Page 61 - kpiebook65022
P. 61
ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 5 และฉบับที่ 6 นี้ ได้มีความพยายามพัฒนาทางเศรษฐกิจด้วย
การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ยกตัวอย่างเช่น เขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้า ท าให้ภาคประชาชนมีการเคลื่อนไหว
คัดค้านทั้งที่ส าเร็จและไม่ส าเร็จ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564; ผู้ทรงคุณวุฒิ 11
[สัมภาษณ์], 6 พฤษภาคม 2564) เป็นที่มาของความขัดแย้งเรื่องการรองรับชุมชนดั้งเดิมที่มีอยู่ ความขัดแย้งนี้
เป็นไปได้ว่าภาคประชาสังคมยึดเป้าหมายโลกาภิวัตน์ด้านสิ่งแวดล้อม ในขณะที่รัฐบาลมีเป้าหมายในทางโลกาภิวัตน์
ด้านเสรีนิยมหรือเศรษฐกิจการค้า จึงท าให้เกิดการยึดถือกติกาและเป้าหมายต่างกัน (ผู้ทรงคุณวุฒิ 4
[สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564; ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564) ซึ่งส่งผลให้การเมือง
สิ่งแวดล้อมในประเทศไทยยิ่งมีความเข้มข้นมากขึ้นในยุคต่อไป
การเคลื่อนไหวสิ่งแวดล้อมระดับโลกกับกฎหมายกลางด้านสิ่งแวดล้อมไทย
ในช่วงราว พ.ศ.2535-2540 เป็นช่วงสั้น ๆ แต่มีความหมายเพราะการเร่งรัดพัฒนาประเทศตาม
แผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับก่อนหน้านี้ ได้ส่งผลให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างหนัก สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมอย่าง
เห็นได้ชัดจากปัญหามลพิษ คณะผู้วิจัยสรุปว่าในช่วงนี้ค่อนข้างมีความสับสนผันผวนทางนโยบายและ
การปฏิบัติอยู่ไม่น้อย กล่าวคือ แม้รัฐมีนโยบายด้านการอนุรักษ์ป่าไม้ มีการออกกฎหมายคุ้มครองป่าไม้และ
สัตว์ป่าเพิ่มขึ้น แต่กลับท าให้เกิดความขัดแย้งระหว่างรัฐและชุมชน แม้มีการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม หรือ
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลที่ยังคงเดินหน้าต่อโดยเฉพาะในกรณีการสร้างเขื่อน ยังผลให้เกิดความ
ขัดแย้งเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ความสับสนดังกล่าวถือเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแสดงทางสิ่งแวดล้อมที่น าไปสู่
การเปลี่ยนแปลงที่ส าคัญ โดยได้รับอิทธิพลจากการให้ความส าคัญด้านสิ่งแวดล้อมในระดับโลกด้วย จนท าให้
เกิดกฎหมายกลางที่เรียกว่าพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 ซึ่งสาระส าคัญ
เป็นเรื่องการประเมินผลกระทบโครงการที่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการก่อตั้งองค์กรอิสระด้าน
สิ่งแวดล้อม อาจกล่าวได้ว่า การเคลื่อนไหวของภาคประชาชนก่อนหน้าประกอบกับการให้ประชาชนมีส่วนร่วม
ในการตัดสินใจโครงการของรัฐตามกฎหมายดังกล่าว ได้น าไปสู่ประเด็นการมีส่วนร่วมดังปรากฎในรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดในภายหลัง
การเคลื่อนไหวหรืออนุสัญญาด้านสิ่งแวดล้อมของนานาประเทศ เป็นจุดพลิกผันที่ส าคัญอย่างหนึ่งต่อ
การแบ่งยุคการเมืองสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย โดยพบว่าผู้ให้สัมภาษณ์หลายท่านอ้างอิงวาระการเคลื่อนไหว
11
ระดับโลก ได้แก่ วาระการประชุมเรื่องสิ่งแวดล้อมโลก อนุสัญญาระหว่างประเทศ เงื่อนไขด้านการค้าโลก
ระบบมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม เป็นเหตุผลส าคัญต่อการเปลี่ยนแปลงการเมืองสิ่งแวดล้อมไทยในช่วงนี้
การอ้างอิงตามวาระการประชุมเรื่องสิ่งแวดล้อมโลก ผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า ในภาพรวมของทั่วโลก
เห็นได้ว่าอุตสาหกรรมหลักในประเทศที่พัฒนาแล้วใช้การผลิตจากทรัพยากรธรรมชาติ เช่น อเมริกาใช้ถ่านหิน
ใช้ไม้ หรือซุงไม้แปรรูปจากธรรมชาติค่อนข้างหนักหน่วง ท าให้ผลกระทบเกิดขึ้นอย่างรุนแรงในเรื่องของการ
เปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลกและพื้นที่ป่าที่ลดลง (ผู้ทรงคุณวุฒิ 17 [สัมภาษณ์], 8 เมษายน 2564) การใช้
ทรัพยากรเป็นฐานการพัฒนาจนส่งผลกระทบทั่วโลกท าให้เกิดการตื่นตัวเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมในระดับ
โลกที่สหประชาชาติน ามาเป็นวาระของการประชุมสิ่งแวดล้อมโลกในปี พ.ศ.2535 (ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 [สัมภาษณ์],
8 กุมภาพันธ์ 2564) เรียกว่าเป็น โลกาภิวัตน์ด้านสิ่งแวดล้อม ส่งผลต่อท่าทีของการเคลื่อนไหวในประเทศไทย
ที่มีปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอยู่ด้วย (ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564;
ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 [สัมภาษณ์], 10 กุมภาพันธ์ 2564) ส่วนประเด็นด้านอนุสัญญาระหว่างประเทศ
11 Earth Summit ที่กรุงริโอ เดอจาเนโจในปี ค.ศ.1992
48