Page 56 - kpiebook65022
P. 56

ในขณะนั้น ใช้ไทยเป็นฐานก าลังต่อสู้กับฝ่ายต่อต้านในประเทศพม่า ลาว และกัมพูชา กล่าวคือ ฐานทัพอเมริกา
               น ามาซึ่งการสร้างเขื่อนในอีสานและไปทิ้งระเบิดในประเทศเพื่อนบ้านอย่างเวียดนาม การต่อสู้ของชาวบ้าน

               ท าให้มีการปิดล้อมหมู่บ้าน ชาวนาที่เป็นแกนน าถูกลอบสังหารอย่างทารุณ มีการน าลูกเสือชาวบ้านไปปะทะ
               กับนักศึกษาที่ออกมาคัดค้านเรื่องเขื่อน

                       ตัวอย่างกรณีเขื่อนผามอง ที่สหรัฐอเมริกาได้วางแผนไว้ให้เป็นเขื่อนขนาดใหญ่ที่สุดของสหรัฐอเมริกา
               ในยุคนี้ โดยมีทุนของอเมริกาสนับสนุนการส ารวจ มีแผนจะสร้างเขื่อนผามองที่อ าเภอเชียงคานและอ าเภอปากชม
               จังหวัดเลย แต่เขื่อนนี้ก็ถูกต่อต้านอย่างหนักเช่นกันโดยนักศึกษา และยังมีกลุ่มปัญญาชนเข้าร่วมด้วย โดยได้

               จัดท าหนังเรื่อง “ทองปาน” ที่คุณค าสิงห์ ศรีนอก เป็นผู้แต่ง และมีนักแสดงหลายท่าน เช่น คุณสุลักษณ์ ศิวรักษ์
               คุณหงา คาราวาน ถ่ายท าที่จังหวัดนครราชสีมา เกี่ยวกับชีวิตของคนอีสานที่ได้รับผลกระทบจากการสร้าง
               เขื่อน แต่ฟิล์มยังไม่ทันได้ล้างก็เกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ.2519 ขึ้นก่อน จากนั้นฟิล์มนี้ถูกน าไปล้างแล้วตัด
               ต่อที่ประเทศสิงคโปร์แต่เป็นหนังต้องห้าม จนกระทั่งเกือบ 10 ปี อาจารย์ชาญวิทย์ได้ไปน าหนังเรื่องนี้มา

               เผยแพร่ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 [สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564)

                       ประเด็นเกษตรกรรมและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ า พบว่า นโยบายการพัฒนาของรัฐได้ท าให้เกิดช่วงชิง
               ทรัพยากรระหว่างประชาชนด้วยกันเอง จนเกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ยกตัวอย่าง ในช่วง พ.ศ. 2510 -
               2514 รัฐบาลมีนโยบายพืชเชิงเดี่ยว คือ เน้นเรื่องพืช อาหารสัตว์ และปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่น ข้าวโพด
               มันส าปะหลัง อ้อย และยางพาราด้วย ภาคตะวันออกจะเน้นพวกพืชเชิงเดี่ยวอย่างข้าวโพด การเกษตรแบบพืช

               เชิงเดี่ยวท าให้เกิดการรุกป่าและมีการจับจองที่ดิน (ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 [สัมภาษณ์], 29 มกราคม 2564) หลังจาก
               เหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ขบวนการต่อสู้ของกลุ่มชาวนา กลุ่มรากหญ้า และนักศึกษาถูกปราบปรามจน
               นักศึกษาจ านวนมากต้องหนีเข้าป่าและเข้าร่วมกับการต่อสู้ของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

               (ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 [สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564) มีแผนการปราบปรามคอมมิวนิสต์ยิ่งท าให้เสียพื้นที่ป่าเพิ่ม
               เข้าไปอีก ในช่วงนั้น มีแผนปฏิรูปที่ดินในปี พ.ศ.2520 อีกด้วย ท าให้มีการปฏิรูปที่ดินในจังหวัดปราจีนบุรี
               ฉะเชิงเทรา รวมถึงสระแก้วในปัจจุบันด้วย รวมประมาณมากกว่า 300,000 ไร่ ซึ่งท าให้เกิดความขัดแย้งเรื่อง
               ที่ดินในพื้นที่ การเปิดพื้นที่เกษตรยังส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานโดยคนอีสานก็อพยพเข้ามาเป็นแรงงาน
                                                                                   6
               ในภาคตะวันออกเยอะมาก ต่อมาเรื่องราวของผู้ใหญ่วิบูลย์ เข็มเฉลิม ได้เกิดขึ้น  ท าให้เกิดการเปลี่ยนจาก
               การเกษตรแบบพืชเชิงเดี่ยว (ที่ท าให้เกษตรกรขาดทุน ล้มละลายเป็นจ านวนมาก) กลายเป็นวนเกษตรใน
               ปัจจุบัน (ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 [สัมภาษณ์], 29 มกราคม 2564)

                       หรือการเกษตรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ าที่ในช่วงปี พ.ศ.2522 - 2524 ได้มีกลุ่มนักการเมืองหน้าใหม่ ๆ เข้ามา
               ยึดครองพื้นที่ในแถบตั้งแต่ภูเขียวไปจนถึงทุ่งกระมังของจังหวัดชัยภูมิ กินเข้ามาถึงพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี และ

               จังหวัดสระแก้ว (เดิมคือจังหวัดปราจีนบุรี) มีการใช้ประโยชน์น ามาปลูกพืชพลังงาน มีการถางป่ากระจายไปถึง
               พื้นที่ราบเชิงเขา สวนกิตติก็ถูกท าให้เกิดมาในช่วงนี้ แล้วเกิดโครงการที่เรียกว่า การพัฒนาที่ราบเชิงเขาซึ่งเป็น
               โครงการของรัฐที่มีเอกชนหนุนหลังมาพัฒนาแทนผืนป่าตะวันออก ช่วงนั้นเองได้เกิดการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ าตาม
               ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก การเพาะเลี้ยงกุ้งจากการส่งเสริมของภาครัฐ เป็นผลให้เกิดสภาพสิ่งแวดล้อม

               เสียหายที่เรียกว่า ลิ่มน้ าเค็มรุกตัวไม่สามารถฟื้นฟูคุณภาพน้ าได้ หรือบางที่ต้องปิดประตูน้ าถาวร จนถึงทุกวันนี้




               6  ผู้ใหญ่วิบูลย์เคยเป็นผู้น ากลุ่มเกษตรกรเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง เพื่อประท้วงเกี่ยวกับราคาพืชผลการเกษตรในช่วงปี
               พ.ศ.2518-2522 และเริ่มท าวนเกษตรจริงจังประมาณ พ.ศ. 2530 ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์
               https://www.moac.go.th/philosopher-philosopher-preview-382991791805.


                                                            43
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61