Page 58 - kpiebook65022
P. 58
ให้ประเทศไทยเป็นเสือตัวที่ 5 แห่งเอเชีย ท าให้เกิดการพัฒนากระจายความเจริญไปยังภูมิภาคจึงเกิดการ
ก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาค (ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564; ผู้ทรงคุณวุฒิ 11
[สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564)
ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 1 ถึง 5 ถือเป็นช่วงสูงสุดของการ
ใช้ทรัพยากรและท าลายทรัพยากรของประเทศ เพราะทัศนคติของประเทศไทยในช่วงเวลานี้ยังมองว่า
ทรัพยากรมีมาก มีปริมาณมหาศาลใช้อย่างไรก็ไม่หมดจึงไม่จ าเป็นที่จะต้องไปจัดการ ขณะเดียวกัน ผลของการ
พัฒนาในช่วงก่อนหน้านี้ท าให้ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมเริ่มเกิดขึ้น ทั้งเรื่องความแออัดของสังคมเมืองหรือขยะ
รวมทั้งยังมีการบังคับใช้กฎหมายในพื้นที่อย่างเข้มข้นเพื่อที่จะไม่ให้คนในพื้นที่เข้าไปยุ่งกับทรัพยากร ก็ท าให้
เกิดเรื่องของการต่อสู้ด้านสิ่งแวดล้อมขึ้นมา (ผู้ทรงคุณวุฒิ 13 [สัมภาษณ์], 16 เมษายน 2564) ข้อค้นพบตาม
ประเด็นสิ่งแวดล้อมในช่วงสั้น ๆ นี้เน้นไปที่ทรัพยากรธรรมชาติอย่างป่าไม้ ที่ดิน และน้ า
กรณีทรัพยากรป่าไม้ พบว่า การพัฒนาที่ผ่านมามีการใช้ทรัพยากรป่าไม้ไปมากจนกระทั่งสิ้น
แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 5 พื้นที่ป่าไม้ลดลงอย่างเห็นได้ชัด ได้เกิดการเคลื่อนไหวจนน าไปสู่นโยบาย
ปิดป่าในยุคนี้ ซึ่งผู้ให้สัมภาษณ์ท่านหนึ่งให้เหตุผลส าคัญหนึ่งอันน าไปสู่นโยบายปิดป่าว่าสัมปทานการท าไม้
มีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนเมื่อเกิดจากกรณีภัยพิบัติดินโคลนและซุงถล่มที่ภาคใต้ สุราษฎร์ธานี และ
นครศรีธรรมราช ท าให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจ านวนมาก จนกลุ่มประชาชนและนักศึกษาทั่วประเทศออกมาเรียกร้อง
ให้ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัน นายกรัฐมนตรี ยกเลิกการสัมปทานป่าไม้จน พลเอกชาติชาย จ าเป็นต้องยกเลิก
การท าสัมปทานไม้ทั่วประเทศ (ในปี พ.ศ.2532) เป็นการปิดฉากการมองป่าแบบเน้นประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
(ผู้ทรงคุณวุฒิ 11 [สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564; ผู้ทรงคุณวุฒิ 13 [สัมภาษณ์], 16 เมษายน 2564)
ผู้ให้สัมภาษณ์บางท่านเพิ่มเติมว่า ในช่วงหลังปี พ.ศ.2532 ที่มีการปิดป่า ป่าสัมปทานถูกยกเลิกทั้งหมดและ
ไม่มีการท าไม้อีก แต่การส่งไม้ออกที่มีอยู่จะเป็นไม้ที่ปลูกขึ้นภายหลัง เป็นการส่งออกเฉพาะไม้ที่ปลูกยกเว้นไม้สัก
เท่านั้นที่ยังมีการสั่งห้ามให้ส่งออกและปัจจุบันก็ยังคงสั่งห้ามอยู่ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 15 [สัมภาษณ์], 16 เมษายน 2564)
อย่างไรก็ดี พบว่ายังมีปัจจัยอื่นที่ส่งผลต่อการปิดป่าสัมปทานในช่วงนี้ คือ การเคลื่อนไหวของ
นักพัฒนาเกี่ยวกับประเด็นทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าที่โดดเด่นอย่าง คุณสืบ นาคะเสถียร และ คุณวีรวัธน์
ธีรประสาธน์ ที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ในขณะนั้น เพื่อดูแลเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ช่วงนี้ถือเป็นยุค
เบ่งบานขององค์กรพัฒนาเอกชนด้วย เพราะมีองค์กรพัฒนาเอกชนเกิดขึ้นหลายองค์กรที่หันมาท าเรื่อง
สิ่งแวดล้อมรวมถึงมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพันธุ์พืช (ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 [สัมภาษณ์], 10 กุมภาพันธ์ 2564)
ท าให้กระแสการอนุรักษ์สูงขึ้นจนน าไปสู่การยกเลิกสัมปทานป่าไม้ทั่วประเทศ และคุณสืบ นาคะเสถียร
ก็เสียชีวิตในช่วงยุคนี้ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 13 [สัมภาษณ์], 16 เมษายน 2564)
คณะผู้วิจัยเห็นว่า การเสียชีวิตของ คุณสืบ นาคะเสถียร ได้ตอกย้ ากระแสการอนุรักษ์ในประเทศไทย
ช่วงนั้นให้มีมากขึ้น จนมีการสานต่อการศึกษาทางวิชาการที่จะเสนอให้เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในทุ่งใหญ่นเรศวร
และห้วยขาแข้งได้เป็นมรดกทางธรรมชาติของโลก ต่อมาพื้นที่ทุ่งใหญ่นเรศวร-ห้วยขาแข้งก็ได้รับการขึ้น
ทะเบียนเป็นมรดกโลกจากองค์กร UNESCO (ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 [สัมภาษณ์], 10 กุมภาพันธ์ 2564; ผู้ทรงคุณวุฒิ 11
[สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564)
ในช่วงนี้เริ่มเกิดนโยบายเพิ่มป่าไม้เป็นแผนแม่บทป่าไม้ พ.ศ.2529 แต่รูปแบบการจัดการยังไม่ชัดเจนนัก
ดังเช่นผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า ป่าไม้ช่วงเริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 1 มีอยู่ร้อยละ 60 และเหลือร้อยละ 29
ในช่วงสิ้นแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 5 ต่อเมื่อเริ่มใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 6 ประเทศไทยก็หัน
45