Page 74 - kpiebook65022
P. 74

23
                          24
               ทสม.  อสม.  สภาองค์กรชุมชน เอ็นจีโอ ที่อยู่นอกพื้นที่แต่ท างานในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคตะวันออกมารวมตัว
               กัน รวมถึงนักวิชาการอิสระด้วย ท าให้มีวิสัยทัศน์ที่ค่อนข้างชัดเจนเป็นอนาคตว่าปี พ.ศ.2555 - 2575 คือ 20
               ปีข้างหน้าภาคตะวันออกมี 3 เป้าหมายหลัก ได้แก่ การหยุดการคุกคาม สร้างความมั่นคงด้านอาหาร และ
                                                                    25
               ก าหนดการพัฒนาที่ยั่งยืน ต่อมาในปี พ.ศ.2560 มีโครงการอีอีซี  เกิดขึ้นในพื้นที่ภาคตะวันออกจึงมีโครงการ
               EEC Watch ซึ่งผู้ที่เคยขับเคลื่อนอยู่ในเครือข่ายภาคตะวันออกต้องมาท าหน้าที่ใน EEC Watch มากขึ้น
               จากนั้นการท างานของกว่า 60 เครือข่าย หลวมมากขึ้นและเหลือเพียงไม่กี่เครือข่ายที่เคลื่อนไหวเรื่อง

               สิ่งแวดล้อมต่อ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 [สัมภาษณ์], 29 มกราคม 2564) นอกจากนี้ ยังมีการเรียกร้องคัดค้านโครงการ
               ในมาบตาพุดที่สอดคล้องกับข้อค้นพบในเรื่องวิวัฒนาการการเมืองสิ่งแวดล้อม โดยผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่ากรณี
               คัดค้าน 76 โครงการในมาบตาพุด เป็นเหตุการณ์หนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า การต่อสู้ของประชาชนสามารถน าไปสู่
               การตัดสินใจที่จะระงับการก่อสร้างโครงการได้ แต่มองว่าอาจไม่เรียกเป็นความส าเร็จอย่างสิ้นเชิงนัก เพราะ

               เมื่อเวลาผ่านไปโครงการเหล่านั้นก็จะด าเนินต่อไปในที่สุด (ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564)


                       4.2.2 พลังงาน

                       ประเด็นพลังงาน พบว่า มีการเคลื่อนไหวเพื่อคัดค้านรูปแบบพลังงานที่อาจกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและ
               คุณภาพชีวิต กับการเคลื่อนไหวเพื่อพลังงานทางเลือก ในส่วนของการเคลื่อนไหวคัดค้าน เช่น กรณีการคัดค้าน
               โรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่บ้านหินกรูดบ่อนอก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้ให้สัมภาษณ์ กล่าวว่า เป็นการเคลื่อนไหวที่

               ไม่อยากให้มองว่าประสบความส าเร็จนัก เพราะการเคลื่อนไหวที่จริงจะต้องมีรูปแบบที่หลากหลาย แต่ก็มองว่า
               ชุมชนมีการยืนหยัดเพื่อไม่ให้สิ่งแวดล้อมและพื้นที่ได้รับผลกระทบ จนกระทั่งแกนน าบางคนเสียชีวิต และ
               ท้ายที่สุด รัฐก็ไม่อาจด าเนินโครงการนี้ได้ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 [สัมภาษณ์], 10 กุมภาพันธ์ 2564)

                       ในส่วนการเคลื่อนไหวเพื่อให้เกิดพลังงานทางเลือก เป็นการน าเสนอพลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานสีเขียว
               โดยภาคประชาชนในภาคใต้มีการเคลื่อนไหวในเรื่องนี้มาก ถือเป็นจุดเริ่มต้นของความส าเร็จแต่ยังติดปัญหาใน

               เชิงนโยบายและกฎหมายท าให้ภาคส่วนอื่นที่ไม่ใช่รัฐ ไม่สามารถมีส่วนร่วมได้เต็มที่นัก ดังผู้ให้สัมภาษณ์กล่าว
               ว่า ในปี พ.ศ.2541 ที่มีการถกเถียงเรื่องหินกรูดบ่อนอกเรื่องพลังงานหมุนเวียนว่าประเทศไทยท าได้ศักยภาพไม่
               เกิน 1,000 เมกะวัตต์ แต่กลายเป็นว่าท าได้จริงน่าจะเกิน 5,000 เมกะวัตต์ กลายเป็นว่าเกินกว่าที่คาดคิดมาก

               จนเกือบจะกลายเป็นชีวิตประจ าวันได้ ขาดแต่เพียงข้อกฎหมายที่ท าให้คนทั่วไปสามารถติดตั้งโซล่าเซลล์แล้ว
               เป็นส่วนหนึ่งของเรื่องพลังงานหมุนเวียนได้ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 [สัมภาษณ์], 3 เมษายน 2564) หรือกรณีภาคประชาสังคม
               ในจังหวัดพังงามีการขับเคลื่อนประเด็นพลังงานสีเขียวโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องโซลาร์เซลล์ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 5
               [สัมภาษณ์], 29 มกราคม 2564)















               23  เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน
               24  อาสาสมัครสาธารณสุขประจ าหมู่บ้าน
               25  โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)


                                                            61
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79