Page 65 - kpiebook65022
P. 65
เนื่องจากในปี พ.ศ.2535 มีกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่ก าหนดให้โครงการขนาดใหญ่ต้องประเมินผลกระทบ
สิ่งแวดล้อมหรือ EIA ในโครงการขนาดใหญ่รวมทั้งเขื่อนด้วย (ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 [สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564)
ยกตัวอย่างเช่น การสร้างเขื่อนปากมูลที่ผู้ให้สัมภาษณ์หลายท่านกล่าวถึงว่า ท าให้กระแสการอนุรักษ์ค่อนข้าง
โดดเด่นและในช่วง พ.ศ.2535 ขึ้นไปชุมชนหรือสังคมไทยเริ่มมีความตระหนักเรื่องการอนุรักษ์มากขึ้น
(ผู้ทรงคุณวุฒิ 13 [สัมภาษณ์], 16 เมษายน 2564) แต่เขื่อนปากมูลที่เป็นแบบปล่อยให้น้ าไหลผ่านไม่สอดคล้อง
กับระบบนิเวศของแม่น้ ามูล (ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 [สัมภาษณ์], 10 กุมภาพันธ์ 2564) ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่า เมื่อมีการสร้าง
เขื่อนแล้วแต่การใช้งานเขื่อนไม่อาจสนองต่อความต้องการที่หลากหลายของคนหลายกลุ่ม ท าให้บางกลุ่มได้รับ
ขณะที่บางกลุ่มเสียประโยชน์ จึงเกิดการเคลื่อนไหวเรียกร้องการเยียวยาและให้มีการจัดการเขื่อนเป็น
ระยะเวลายาวนาน ดังผู้ให้สัมภาษณ์ท่านหนึ่งกล่าวว่า กรณีเขื่อนปากมูลเป็นช่วงที่มีความเคลื่อนไหวชัดเจนใน
ระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 ถึงปี พ.ศ.2545 (ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 [สัมภาษณ์], 3 เมษายน 2564) หรือ
กรณีเขื่อนแก่งเสือเต้นที่จังหวัดแพร่ ซึ่งผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่ารัฐบาลทุกสมัยพยายามผลักดันให้สร้างโครงการนี้
โดยให้เหตุผลเรื่องการป้องกันน้ าท่วมและบรรเทาภัยแล้ง แต่ยังไม่ได้สร้างเพราะชุมชนในพื้นที่แก่งเสือเต้นยัง
คัดค้านด้วยกลัวว่าการสร้างเขื่อนจะไปท าลายป่าสักทองผืนสุดท้ายของเขา (ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 [สัมภาษณ์], 10
กุมภาพันธ์ 2564) หรือกรณี อีสเทิร์น ซีบอร์ด ที่ขยายตัวเต็มที่ในช่วงระหว่างปี พ.ศ.2539-2540 ท าให้เกิดการ
ขาดแคลนน้ า ทั้งในเชิงปริมาณและในเชิงคุณภาพของน้ าด้วย (ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 [สัมภาษณ์], 29 มกราคม 2564)
นอกจากนี้ มีผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวถึงประเด็นส าคัญด้านการเกษตร ระบบนิเวศ ความยั่งยืน และโลกร้อน
ยกตัวอย่าง ด้านการเกษตร พบการขยายตัวของภาคการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชเศรษฐกิจ ข้าวโพด
รวมถึงยางพารา ท าให้เกิดการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้จากนายทุนขนาดใหญ่ ภาคประชาชนได้รับผลกระทบด้านที่อยู่
อาศัยและพื้นที่ท ากิน (ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564) ด้านระบบนิเวศ เช่น การสร้างกระเช้า
ลอยฟ้าขึ้นดอยสุเทพ กระเช้าลอยฟ้าขึ้นภูกระดึง ซึ่งนักศึกษาประชาชนคัดค้านจึงท าให้ยังสร้างไม่ได้
(ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 [สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564) การลงทุนที่กระทบต่อทรัพยากรในพื้นที่ภาคตะวันออก
ในจังหวัดระยอง และ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564) ด้านความยั่งยืน เช่น การรณรงค์ใน
สังคมเมืองขององค์กรตาวิเศษเอง หรือการเกิดสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ถือเป็นองค์กรที่มีบทบาทส าคัญในการ
สร้างจิตส านึกให้คนในสังคมไทยรับรู้ เข้าใจสถานการณ์ และปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยมากขึ้น
(ผู้ทรงคุณวุฒิ 13 [สัมภาษณ์], 16 เมษายน 2564) หรือด้านภัยพิบัติและโลกร้อน ช่วงนี้เริ่มมีค าว่า “Climate
Change” เพราะพื้นที่มีการเปลี่ยนแปลงเยอะ ฤดูน้ าหลากกับฤดูแล้งเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงขยับเดือนออกไป
ฤดูแล้งเริ่มมีระยะเวลาที่ยาวนานขึ้นส่วนฤดูฝนเริ่มลดน้อยลง (ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 [สัมภาษณ์], 29 มกราคม 2564)
เป็นต้น
ผู้วิจัยขอสรุปการเมืองสิ่งแวดล้อมในช่วงนี้ว่าเป็นความพยายามมากขึ้นของภาคประชาชน เพื่อให้
ได้รับความเท่าเทียมในการรับผลประโยชน์และผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม นโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐในช่วง
ก่อนหน้านี้ได้ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมของประชาชนมากขึ้น โดยผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า ก่อน
ปี พ.ศ.2535 ประเด็นเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นย่อยตามแต่ละกรณีไป และไม่ได้มีการเคลื่อนไหว
ที่เป็นกระบวนการมากนัก (ผู้ทรงคุณวุฒิ 10 [สัมภาษณ์], 3 เมษายน 2564) ในปี พ.ศ.2535 ภาคประชาชนมี
การรวมตัวกันได้ดีพอสมควรและด าเนินงานอย่างต่อเนื่อง ชุมชนมีการรวมกลุ่มกันเพื่อเรียกร้องเกี่ยวกับ
ทรัพยากร องค์กรพัฒนาเอกชน ภาคประชาสังคม หรือกลุ่มประชาชนในช่วงนี้เยอะมากขึ้นด้วย เช่น สมัชชา
คนจน (ผู้ทรงคุณวุฒิ 13 [สัมภาษณ์], 16 เมษายน 2564)
52