าให้เกิด
               ของการชะล้างหน้าดิน สูญเสียน้ า และสูญเสียธาตุอาหารในดิน อีกทั้งในเชิงผลผลิตจะได้ผลผลิตน้อย เพราะ
               อาศัยน้ าฝนเพียงอย่างเดียว ขณะที่ข้อมูลอีกชุดหนึ่งแสดงให้เห็นว่า การท าไร่เลื่อนลอยนั้นดี เพราะเป็นการวัด
               ข้อดีในเรื่องของความพึงพอใจ หรือวัฒนธรรม ซึ่งแตกต่างกันกับการวัดผลเชิงกายภาค ท าให้เกิดการถกเถียงกัน

               เพราะวัดผลในมิติที่แตกต่างกัน (ผู้ทรงคุณวุฒิ 17 [สัมภาษณ์], 8 เมษายน 2564)

                            การใช้องค์ความรู้ที่แตกต่างกันนี้ ถือเป็นการใช้ความรู้เพื่อเป็นอ านาจในการจัดสรรทรัพยากร
               เช่นกัน เพราะต่างมุ่งใช้ข้อมูลของตนในการอธิบาย ดังผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า ถ้ากลุ่มต่อต้านจะมีข้อมูลของ
               ตัวเองส่วนหนึ่ง แต่ถ้าเป็นกลุ่มสนับสนุนก็จะมีข้อมูลของตัวเองอีกส่วนหนึ่ง ท าให้การพูดคุยเพื่อหาทางออก
               เรื่องสิ่งแวดล้อมไม่อาจด าเนินต่อไปได้ ทั้งที่ความจริงแล้วข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมเป็นข้อมูลที่เป็นวิทยาศาสตร์

               ซึ่งสามารถตรวจสอบและตรวจวัดได้ หากมีแนวทางจัดการข้อมูลร่วมกันจะจัดการอุปสรรคนี้ได้ ดังเช่นจาก
               การศึกษาดูงานในอเมริกา พบว่า ประชาชนไม่มีปัญหาในเรื่องข้อมูลและการตรวจสอบ เนื่องจาก เชื่อข้อมูล
               ของภาครัฐ และประชาชนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ข้อมูลตั้งแต่ต้น (ผู้ทรงคุณวุฒิ 12 [สัมภาษณ์],

               5 พฤษภาคม 2564)
                            ขณะเดียวกัน ผู้ให้สัมภาษณ์อีกท่านมีความเห็นที่แตกต่างในเรื่องของชุดข้อมูลที่ไม่จ าเป็นต้องมี

               องค์ความรู้ชุดเดียว โดยกล่าวว่า โลกเรามีความรู้หลายชุดที่ไม่ใช่เพียงวิทยาศาสตร์อย่างเดียวเท่านั้น การเชื่อ
               ว่ามีข้อมูลชุดเดียวท าให้เกิดปัญหาขัดแย้ง เช่น การตัดสินใจจะสร้างโรงไฟฟ้าที่จังหวัดกระบี่ มีการใช้ความรู้
               ทางวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่เรื่องพลังงานไปจนถึงเรื่องของผลกระทบ แล้วไปจัดท ารับฟังความคิดเห็นกับชาวบ้าน

               ชาวบ้านก็ไม่มีทางสู้ได้ เพราะเป็นการรับฟังความคิดเห็น หรือประชาพิจารณ์บนคนละชุดความรู้ เห็นได้ว่า
               นโยบายหรือโครงการของรัฐ จะอ้างความรู้แบบวิทยาศาสตร์ และท าให้ความรู้แบบพื้นบ้านไม่มีความหมาย
               ดังนั้น เมื่อมีการท าประชาพิจารณ์ก็มักเห็นความขัดแย้ง และเกิดการประท้วงตามมา (ผู้ทรงคุณวุฒิ 11
               [สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564)

                            ในส่วนของการสร้างพื้นที่กลางร่วมกัน พบว่า ประเทศไทยยังขาดการสร้างพื้นที่ตรงกลางที่มี

               กติกาเป็นธรรมร่วมกัน ท าให้ไม่เข้าใจความต้องการที่แตกต่าง และน าไปสู่ความขัดแย้งในที่สุด ถือเป็นปัญหาที่
               มีความเกี่ยวข้องกันกับปัญหาเรื่องระบบข้อมูล และองค์ความรู้ที่กล่าวไปก่อนหน้านี้ ดังผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า
               การเมืองสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ขาดพื้นที่ปฏิสัมพันธ์ในเชิงการเข้าไปมีส่วนร่วมพัฒนา และบริหารจัดการ
               สิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน โดยส่วนใหญ่เชิญนักวิชาการเข้าร่วม ขณะที่ภาคประชาชน หรือองค์กรพัฒนาเอกชนจะได้

               เข้าร่วมเพียงบางกลุ่ม ท าให้องค์กรพัฒนาเอกชนที่ท างานด้านสิ่งแวดล้อมอ่อนแอลง เพราะไม่มีเวทีกลาง
               ซึ่งต่างจากสมัยก่อนมีพื้นที่กลางในการพูดคุยที่ภาครัฐส่งเสริม (ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564)

                            การขาดพื้นที่กลางร่วมกันท าให้เกิดความขัดแย้งตามมา ยกตัวอย่างเช่น ความต่างอย่างเห็นได้ชัด
               ระหว่างกลุ่มคนรุ่นต่าง ๆ ที่มองประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน กรณีฝุ่น PM 2.5  ที่มีการถกเถียงกันมาก
               ในเรื่องของการเผาป่า ที่กลุ่มคนเมืองอย่างในเมืองเชียงใหม่หรือวัยรุ่นในกรุงเทพฯ มองว่าต้นเหตุคือชาวบ้าน

               ยากจนที่เข้าไปรุกป่า ซึ่งเกิดจากขาดพื้นที่ในการสร้างความเข้าใจระหว่างชุมชน ภาครัฐ และกลุ่มคนที่เป็น
               ผู้บริโภคในเมือง (ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 [สัมภาษณ์], 10 กุมภาพันธ์ 2564) หรือกรณีการเกษตรอินทรีย์ และแบบใช้
               สารเคมี ยังขาดการด าเนินงานอย่างจริงจังควรมีการสร้างพื้นที่ หรือกลไกท าให้สองกระแสนี้ไปคู่กันได้ เพราะ





                                                            67
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85