Page 69 - kpiebook65022
P. 69
จัดกลุ่มเข้าไปในเรื่องของยุติธรรมชุมชนและความยั่งยืนได้มากกว่าช่วงยุคอื่น โดยผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่าการ
รัฐประหารในปี พ.ศ.2557 รัฐบาล คสช. มีโครงการทวงคืนผืนป่าท าให้ต้องอพยพชาวบ้าน แต่จุดเริ่มต้นมาจาก
แผนแม่บทป่าไม้ปี พ.ศ.2529 สมัยพลเอกชาติชายที่มีการน าทหารเข้ามาจัดการทรัพยากรป่าไม้ (ผู้ทรงคุณวุฒิ
1 [สัมภาษณ์], 25 กุมภาพันธ์ 2564) ส่วนทรัพยากรน้ า ช่วงนี้มีการเคลื่อนไหวเรื่องการสร้างเขื่อนอย่าง
14
ต่อเนื่อง มีกรณีการสร้างเขื่อนไซยะบุรีในประเทศลาวซึ่งคนไทยเป็นเจ้าของเขื่อนเป็นผู้ลงทุน รวมถึงแผนการ
จัดการน้ าแผนแม่บทในการจัดการน้ า 3.5 แสนล้าน ที่มีการจัดเวทีทั่วประเทศ เป็นการจัดการน้ าทั้งระบบทั้ง
การสร้างเขื่อน คลอง แหล่งน้ าอื่น ๆ และการผันน้ า กรณีนี้เป็นเหตุผลหนึ่งที่คุณยิ่งลักษณ์ นายกรัฐมนตรีถูก
โจมตีอย่างหนัก ส่วนประเด็นทรัพยากรแร่ มีการขุดเจาะปิโตรเลียมในภาคอีสานช่วงของรัฐบาล คสช.ปี พ.ศ.
2557 เช่นกัน จนเกิดการประท้วง ประเด็นแร่โปรแตสมีการต่อสู้ในหลายพื้นที่ เช่น อุดรธานี ชัยภูมิ และ
สกลนคร ซึ่งต่อสู้กับทุนจีน หรือกรณีเหมืองทองค าในจังหวัดพิจิตร ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวเพิ่มเติมว่า มลพิษ
สิ่งแวดล้อมมีความรุนแรงในช่วงนี้มากเช่นกัน เช่น กรณีแม่เมาะ จังหวัดล าปาง (ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 [สัมภาษณ์], 6
พฤษภาคม 2564)
ส าหรับประเด็นยุติธรรมสิ่งแวดล้อม พบทิศทางที่ดีขึ้นในบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550
เพราะสิทธิการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของภาคประชาชน เกิดขึ้นได้ทันที
ตามรัฐธรรมนูญ เนื่องจากถ้อยค า “ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ” ถูกตัดออกไป เป็นผลให้ประชาชนสามารถใช้
สิทธิได้ทันที โดยไม่ต้องรอกฎหมายระดับพระราชบัญญัติบังคับใช้ ดังผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า คณะผู้ร่าง
รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2550 ได้แก้ปัญหาการต้องมีกฎหมายระดับรองเพื่อรองรับตรงนี้ด้วย การตัดข้อความที่ว่า
ต้องรอกฎหมายบัญญัติออกไปเพื่อให้สิทธิตามรัฐธรรมนูญของชุมชนสามารถใช้ได้ทันที (ผู้ทรงคุณวุฒิ 7
[สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564; ผู้ทรงคุณวุฒิ 1 [สัมภาษณ์], 25 กุมภาพันธ์ 2564) ดังกรณีค าวินิจฉัยของ
ศาลรัฐธรรมนูญในค าวินิจฉัยที่ 3/2552 ที่ระบุว่าสิทธิตามรัฐธรรมนูญเมื่อบัญญัติแล้วมีผลบังคับท าให้มีการ
15
ตีความเรื่องสิทธิมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น (ผู้ทรงคุณวุฒิ 1 [สัมภาษณ์], 25 กุมภาพันธ์ 2564) สิทธินี้มีการ
น าไปใช้จริงและอ้างอิงในหลายเอกสารดังกรณี โครงการที่มาบตาพุด ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า กรณีฟ้องร้อง
โครงการในมาบตาพุด ใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญมาตรา 61 วรรค 2 ซึ่งเป็นคดีเกี่ยวกับการใช้สิทธิในชุมชนใน
ปกป้องสิทธิในทรัพยากร จนสุดท้ายมีค าสั่งศาลปกครองที่ระงับ 76 โครงการในมาบตาพุด ซึ่งถือว่าเป็นการ
ยกระดับความเข้มแข็งการเมืองภาคประชาชนในเรื่องสิ่งแวดล้อม (ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์
2564; ผู้ทรงคุณวุฒิ 1 [สัมภาษณ์], 25 กุมภาพันธ์ 2564)
อย่างไรก็ดี แม้รัฐธรรมนูญจะเปิดกว้างให้เกิดการเคลื่อนไหวทางสิ่งแวดล้อมเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่
พบว่าเมื่อสถานการณ์การเมืองพลิกผันไปสู่การรัฐประหาร ท าให้การเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมถูกจ ากัดอีกครั้ง
ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า หลังจากรัฐประหาร พ.ศ.2557 สถานการณ์ประเทศไทยน าไปสู่การเพิกเฉยต่อสิทธิของ
14 เริ่มสร้างเขื่อนปี พ.ศ.2553 และเปิดตัวเขื่อน 29 ตุลาคม พ.ศ.2562 (ทีมาเชิงอรรถ จาก https://thestandard.co/xayaburi-dam/)
15 ย่อค าวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 3/2552 กรณีขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่า มาตรา 46 วรรคหนึ่ง พ.ร.บ.ส่งเสริม
และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ขัดหรือแย้งต่อมาตรา 67 วรรคหนึ่งและสอง ของรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2550
หรือไม่ ศาลฯ วินิจฉัยว่า หลักการตาม พ.ร.บ.ดังกล่าว เป็นมาตรการทางกฎหมายใช้บังคับกับส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือ
เอกชนที่มีการด าเนินโครงการหรือกิจการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของรัฐและชุมชนซึ่งสอดคล้อง
กับหลักการที่ปรากฏในมาตรา 67 วรรคสอง รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2550 ที่การด าเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิด
ผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ต้องผ่านการศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพคนในชุมชนนั้น
และผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นเสียก่อน ดังนั้น กรณีนี้จึงไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญฯ (ที่มาเชิงอรรถจาก
https://www.krisdika.go.th/data/comment_concourt/2552/cc_25516.htm)
56