Page 75 - kpiebook65022
P. 75
4.2.3 ทรัพยากรธรรมชาติ
ประเด็นทรัพยากรธรรมชาติ พบว่า มีความส าเร็จในเรื่องของทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรน้ า ทรัพยากร
ทางทะเลและชายฝั่ง โดยมีการเคลื่อนไหวทั้งในเชิงความร่วมมือและการคัดค้านในการจัดการทรัพยากร เช่น
การมีส่วนร่วมบริหารจัดการป่าไม้ จังหวัดเชียงราย โครงการจอมป่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร
การท าข้อตกลงอ่าวตราด อ่าวทองค า การคัดค้านโครงการเขื่อนขนาดใหญ่อย่างการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น
การต่อสู้กรณีท่าเรือน้ าลึก จังหวัดสตูล เป็นต้น ส าหรับกรณีทรัพยากรป่าไม้ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่เห็นความ
ร่วมมือระหว่างภาครัฐและประชาชนเพื่อให้เกิดแนวทางแบบมีส่วนร่วมคนอยู่กับป่า ยกตัวอย่างเช่น ผู้ให้
สัมภาษณ์กล่าวว่า มีความส าเร็จจากที่ได้ด าเนินการแลกเปลี่ยนการจัดการป่าไม้ร่วมกันโดยใช้ GIS กรณีของป่าไม้
ที่ดินที่ภาคเหนือ มีการรวบรวมข้อมูลพื้นที่ป่า และรายละเอียดแปลงที่ดินของชุมชน ที่ให้เห็นถึงที่ดินที่
ชาวบ้านเคยใช้ โดยประสานอ าเภอ ก านัน ผู้ใหญ่บ้าน ท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่ป่าไม้ เพื่อรับรู้การเก็บข้อมูล
หลังจากมีข้อมูลครบถ้วนจึงเป็นการปรึกษาหารือกันระหว่างภาครัฐและชุมชน ถึงประเด็นปัญหา กฎหมาย
และวิธีการบริหารการจัดการ โดยด าเนินการอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งเป็นการเห็นชอบด้วยกัน แล้วน าไปสู่การ
ลงนามในเวทีสาธารณะ เป็นการน าชุมชนมารับรู้ขอบเขตการพัฒนาร่วมกันและเกิดศักยภาพในการแก้ไข
ปัญหาร่วมกัน (ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564)
กรณีความส าเร็จของชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์และได้รับรางวัลเรื่องการอยู่ร่วมกับธรรมชาติใน
หลายพื้นที่ เช่นพื้นที่อุทยานฯ ในจังหวัดเชียงราย ที่เป็นหมู่บ้านตัวอย่างในการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ
ทางอ้อมด้วยการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มีการปลูกพืชแบบผสมผสานเลียนแบบธรรมชาติที่ไม่ใช่พืชเชิงเดี่ยว ท าให้
ระบบนิเวศดีขึ้น โครงการศูนย์ภูฟ้า จังหวัดน่าน ที่มีการเปลี่ยนรูปแบบการท าไร่เลื่อนลอยมาเป็นการย้ายป่ามา
ไว้ใกล้บ้าน โดยไม้ป่าที่เคยใช้ประโยชน์หรือเก็บหามาได้ก็น ามาปลูกในพื้นที่ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 17 [สัมภาษณ์],
8 เมษายน 2564)
กรณีโครงการจอมป่าหรือที่เรียกว่า Joint management protected area ที่ด าเนินการในช่วงปี
พ.ศ.2546 เป็นโครงการจัดการพื้นที่คุ้มครองอย่างมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดความชัดเจนของแนวเขตที่ดิน ระหว่าง
พื้นที่ชุมชนกับพื้นที่ป่า เพราะชุมชนเองอ้างว่าที่ผ่านมาบุกรุกหรือท ากินเพราะไม่รู้ว่าขอบเขตของเขาอยู่แค่ไหน
อย่างไร ชุมชนเองเริ่มมีใช้เครื่องจักรเข้าไปในพื้นที่เป็นปัญหาบุกรุกเพิ่มขึ้น ขณะที่เจ้าหน้าที่มองว่ากลุ่มคน
เหล่านี้เป็นศัตรู เพราะยังไม่มีกฎหมายของป่าไม้ฉบับใดที่อนุญาตให้ชุมชนใช้ทรัพยากรในพื้นที่อนุรักษ์เหล่านี้
ได้อย่างถูกต้องในช่วงเวลานั้น ท าให้เกิดความขัดแย้งกันสูงถึงขั้นมีการท าสัญญาณบอกกันในหมู่บ้านเมื่อมี
เจ้าหน้าที่เข้าไปในพื้นที่ การแก้ปัญหานี้ยุติได้โดยการสร้างความชัดเจนเรื่องแนวเขตที่ดิน การสร้างกติกาการ
ใช้พื้นที่อย่างเหมาะสม โดยมีคณะกรรมการในการดูแลพื้นที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่ รวมไปถึงการประกอบอาชีพที่ไม่
กระทบกับพื้นที่ป่า การท าข้อตกลงร่วมในพื้นที่ป่าตะวันตก 129 ชุมชน จนถึงปัจจุบันชุมชนแล้วก็ยังคงรักษา
แนวเส้นที่ตกลงร่วมกันไว้หรือมีการขยายออกนอกเส้นที่ตกลงกันไว้น้อยมาก (ผู้ทรงคุณวุฒิ 13 [สัมภาษณ์],
16 เมษายน 2564) ผู้ให้สัมภาษณ์ท่านหนึ่งยังกล่าวถึงการร่วมมือเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่า กรณีของภาคเหนือที่แม่แจ่ม
ที่มีความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับชุมชน เพื่อยุติการขยายตัวจากการปลูกข้าวโพดเศรษฐกิจ เพื่อที่จะฟื้น
สภาพป่าให้กลับมา (ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564)
นอกจากนี้ ผู้ให้สัมภาษณ์ยังเห็นว่ามีความส าเร็จในเชิงกฎหมายที่เปิดกว้างให้ภาคประชาชนได้มีส่วนร่วม
โดยกล่าวว่า พ.ร.บ.อุทยานฯ ให้มีภาคชุมชนเข้าไปร่วมบริหารจัดการ แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลเปิดกว้างมากขึ้น
(ผู้ทรงคุณวุฒิ 13 [สัมภาษณ์], 16 เมษายน 2564) หรือการผลักดันให้มี พ.ร.บ.ป่าชุมชนซึ่งเป็นระยะเวลา
ยาวนานถึง 30 ปี และในที่สุดได้มีกฎหมายฉบับนี้ออกมา แม้จะถูกปรับเปลี่ยนไปมาก แต่เป็นการรับรองสิทธิ
62