Page 54 - kpiebook65022
P. 54
สิ่งแวดล้อมที่ท าให้แม่น้ าแม่กลองเน่าเสียเป็นระยะทางยาว 100 กิโลเมตร สร้างความเดือดร้อนให้กับ
ประชาชน เกิดการสูญเสียทรัพยากรสัตว์น้ าในบริเวณแม่น้ า ดอนหอยหลอด และฟาร์มหอย ได้รับความ
เสียหาย เหตุการณ์นี้ท าให้เกิดการก่อตั้งชมรมอนุรักษ์ขึ้นในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เรื่องแม่น้ าแม่กลองเน่าเสีย
ท าให้เกิดการตื่นตัวนักศึกษาในยุคนั้น โดยก่อนหน้านี้ ไม่มีชมรมอนุรักษ์เลยซึ่งเกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยมากนัก
จากกรณีนี้ท าให้เกิดชมรมอนุรักษ์ในหลายมหาวิทยาลัยมาก บางชมรมเกิดขึ้นในยุคหลังแต่มหาวิทยาลัยเก่าแก่
ส่วนใหญ่ชมรมอนุรักษ์เกิดขึ้นในยุคนี้ ยังมีการรณรงค์ของนักศึกษาเรื่องอากาศเสีย การคัดค้านการตั้งโรงงาน
ปิโตรเคมี ฯลฯ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 [สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564)
ประเด็นทรัพยากรธรรมชาติ พบว่า มีการเคลื่อนไหวของประชาชนต่อการด าเนินงานที่เรียกได้ว่าไม่
เป็นธรรมและไม่เปิดเผยสู่สาธารณะของภาครัฐในหลายกรณีทั้งป่าไม้ สัตว์ป่า ทรัพยากรแร่ ทรัพยากรน้ า
ประเด็นเรื่องป่าไม้มีการเคลื่อนไหวอยู่หลายกรณี ยกตัวอย่าง การต่อต้านการสร้างสถานีเรดาร์ที่ดอยอินทนนท์
แล้วช่วงปลายปี พ.ศ.2516 ที่เกิดขึ้นหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516 ชมรมนักศึกษาในมหาวิทยาลัย
ต่าง ๆ มีการทราบข้อมูลว่ากองทัพอากาศไทย ขอใช้พื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์สร้างสถานีเรดาร์เพื่อ
เป็นสถานีที่ใช้ส าหรับอเมริกาในการสอดส่องประเทศจีนและประเทศในแถบอินโดจีน ท ามีการเคลื่อนไหว
รวมตัวกันถึง 37 สถาบัน มีการชุมนุมคัดค้านการก่อสร้างสถานีเรดาร์ แต่ไม่ประสบความส าเร็จเพราะ
คณะรัฐมนตรีก็อนุมัติให้สร้างสถานีเรดาร์ที่ดอยอินทนนท์ในที่สุด หรือกรณีป่าไม้กับการใช้ที่ดิน ที่ยังคงเป็น
ปัญหามาถึงปัจจุบันนี้ เกิดขึ้นมาตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2510 โดยกรมป่าไม้ในขณะนั้นมีแนวคิดอพยพชาวบ้าน
ออกจากป่าเพราะเห็นว่าชาวบ้านเป็นสาเหตุของการท าลายป่า ในช่วงแรกนิสิตนักศึกษาก็เห็นด้วยกับแนวคิดนี้
แต่ภายหลังมีการวิเคราะห์และพบว่าสาเหตุของการท าลายป่าที่แท้จริงไม่ได้เกิดจากชาวบ้าน เพราะชาวบ้าน
ต้องการเพียงที่ดินท ากินเล็กน้อย แม้มีการท าลายก็ไม่ได้เป็นพื้นที่มากมาย แต่การท าลายป่าบริเวณกว้างเกิด
จากการระบบทุนนิยมที่ชนชั้นนายทุนต้องการไม้ไปจ าหน่าย การค้นพบนี้ได้ท าให้เกิดความขัดแย้งระหว่าง
นักศึกษากับกรมป่าไม้ และมีการต่อสู้ของชาวบ้านในหลายพื้นที่ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 [สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564)
ประเด็นสัตว์ป่า ยกตัวอย่างในกรณีทุ่งใหญ่นเรศวร เป็นเหตุการณ์ที่คณะนายทหารระดับสูงพร้อมดารา
หญิงคนหนึ่ง เข้าไปตั้งค่ายฉลองวันเกิดในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรและมีการใช้อาวุธสงครามล่า
สัตว์ แล้วเกิดเป็นข่าวใหญ่เฮลิคอปเตอร์ที่ขนซากสัตว์ตกที่อ าเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม (29 เมษายน พ.ศ.
2516) ท าให้มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 6 ราย และพบซากสัตว์ป่าจ านวนมาก แต่ผู้น าทหารขณะนั้นชี้แจงว่าเป็น
ปฏิบัติการทางด้านความมั่นคง จึงท าให้นักศึกษาออกมาเคลื่อนไหว (ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 [สัมภาษณ์],
10 กุมภาพันธ์ 2564; ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 [สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564) เช่น มีการท าหนังสือเล่มเล็กขึ้นมา
ชิ้นหนึ่งชื่อว่าบันทึกลับทุ่งใหญ่ นักศึกษาที่เข้าประท้วงในกรณีนี้ของมหาวิทยาลัยรามค าแหง 9 คนถูกคัดชื่อ
ออกจากมหาวิทยาลัยในเดือนพฤษภาคม ท าให้ในเดือนมิถุนายนเกิดการชุมนุมของนักศึกษาที่อนุสาวรีย์
ประชาธิปไตยนับพันคน เหตุการณ์นี้ต่อเนื่องไปจนถึงการชุมนุมใหญ่เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและมีการขับไล่
ผู้น าทางทหารในขณะนั้น จนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ขึ้น เป็นตัวอย่างการเคลื่อนไหวสิ่งแวดล้อมใน
ประเทศไทยในยุคนี้ที่ไม่ได้แยกออกจากการเมือง ขณะช่วงการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยในระดับประเทศนี้
ก็มีการเคลื่อนไหวในระดับรากหญ้า และการเคลื่อนไหวทางด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปด้วย (ผู้ทรงคุณวุฒิ 11
[สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564)
อย่างไรก็ดี ผู้ให้สัมภาษณ์ท่านหนึ่งเห็นว่า ในช่วงปลายของช่วงนี้ ปริมาณจ านวนพื้นที่ป่าไม้ลดลงอย่าง
รวดเร็ว จากเดิมมีพื้นที่ป่าถึงประมาณร้อยละ 50 – 60 ของประเทศ แต่ยุคนี้ (ช่วงท้ายของแผนพัฒนา
เศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 4) ป่าไม้ไทยเหลือประมาณร้อยละ 30 แสดงว่าพื้นที่ป่าไม้ลดลงไปในสัดส่วนที่สูงมาก
41