Page 64 - kpiebook65022
P. 64

(ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 [สัมภาษณ์], 10 กุมภาพันธ์ 2564) สอดคล้องกันกับผู้ให้สัมภาษณ์ท่านอื่น ว่าช่วงนี้เรียกได้ว่า
               เป็นโลกาภิวัตน์ด้านสิ่งแวดล้อม โดยก่อนหน้านี้มีปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นเป็นระยะ ท าให้ช่วงปี พ.ศ.

               2535 เริ่มมีการตื่นตัวเริ่มสภาพแวดล้อมในระดับโลกที่เรียกว่าเป็นโลกาภิวัตน์ด้านสิ่งแวดล้อม ประเทศไทย
               ขยับมาสู่ความตื่นตัวในสังคมครั้งใหญ่ในปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (ผู้ทรงคุณวุฒิ 7 [สัมภาษณ์],
               8 กุมภาพันธ์ 2564)

                       กระแสอนุรักษ์ป่าไม้ในช่วงก่อนหน้านี้ยังถูกส่งต่อมาถึงช่วงนี้ด้วยเช่นกัน โดยมีผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า
               ช่วงนี้มีพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า มีกฎหมายคุ้มครองสัตว์ป่าเพิ่มมากยิ่งขึ้น รัฐเร่งประกาศพื้นที่

               อนุรักษ์อุทยานแห่งชาติ หรือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าในพื้นที่ป่าที่เหลืออยู่ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 17 [สัมภาษณ์], 8
               เมษายน 2564: ผู้ทรงคุณวุฒิ 13 [สัมภาษณ์], 16 เมษายน 2564) กรณีนี้ เป็นไปได้ว่าท าให้เกิดปัญหาเรื่อง
               ที่ดินท ากินของประชาชนกลุ่มที่เคยอาศัยอยู่ในบริเวณป่ามาก่อนด้วย ดังผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า ประชาชนใน
               ชนบทยังมีวิถีชีวิตที่พึ่งพิงกับฐานทรัพยากรธรรมชาติ และบางส่วนยังไม่มีเอกสิทธิ์ที่ชัดเจนจึงท าให้การ

               ประกอบอาชีพยังเป็นแบบพออยู่ได้ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 4 [สัมภาษณ์], 8 กุมภาพันธ์ 2564)

                       ท่ามกลางกระแสการอนุรักษ์ป่าไม้อย่างเข้มข้นตามนโยบายเพิ่มพื้นที่ป่าของรัฐ จนมาถึงการประกาศ
               พื้นที่ พื้นที่อนุรักษ์ ขณะเดียวกัน ภาคประชาชนก็ได้เคลื่อนไหวด้านป่าไม้ที่เป็นรูปธรรมในเชิงกฎหมายด้วย
               เช่นกัน โดยผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 เป็นช่วงที่มีการริเริ่มผลักดันพระราชบัญญัติป่าชุมชน
               (ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 [สัมภาษณ์], 29 มกราคม 2564; ผู้ทรงคุณวุฒิ 13 [สัมภาษณ์], 16 เมษายน 2564) โดยผู้ให้

               สัมภาษณ์กล่าวว่า พ.ร.บ.ป่าชุมชนเริ่มมีความชัดเจนจากกรณีป่าชุมชนฉบับสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ ที่ชุมชน
               และองค์กรพัฒนาเอกชนร่วมกันยกร่างขึ้นมา โดยมีร่างฯ ของรัฐบาลเข้ามาด้วย ซึ่งรัฐบาลในช่วงนี้ยังมองป่า
               ชุมชนแยกออกจากป่าอนุรักษ์อย่างชัดเจนและไม่เห็นด้วยที่จะมีป่าชุมชนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ รวมทั้งไม่เห็นด้วย

               ที่จะน าพื้นที่อยู่อาศัยหรือพื้นที่ท ากินเข้าไปรวมอยู่กับป่าชุมชน ควรเป็นป่าที่ชุมชนอนุรักษ์ไว้และใช้ประโยชน์
               อย่างยั่งยืนร่วมกัน รัฐไม่ได้มองในเชิงของเศรษฐกิจ วิถีชีวิตของคนในชุมชนตามบริบทพื้นที่มาเป็นการจัดการ
               ท าให้ พ.ร.บ.ฉบับรัฐบาลมองว่าพื้นที่ป่าชุมชนควรเป็นพื้นที่ที่แยกออกมาจากพื้นที่ชุมชนให้เป็นพื้นที่ป่าแต่มี
               สถานะทางกฎหมายในการได้รับการดูแลและการจัดการ ซึ่งผู้ให้สัมภาษณ์เห็นว่า พ.ร.บ.ฉบับสวนแก้วเน้น
               จัดการในเชิงนิเวศ คือเน้นความสัมพันธ์ร่วมระหว่างชุมชนกับทรัพยากรในทุกมิติที่อยู่ในพื้นที่โดยมี พ.ร.บ.ฉบับ

               หนึ่งขึ้นมาใช้บริหารจัดการ จึงท าให้ พ.ร.บ.ว่าด้วยป่าชุมชนไม่ถูกผลักดันจนครบ 3 วาระ (ผู้ทรงคุณวุฒิ 13
               [สัมภาษณ์], 16 เมษายน 2564)

                       ประเด็นทรัพยากรน้ า ยังคงเป็นกรณีที่เกี่ยวกับการสร้างเขื่อนซึ่งต่อเนื่องจากกรณีเขื่อนน้ าโจนในช่วง
               ก่อนหน้านี้ เพราะโครงการของรัฐในการสร้างเขื่อนในพื้นที่ต่าง ๆ ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังผู้ให้สัมภาษณ์

               กล่าวว่า ในยุคนี้เป็นอีกช่วงหนึ่งที่ประเทศไทยเร่งพัฒนาทางเศรษฐกิจ การสร้างเขื่อนเป็นเสมือนกับสัญลักษณ์
               ของโครงการพัฒนาซึ่งมีการถกเถียงกันมาก รวมไปถึงการอพยพเคลื่อนย้ายคนออกจากพื้นที่ที่จะสร้างเขื่อน
               (ผู้ทรงคุณวุฒิ 2 [สัมภาษณ์], 10 กุมภาพันธ์ 2564) ขณะเดียวกัน การใช้น้ าของหลายภาคส่วนในพื้นที่ ที่มีการ
               พัฒนาทางเศรษฐกิจสูงยังน าไปสู่การขาดแคลนน้ าอีกด้วย

                       ผู้ให้สัมภาษณ์ท่านหนึ่งกล่าวว่า ช่วงนี้  เป็นผลพวงจากการเคลื่อนไหวเรื่องเขื่อนน้ าโจนเพราะแนวคิด
                                                     13
               สีเขียวที่ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว (ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 [สัมภาษณ์], 29 มกราคม 2564) และในช่วงนี้มีกฎหมายที่
               ภาครัฐต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชนก่อนการก่อสร้าง ดังผู้ให้สัมภาษณ์กล่าวว่า



               13  ผู้ให้สัมภาษณ์ระบุช่วง พ.ศ.2533-2539


                                                            51
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69