Page 60 - kpiebook65022
P. 60
ให้สังคมไทยมีการตื่นตัวทางสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวาง เป็นปรากฏการณ์ส านึกสีเขียวอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
เห็นได้จากสื่อมวลชนที่มีนักข่าวสายสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้น ผู้สื่อข่าวในยุคนี้ที่มีชื่อเสียง คือ คุณนิรมล เมธีสุวกุล
ขณะเดียวกันภาครัฐก็มีเครื่องมือในการควบคุมเพื่อต้องสู้กับสื่อมวลชนที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว เครื่องมือ
ส าคัญของรัฐขณะนั้น มีรายการสยามมานุสติ และรายการเพื่อแผ่นดินไทย ที่กล่าวหากลุ่มนักศึกษาทั้งช่วงเช้า
และเย็น โดยกล่าวหาว่ากลุ่มนักศึกษารับเงินจากต่างชาติและเป็นกลุ่มคอมมิวนิสต์ อย่างไรก็ดี การเคลื่อนไหว
ของภาคประชาชนท าให้ต้องมีการชะลอโครงการเขื่อนน้ าโจนออกไปในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2531
(ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 [สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564) นอกจากนี้ ผู้ให้สัมภาษณ์ท่านหนึ่งยังเพิ่มเติมว่าการ
คัดค้านการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ คุณสืบ นาคะเสถียร มีบทบาทส าคัญเช่นกัน โดยเฉพาะเรื่องของการสร้างเขื่อน
ขนาดใหญ่อย่างเขื่อนเชี่ยวหลานที่สุราษฎร์ธานี ที่ต้องมีการอพยพสัตว์ป่าออกมา และเมื่อคุณสืบเสียชีวิตยิ่งท า
ให้กระแสการคัดค้านขยายวงกว้างมากขึ้น (ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 [สัมภาษณ์], 10 กุมภาพันธ์ 2564)
อย่างไรก็ดี นโยบายรัฐแบบ “New Industrial Country” สมัยนายกรัฐมนตรี พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
(4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 - 9 ธันวาคม พ.ศ. 2533) ท าให้โครงการสร้างเขื่อนเกิดขึ้นมากยุคนี้ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 5
[สัมภาษณ์], 29 มกราคม 2564) ซึ่งคณะผู้วิจัยเห็นว่าส่งผลต่อเนื่องไปสู่การสร้างเขื่อนและการคัดค้านของ
ประชาชนในโครงการสร้างเขื่อนในยุคต่อไป
ตัวอย่างกรณีทรัพยากรแร่ เกิดการเคลื่อนไหวในระดับพื้นที่ ดังผู้ให้สัมภาษณ์ท่านหนึ่งกล่าวว่า
โรงงานแทนทาลัม (Tantalum) ที่จังหวัดภูเก็ต เนื่องจาก ทะเลฝั่งอันดามันของไทยมีแร่ดีบุกมาก แร่ดีบุกเมื่อมี
การถลุงแร่ออกไปแล้วในตะกรันของดีบุกมีแร่ที่มีค่ามหาศาลมาก เรียกว่า แทนทาไลต์ (Tantalite) ซึ่งสามารถ
น ามาท ากรอบแว่นตาให้มันมีน้ าหนักเบาและแข็งแรง หรือท าหัวจรวดปีกเครื่องบิน ซึ่งการจัดตั้งโรงงาน
แทนทาลัมของบริษัทเอกชนท าให้คนภูเก็ตต่อต้านและประท้วงในปี พ.ศ.2529 การเคลื่อนไหวกรณีแทนทาลัม
เป็นการประชุมใหญ่ที่สุดในประเด็นสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ต่างจังหวัด โดยมีกลุ่มนักศึกษาเข้าไปร่วมสนับสนุนคน
ภูเก็ตในการเคลื่อนไหวให้เป็นขบวนมากขึ้น แต่การเคลื่อนไหวนี้ท้ายที่สุดได้ถูกนักการเมืองพรรคชาติไทยเข้าไป
ช่วงชิงมวลชน (ต่อมานักการเมืองคนนั้นก็ได้รับเลือกเป็น ส.ส.จังหวัดภูเก็ต) มีคนจ านวนหลักแสนออกมา
คัดค้านการตั้งโรงงาน แล้วจบลงด้วยการจลาจลในวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2529 และมีการเผาโรงงาน
(ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 [สัมภาษณ์], 10 กุมภาพันธ์ 2564; ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 [สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564)
ผู้ให้สัมภาษณ์ท่านหนึ่งเห็นว่า กรณีนี้เป็นจุดสูงสุดของความพลิกผันที่มากจนกระทั่งเกิดความขัดแย้ง ซึ่งกลุ่ม
เคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมต้องกลับมาทบทวน เพราะไม่มีใครรู้ว่าการเผาโรงงานเกิดขึ้นได้อย่างไร ด้วยสภาพ
เหตุการณ์ที่วุ่นวายและการประท้วงอย่างกว้างขวางในภูเก็ต ต้องทบทวนว่ากระบวนการการเคลื่อนไหวทาง
สิ่งแวดล้อมต้องมีทิศทางอย่างไรบ้าง (ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 [สัมภาษณ์], 10 กุมภาพันธ์ 2564) กรณีทรัพยากรแร่อื่น ๆ
เช่น การท าเหมืองหินอ่อนที่ทองแสงขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 [สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564)
หรือกรณีความขัดแย้งเกี่ยวกับทรัพยากรเกลือในอีสานที่ชัดเจนเพราะมีการขุดน้ าใต้ดินที่เป็นน้ าเค็มมาต้มเกลือ
จนเกิดความขัดแย้งระหว่างนายทุนท าเกลือกับชาวนาที่ปลูกข้าว เกิดการปะทะกันและมีการจับกุมนักศึกษา
มหาสารคามด้วย (ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 [สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564)
นอกจากนี้ ผู้ให้สัมภาษณ์บางท่านกล่าวว่าช่วงนี้มีประเด็นส าคัญเรื่องทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่
นายทุนมีการบุกรุกป่าชายเลนเพื่อจัดท านากุ้ง เช่น บ้านท่าหาดจังหวัดตราด (ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 [สัมภาษณ์], 6
พฤษภาคม 2564) ขณะที่ชาวบ้านที่อยู่ในชนบทและยังมีวิถีชีวิตพึ่งพิงกับฐานทรัพยากรธรรมชาติกลับไม่มีเอก
สิทธิ์ที่ชัดเจน ท าให้โอกาสที่จะใช้ทรัพยากรทางทะเลเป็นแบบพออยู่ได้ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 [สัมภาษณ์], 8
กุมภาพันธ์ 2564)
47